ผู้วิจัย

ดร.เทพพร โลมารักษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างกรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ และการรู้วิชาเฉพาะด้านของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อสร้างแบบประเมินสมรรถนะด้าน การจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบการรู้วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องของกรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ ประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 209 คน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 38 คน ในกิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านการสอนด้วยการทดลองสอนแบบจุลภาคใช้เวลาเรียนต่อเนื่อง 15 สัปดาห์ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2557-กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยสังเคราะห์กรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้และการรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ที่มีประสบการณ์ด้านการสอนวิทยาศาสตร์ ระหว่าง 3-10 ปี จำนวน 12 คน จากการสนทนากลุ่ม เพื่อสังเคราะห์และออกแบบกรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความสอดคล้อง ความเหมาะสม และความสะดวกในการนำไปใช้ประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดของกรอบการประเมินฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการปฏิบัติการสอนตามแนวคิดของกรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู ซึ่งได้กำหนดเกณฑ์และตัวชี้วัดสำหรับการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ 5 สมรรถนะหลัก 33 ตัวชี้วัด แบบทดสอบการรู้วิชาวิทยาศาสตร์เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยและอัตนัย ส่วนแรกเป็นแบบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.56-0.76 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.26-0.63 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (Lovett Reliability) 0.8635 และส่วนที่สองเป็นแบบทดสอบอัตนัยแบบตอบสั้น ที่มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.56-0.70 ค่าอำนาจจำแนก (p) ระหว่าง 0.33-0.46 และความเชื่อมั่นของขอสอบทั้งฉบับ (Coefficient Alpha) 0.859 ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยเกณฑ์การประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ 5 ด้าน คือ การวางแผนสำหรับการจัดเรียนรู้ (ก่อนการสอน) การจัดบรรยากาศในการเรียนรู้และการบริหารจัดการห้องเรียน กลยุทธ์กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผลย้อนกลับและการประเมินผล ผู้เรียน และสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ (หลังสอน) 2. การวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมินตามกรอบการประเมินสมรรถนะฯ ในการประเมินการทดลองสอนแบบจุลภาคของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ โดยผู้ประเมิน 3 คน พบว่าค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมินมีค่าอยู่ระหว่าง 0.930-1.000 ดังนั้นกรอบการประเมินฯ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมและมีความน่าเชื่อถือของเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัดในระดับสูง จึงสามารถนำไปประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปได้ 3. การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ด้านการรู้วิชาเฉพาะด้านของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ พบว่าคะแนนสอบการรู้วิชาเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ การรู้วิชาเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ ดัชนีความสอดคล้องของการประเมิน การสอนแบบจุลภาค

