ผู้วิจัย

อาจารย์ชนินาถ ทิพย์อักษร, อาจารย์รังสิมา สว่างทัพ, ผศ.ดร.รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์,อาจารย์กิตติกวินท์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์ และอาจารย์กิตติกร ฮวดศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อสำรวจความต้องการของสถานประกอบการเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถานประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 10 สถานประกอบการ โดยศึกษาจากจำนวนประชากรทั้งหมด เครื่องมือทีใช้ในการเก็บแบบสอบถามได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการของสถานประกอบการส่วนใหญ่ต้องการเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60.00 รองลงมาเป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 40.00 วุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 100.00 อายุไม่เกิน 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 70.00 รองลงมา ไม่เกิน 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.00 ระดับผลการศึกษา 2.01-2.50 คิดเป็นร้อยละ 40.00 รองลงมา 2.51-3.00 และ3.01-3.50 คิดเป็นร้อยละ 30.00 ประสบการณ์ส่วนใหญ่ต้องการ ไม่ต้องมีก็ได้ คิดเป็นร้อยละ 60.00 รองลงมาคือ 1-2 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.00 ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการ ด้านคุณธรรมจริยธรรมในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 ด้านความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ด้านทักษะทางปัญญาในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 ด้านบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 คำสำคัญ:คุณลักษณะ,สถานประกอบการ,ความต้องการ

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม เครือมาศ ทองวงศ์.(2554).ความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา. บทความทางวิชาการ.คณะเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยรามคำแหง วราภรณ์ ศรีบุญ.(2556).ความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการในจังหวัดเพชรบุรี.บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการครั้งที่ 4.สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ.มหาวิทยาลัยศิลปากร จําเนียรศิลปะวานิช.2538.หลักและวิธีการสอน.นนทบุรี : เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์. ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์.(2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: อลีนเพรส. ฉัตรนภา พรหมมา. (2542). การพัฒนาเกณฑ์ประเมินหลักสูตรสาขา วิทยาศาสตร์สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์. รายงานวิจัย. อุตรดิตถ์ : สำนักวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์. ธำรง บัวศรี. (2532). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว. นิสดารก์ เวชยานนท์. มิติใหม่ในการบริหารทุนมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2 . เต็มส์. 2552.นนทบุรี : เดอะ กราฟฟิโก ซิส บุญชม ศรีสะอาด.2537.การพัฒนาการสอน.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น . (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น ประเวศ วะสี. (2542). วิสัยทัศน์ของกระบวนการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิชาการ,2(1), หน้า 8 - 11. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2540). หลักและวิธีการสอนอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิชย์. วิชัย ดิสสระ.(2535). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : สวีวิยาสาส์น. วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542.การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เลิฟ แอนด์เลิฟเพรส วันเพ็ญ จันทร์เจริญ. (2542). การเรียนการสอนปัจจุบัน. สกลนคร : สถาบนราชภัฏสกลนคร . วราภรณ์ ศรีบุญ.(2556).ความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการในจังหวัดเพชรบุรี.บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการครั้งที่ 4.สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ.มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิริรัตน์ มีเดช. (2559).ความต้องกรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี.บทความลงวารสารวิทยบริการ. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย .มหาวิยาลัยสุราษฎร์ธานี. สุนีย์ ภู่พันธ์. (2549). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตรยุคปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : เดอะโนเลทเซ็นเตอร์. สำนักงานสถิติจังหวัดบุรีรัมย์.(2559) .สถานการณ์การมีงานทำในจังหวัดบุรีรัมย์.ออนไลน์http://buriram.bru.ac.th/images/pdf/econ/labourreprtextra.pdf สำนักงานคระกรรมการการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. เข้าถึงได้จาก : http://www.mua.go. Th (สืบค้นข้อมูล 27 พ.ย. 2556) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552 สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์. (2555). หลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555). คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. อำพร เรืองศรี.https://www.gotoknow.org/posts/174101 ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2560 อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอ เดียนสโตร์ Banathy, B. (1968). Instructional Systems. Palo Alto, California: Fearon Publishers. Good, Carter Victor.(1973). Dictionary of Education. New York : McGraw Hill. Oliver, P.F. (1982). Developing the curriculum. Boston : Little, Brown and Company. Tada, Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace and world. Tanner, Daniel. (1971). Secondary Curriculum : Theory and Development. New York : TheMacmillan.

หน่วยงานการอ้างอิง

ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์และ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf กิตติกรรมประกาศ

ขนาดไฟล์ 62 KB | จำนวนดาวน์โหลด 224 ครั้ง

pdf บทคัดย่อ

ขนาดไฟล์ 74 KB | จำนวนดาวน์โหลด 207 ครั้ง

pdf บทที่ 4

ขนาดไฟล์ 248 KB | จำนวนดาวน์โหลด 210 ครั้ง

pdf บทที่ 1

ขนาดไฟล์ 213 KB | จำนวนดาวน์โหลด 234 ครั้ง

pdf บทที 2

ขนาดไฟล์ 347 KB | จำนวนดาวน์โหลด 350 ครั้ง

pdf บทที่ 3

ขนาดไฟล์ 101 KB | จำนวนดาวน์โหลด 306 ครั้ง

pdf บรรณานุกรม

ขนาดไฟล์ 215 KB | จำนวนดาวน์โหลด 508 ครั้ง

pdf ประวัติผู้วิจัย

ขนาดไฟล์ 152 KB | จำนวนดาวน์โหลด 262 ครั้ง

pdf สารบัญ

ขนาดไฟล์ 102 KB | จำนวนดาวน์โหลด 198 ครั้ง

pdf สารบัญตาราง

ขนาดไฟล์ 73 KB | จำนวนดาวน์โหลด 261 ครั้ง

pdf หน้าปก

ขนาดไฟล์ 94 KB | จำนวนดาวน์โหลด 216 ครั้ง

pdf บทที่ 5

ขนาดไฟล์ 211 KB | จำนวนดาวน์โหลด 259 ครั้ง

ความคิดเห็น