บรรณานุกรม

กมล สุดประเสริฐ และคณะ. 2533. การศึกษาหาสมรรถวิสัยของครูประถมศึกษาที่สังคมตองการ, รายงานการวิจัยคณะที่ 2 โครงการปรับปรุงหลักสูตรการฝกหัดครู. กรุงเทพฯ: กรมฝกหัดครู. ไกรนุช ศิริพูล. 2531. ความเปนครู. กรุงเทพฯ: หางหุนสวนสามัญนิติบุคคลนิยมวิทยา. จงกลนี หวงทอง. 2538. การศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียนและสมรรถนะ การสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ฉวีวรรณ กินาวงศ. 2527. การศึกษาเด็ก. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส. เฉลิมพล สวัสดิพงษ. 2533. การศึกษาปจจัยที่สามารถจําแนกสมรรถนะดานการสอนของครู ภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ชาญชัย อาจินสมาจาร. 2538. ครูและอาชีพครู. สารพัฒนาหลักสูตร. 14, 121 (เมษายน-มิถุนายน) ชัชว เถาวชาลี และคณะ. 2533. แนวทางการพัฒนาคณะทํางานในโรงเรียน, เอกสารประกอบ การประชุมสัมมนาการนิเทศการสอนสําหรับศึกษานิเทศกและผูบริหารโรงเรียน ในเขตภูมิภาคตะวันตก คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร. ชรอยวรรณ ประเสริฐผล, อนุชา กอนพ่วง, วิทยา จันทร์ศิลา, ฉลอง ชาตรูประชีวิน. 2556. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 15 ฉบับพิเศษ พุทธศักราช 2556 : 43-53. ทิศนา แขมมณี. 2550. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นันทยา สุนทรวงษ. 2535. ปญหาความตองการ และวิธีที่ใชในการพัฒนาสมรรถนะทางการสอน วิชาภาษาอังกฤษของครูภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร. พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์. 2543. การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษากับ สถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พวงเพ็ญ อินทรประวัติ. 2521. วิธีสอนภาษาอังกฤษ. สงขลา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พึงใจ สินธวานนท์. 2519. การจัดการสอนแบบจุลภาค. หน่วยศึกษานิเทศก์กรมการฝึกหัดครู. พัชรประภา อดุลยวิทย. 2527. หลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. เยาวลักษณ บุญศิริ. 2524. การสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: ศูนยเทคโนโลยีทางการศึกษากรมการ ศึกษานอกโรงเรียน. รุ้งศิรินทร์ จันทร์หอม. 2545. การสร้างเกณฑ์การประเมินผลงานทางคหกรรมศาสตร์ด้วยรูบริค (Rubrics Assessment). วารสารศึกษาศาสตร์, 14 (1), 23-29. สถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2547. มาตรฐานครูวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. 2547. Competency เครื่องมือการบริหารที่ปฏิเสธไม่ได้. Productivity World พฤศจิกายน-ธันวาคม. 9(53): 44-51. สุมณฑา จุลชาต และวิสาข์ จัติวัตร์. 2556. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแบบร่วมมือโดยเน้น ครูเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู โรงเรียนประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม) สุรชัย มีชาญ. 2547. ดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 10(2): 113-126. สุวิมล ว่องวาณิช. 2535. หน่วยที่ 12 การสร้างเครื่องมือวัดผลด้านทักษะพิสัย. เอกสาร ประกอบการสอนชุดวิชาการพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (หน้า 481-558). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2544. รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายการปฏิรูป วิทยาศาสตร์ศึกษาของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2259). สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2556, จาก http://www.pld.rmutt.ac.th/?wpfb_dl=210. สำนักทดสอบทางการศึกษา . 2553. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง ศึกษาธิการ: รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน. อุทุมพร จามรมาน. 2530. การวัดและประเมินการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา, เล่มที่ 3 พิมพ์ ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับบลิซชิ่ง. Amade-Escot, C. 2000. “The contribution of two research programs on teaching content: ‘Pedagogical content knowledge’ and ‘Didactics of Physical Education’”. Journal of Teaching Physical Education. 20:78-101. Barnett, C. 1992. “Building a case-based curriculum to enhance the pedagogical content knowledge of mathematics teachers”. Journal of Teacher Education. 42 (4): 263-272. Baxter, J. A., & Lederman, N. G. 1999. Assessment and measurement of pedagogical content knowledge. In J.Gess-Newsome & N. G. Lederman (Eds.), “Examining pedagogical content knowledge” (pp. 147-161). Dordrecht, The Netherlands: Kluwer Academic Publisher. Bell, J., Veal, W. R., & Tippins, D. J.1998. “The evolution of pedagogical content knowledge in prospective secondary physics teachers”. Paper presented at the annual meeting of the National Association for Research in Science Teaching, San Diego, CA. Borg, W. R.; Kallenbach, W.; Morris, M.; & Friebel, A. 1969. Videotape Feedback and Microteaching: a Teacher Training Model (FWL Report A69-4), Micro teaching, Component Skills and the Training of Teachers: an Evaluation of a Research and Development Project. Burry-Stock, Judith A. and other. 1996. Ratrt Agreement Indexes for Performance Assessment. Educational and Psychological Measurement, 56 (2), 251-265. Carter V. Good, Dictionary of Education, 3rd ed. (New York : McGraw-Hill, 1973), 121. Chen, A, & Ennis, C. 1995. “Content knowledge transformation: An examination of the relationship between content knowledge and curricula”. Teaching and Teacher Education. 11 (4): 389-401. Clermont, C. P., Krajcik, J. S., & Borko, H. 1993. “The influence of an intensive in - service workshop on pedagogical content knowledge growth among novice chemical demonstrators”. Journal of Research in Science Teaching, 30 (1), 21-43. ---------.1994. “Comparative study of the pedagogical content knowledge of experienced and novice chemical demonstrators”. Journal of Research in Science Teaching. 31 (4): 419-441. Chicago Public School Education. (1995). Building instructional capacity. Retreived Sep 8, 2011, from www.nsdc.org/standards/qualiteaching.ctm. Cochran, K. F., Deruiter, J. A., & King, R.A. 1993. “Pedagogical content knowing: An integrative model for teacher preparation”. Journal of Teacher Education. 44 (4): 263-272. Corcoran, T and Goertz, M. (1995).Instructional capacity and high performance schools. Educational Research 24 (9): 27–31. Daehler, K. R., & Shinohara, M. 2001.“A complete circuit is a complete circle: Exploring the potential of case materials and methods to develop teachers’ content knowledge and pedagogical content knowledge of science”. Research in Science Education. 31: 267-288. D.M. Medley, “Teacher Effectiveness,” Encyclopedia of Educational Research, 5th ed. (New York : The Free Press, 1982), 55. D.R. Whitney and D. L Sabers. 1970. Improving Essay Examinations III, Use of Item Analysis, Technical Bulletin 11, Mimeographed. Iowa City: University Evaluation and Examination Service. Eick, C. J. 2000. “Inquiry, nature of science, and evolution: The need for a more complex pedagogical content knowledge in science teaching”. Electric Journal of Science Education. 4 (3). Available: http://unr.edu/homepage/ crowther/ejse/eick.html Faikhamta, C.; Coll, R.K.; & Roadrangka, V. (2009). The development of pre-service chemistry teachers’ pedagogical content knowledge: From a method course to field experience. Journal of Science and Mathematics in Southeast Asia, 32(1), 18 – 35. Fernandez-Balboa, J., & Stiehl, J. 1995.“The generic nature of pedagogical content knowledge among college professors”. Teaching and Teaching Education. 11 (3): 293-306. Gary D. Borich and Kalhleen S.Fenton, The Appraisal of Teaching : Concept and Process (Philippines : Addison-Wesley Publishing Co., 1968), 6. Geddis, A. N., & Wood, E. 1997. “Transforming subject matter and managing dilemmas: A case study in teacher education”. Teaching and Teacher Education. 13 (6): 611-626. Griffiths, R., MacLeod, G., & McIntyre, D. 1977. Effects of Supervisory Strategies in Microteaching on Students' Attitudes and Skill Acquisition. In D. McIntyre, G. MacLeod & R. Griffiths (Eds.), Investigations of Microteaching, pp. 131-141. Grossman, P. L. 1989. “A study in contrast: Sources of pedagogical content knowledge for secondary English”. Journal of Teacher Edu-cation. 40 (5): 24-31. Halim, L., & Meerah, S. M. 2002. “Science trainee teachers’ pedagogi-cal content knowledge and its influence on physics teaching”. Research in Science and Technological Education. 20 (2): 215-225. Jame E. Weigand, Implementing Teacher Competencies Positives Approaches to Personalizing Education (New Jersey : Prentice-Hall, 1977), 6. James A. Mackey; Allen D. Glenn; & Darrell R. Lewis. 1977.The Effectiveness of Teacher Education, in Warren Kallenbach; & Meredith Gall, "Microteaching Versus Conventional Methods in Training Elementary. Intern Teachers," Journal of Educational Research, Taylor & Francis, Ltd. John H. Meier. (2012). Rationale for and Application of Microtraining To Improve… The videotape recorder is a dramatically powerful and theoretically ..., Retrieved November 15, 2012 from jte.sagepub.com/cgi/reprint/19/2/145.pdf John H. Bushman. (1973). Flanders Interaction Analysis: For the Teacher of English. National Council of Teachers of English. Kinach, B. M. 2002. “A cognitive strategy for developing pedagogical content knowledge in the secondary mathematics”. Teaching and Teacher Education. 18: 51-71. Lederman, N.G.; & J. Gess-Newsome.(1999). Reconceptualizing secondary science Teacher education. In J. Gess-Newsome and N.G. Lederman (Eds.), Examining pedagogical content knowledge: The construct and its implications for science education (pp.199–213).Dordrecht: Kluwer. Loughran, J. Milroy, P., Berry, A., Gunstone, R., & Mulhall, P. 2001.“Documenting science teachers’ pedagogical content knowledge through PaP-eRs”. Research in Science Education. 31: 289-307. Lowery, N. V. 2002. “Construction of teacher knowledge in context: Preparing elementary teachers to teach mathematics and science”. School Science and Mathematics. 102(2): 68-83. Magnusson, S., Krajcik, J., & Borko, H.1999. Nature, sources, and development of pedagogical content knowledge for science teaching. In J. Gess-Newsome & N. G.Lederman (Eds.), “Examining pedagogical content knowledge”(pp. 95-132). Dordrecht, The Netherlands: Kluwer Academic Publisher. Marks, R. 1990. “Pedagogical content knowledge: From a mathematical case to a modified conception”. Journal of Teacher Education. 41(3): 3-11. Meredith, A. 1995. “Terry’s teaching: Some limitations of Shulman’ s pedagogical content knowledge”. Cambridge Journal of Education. 25(2). Available:http://80-weblb. epnet.com.ezproxy.waikato. ac.nz:2048/ citation. asp?tb=1. Murphy, F. and Timmins, F. 2009. Experience based learning (EBL): Exploring Professional teaching through critical reflection and reflexivity. Nurse Education in Practice 9 (1): 72-80. Organisation for Economic Co-operation and Development. 2006. Assessing Scientific Reading and Mathematics Literacy: A Framework For PISA 2006.Paris : OECD publications. Organisation for Economic Co-operation and Development. 2007a. PISA 2006 Science competencies for Tomorrow’s World – Volume 1: Analysis.Paris : OECD publications. Organisation for Economic Co-operation and Development. 2007b. PISA 2006 Science competencies for Tomorrow’s World – Volume 2: Data.Paris : OECD publications. Peterson, P. L., Fennema, E., Carpenter, T.P., & Loef, M. 1989. “Teachers’pedagogical content beliefs in mathematics”. Cognition and Instruction. 6 (1): 1-40. Shulman, L. S. 1986. “Those who understand: Knowledge growth in teaching”. Educational Researcher.15 (2): 4-14. Shulman, L. S. 1987. “Knowledge and teaching: Foundations of the new reform”. Harvard Educational Review. 57 (1): 1-22. Stump, S. L. 2001. “Developing preservice teachers’ pedagogical content knowledge of slope”. Journal of Mathematical Behavior.20: 207-227. Surachai Meehan. (2004). Rater Agreement Index (RAI). Songklanakarin Journal of Social Sciences and Humanities, 10 (1) Jan – Apr 2004 : 113-126. The College Academic Council.(2004, online).The professor of 21st Century Universal Teaching Competencies. Retreived November 15, 2012, from : http://www.algonguincollage.com. Tuan, H. L. 1996. “Investigating the nature and development of pre-service chemistry teachers’ content knowledge, pedagogical knowledge and pedagogical content knowledge”. Proceeding of the National Science Council Part D: Mathematics, Sci-ence and Technology education. 6 (2): 101-112. Tuan, H. L. & Kaou, R. C. 1997.“Development of a grade eight Taiwanese physical science teachers’pedagogical content knowledge development”. Proceeding of the National Science Council Part D: Mathematics, Science and Technology education. 7 (3): 135-154. Turney, B.L.; & G.P. Robb. 1971. Research in Education: an Introduction. Illinois: The Dryden Press Inc. van Driel, J. H., Beijaard, D., & Verloop, N. 2001. “Professional development of reform in science education: The role of teachers’ practical knowledge”. Journal of Research in Science Teaching. 38 (2): 137-158. van Driel, J. H., de Jong, O., & Verloop, N. 2002. “The development of preservice chemistry teachers’pedagogical content knowledge”. Science Education. 86: 572-590. Van Driel, J. H., Verloop, N., & de Vos, W. 1998. “Developing science teachers’ pedagogical content knowledge”. Journal of Research in Science Teaching. 35 (6): 673-695. Veal, W. R. 1998. “The evolution of pedagogical content knowledge in prospective secondary chemistry teachers”. Paper presented at the annual meeting of the National Association for Research in Science Teaching, San Diego, CA. Veal, W. R., & MaKinster, J. G.“Pedagogical content knowledge taxonomies”. Electric Journal of Science Education. (June 1999). Availble:http://unr.edu/ homepage/crowther/ejse vealmak.html V.L. Hill, “Beginning, First Teacher Perception of Characteristic of Effective Teaching,” Dissertation Abstracts International 50 (August 1989): 50. Zembal-Saul, C. A., Starr, M. L., & Krajcik, J. S. 1999. Constructing a framework for elementary science teaching using pedagogical content knowledge. In J. Gess-Newsome & N. G. Lederman (Eds.), “Examin-ing pedagogical content knowledge” (pp. 237-256). Dordrecht, The Netherlands: Kluwer Academic Publisher.

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะครุศาสตร์

หัวข้อวิจัย การพัฒนากรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้และการรู้วิชาเฉพาะด้านของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์

ผู้ดำเนินการวิจัย ดร.เทพพร โลมารักษ์

ที่ปรึกษา  –

หน่วยงาน  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะครุศาสตร์

ปีวิจัยสมบูรณ์  พ.ศ. 2557

เลขที่สัญญารับทุน  66-1/2557

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างกรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ และการรู้วิชาเฉพาะด้านของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อสร้างแบบประเมินสมรรถนะด้าน การจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบการรู้วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องของกรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ ประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 209 คน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 38 คน ในกิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านการสอนด้วยการทดลองสอนแบบจุลภาคใช้เวลาเรียนต่อเนื่อง 15 สัปดาห์ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2557-กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยสังเคราะห์กรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้และการรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ที่มีประสบการณ์ด้านการสอนวิทยาศาสตร์ ระหว่าง 3-10 ปี จำนวน 12 คน จากการสนทนากลุ่ม เพื่อสังเคราะห์และออกแบบกรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความสอดคล้อง ความเหมาะสม และความสะดวกในการนำไปใช้ประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดของกรอบการประเมินฯ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการปฏิบัติการสอนตามแนวคิดของกรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู ซึ่งได้กำหนดเกณฑ์และตัวชี้วัดสำหรับการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้  5 สมรรถนะหลัก 33 ตัวชี้วัด แบบทดสอบการรู้วิชาวิทยาศาสตร์เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยและอัตนัย ส่วนแรกเป็นแบบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.56-0.76 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.26-0.63 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (Lovett Reliability) 0.8635 และส่วนที่สองเป็นแบบทดสอบอัตนัยแบบตอบสั้น ที่มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.56-0.70 ค่าอำนาจจำแนก (p) ระหว่าง 0.33-0.46 และความเชื่อมั่นของขอสอบทั้งฉบับ (Coefficient Alpha) 0.859

ผลการวิจัยพบว่า

  1. กรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยเกณฑ์การประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ 5 ด้าน คือ การวางแผนสำหรับการจัดเรียนรู้ (ก่อนการสอน) การจัดบรรยากาศในการเรียนรู้และการบริหารจัดการห้องเรียน กลยุทธ์กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผลย้อนกลับและการประเมินผล ผู้เรียน และสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ (หลังสอน)
  2. การวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมินตามกรอบการประเมินสมรรถนะฯ ในการประเมินการทดลองสอนแบบจุลภาคของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ โดยผู้ประเมิน 3 คน พบว่าค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมินมีค่าอยู่ระหว่าง 0.930-1.000 ดังนั้นกรอบการประเมินฯ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมและมีความน่าเชื่อถือของเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัดในระดับสูง จึงสามารถนำไปประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปได้
  3. การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ด้านการรู้วิชาเฉพาะด้านของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ พบว่าคะแนนสอบการรู้วิชาเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ: สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ การรู้วิชาเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ ดัชนีความสอดคล้องของการประเมิน การสอนแบบจุลภาค

 

Research Title: A Development of Assessment Framework of Competencies for Students Teacher’ Learning Management and Specific Content Knowledge in the Field of Science

Researcher:  Dr. Tepporn Lomarak

Researcher Consultants:  

Organization: Buriram Rajabhat University, Faculty of Education

Academic Year: 2014

No.  66-1/2557

Abstract

The purpose of this research was to (1) develop assessment framework for student teachers’ learning management and specific content knowledge in the field of science, (2) develop assessment observational record form according to the assessment framework with 4 levels of rubric scoring criteria and construct achievement test for assessing specific content knowledge in science according to implement micro-teaching lessons, (3) investigate the Rater Agreement Index (RAI) of the rubric scoring criteria in the assessment observational record, which 3 supervisors used to assess teaching performance in general science lesson of student teachers. The population in this research was the fourth year 209 student’ teachers in general science program at Buriram Rajabhat University, Faculty of Education. Teacher preparation in micro-teaching instruction was undertaken across 15 weeks during October 2014 through February 2015 for the fourth year 38 student’ teachers.

Research and development were employed to develop assessment framework, assessment observational record, and achievement test. Research instruments were synthesized and validated by group of 12 experts with various teaching experience from 3-10 years according to focus group meeting. The experts were asked to consider and recommend on consistency, appropriateness and usability of the 5 essential elements of competencies and rubric criteria in each levels of assessment framework. The rubric scoring assessment observational record was designed for classifying competencies’ levels in teaching science lesson. These levels were beginning, approaching proficient, proficient, and distinguished levels.

Research instruments were (1) assessment observational record consisted of 5 elements of competencies (33 sub-competencies) with 4 levels of rubric criteria, (2) multiple choice and short answer response achievement test items designed to measure specific content knowledge in the field of science. Index of Item Objective Congruence of the multiple choice achievement test items was higher than 0.66. The item difficulty (p) was between 0.56 – 0.70, item discrimination (r) was between 0.33-0.46, and reliability (Lovett Reliability) was 0.8635. Index of Item Objective Congruence of the short answer response achievement test items was also higher than 0.66. The item difficulty (p) was between 0.56 – 0.76, item discrimination (r) was between 0.26-0.63, and reliability (Coefficient Alpha) was 0.859.

The research findings revealed as follows:

  1. The assessment framework consists of 5 essential elements including planning (before teaching), classroom environment and classroom management, strategies for engaging the effective learning, feedback and assessment of learning, and self-reflection (after teaching).
  2. The results of analyzing the Rater Agreement Index from 3 during micro –teaching lesson preparation and teaching indicated that the assessment were highly recommended to use for assessing competencies of teaching performance in preparation of general science education program
  3. The results of t-test one sample indicated that the students’ achievement score after learning using the micro-teaching activities was higher than the criterion score of 75% at the 0.05 level of significance.

 

Keywords: Teaching Competencies, Specific Science Content Knowledge, Rater Agreement Index, Micro-teaching

ไฟล์แนบ

doc 1Cover

ขนาดไฟล์ 77 KB | จำนวนดาวน์โหลด 279 ครั้ง

doc 2Abstract

ขนาดไฟล์ 29 KB | จำนวนดาวน์โหลด 252 ครั้ง

doc 3สารบัญ

ขนาดไฟล์ 33 KB | จำนวนดาวน์โหลด 256 ครั้ง

doc 4บทที่ 1

ขนาดไฟล์ 62 KB | จำนวนดาวน์โหลด 463 ครั้ง

doc 5บทที่ 2

ขนาดไฟล์ 244 KB | จำนวนดาวน์โหลด 447 ครั้ง

doc 6บทที่ 3

ขนาดไฟล์ 49 KB | จำนวนดาวน์โหลด 770 ครั้ง

doc 7บทที่ 4

ขนาดไฟล์ 34 KB | จำนวนดาวน์โหลด 306 ครั้ง

doc 8บทที่ 5

ขนาดไฟล์ 53 KB | จำนวนดาวน์โหลด 252 ครั้ง

doc 9บรรณานุกรม

ขนาดไฟล์ 42 KB | จำนวนดาวน์โหลด 370 ครั้ง

doc 11บทความวิจัยส่ง สวพ sci edit2

ขนาดไฟล์ 64 KB | จำนวนดาวน์โหลด 269 ครั้ง

pdf Poster sci project

ขนาดไฟล์ 531 KB | จำนวนดาวน์โหลด 206 ครั้ง

ความคิดเห็น