ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข กิ่งแก้ว ปะติตังโข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการสังเคราะห์ (Synthesis) ศึกษาสมบัติทางเคมีเชิงฟิสิกส์ (Physicochemical characterization) และฤทธิ์ทางชีวภาพ (Biological activities) ของอนุภาค นาโนที่มีอนุพันธุ์ของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural product derivatives) เป็นตัวรีดิวซ์ (Reducing agent) ต้านเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ซึ่งเป็นสาเหตุโรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) ของพริก และต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) ผลการศึกษาพบว่า อนุภาคที่สังเคราะห์ได้เป็นอนุภาคที่มีขั้ว (Polar particles) มีสี ละลายได้ดีในตัวทำละลายที่มีขั้ว (Polar solvents) เมื่อทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อราด้วยเทคนิค Paper disc diffusion method พบว่า ทุกสารสามารถต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนสได้ โดยเริ่มต้านที่ความเข้มข้น 600 ppm และสารที่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อราได้ดีที่สุด คือ Cit–sal-Cu ด้วยค่าเคลียร์โซนเฉลี่ยเท่ากับ 9±0.577 ที่ 1,000 ppm สำหรับการต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค DPPH พบว่า สารทุกตัวที่สังเคราะห์ได้ในครั้งนี้ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH. ได้แตกต่างกัน แต่ทุกสารออกฤทธิ์แปรตามความเข้มข้น (Concentration dependence) โดยสารที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด คือสาร Cit-sal-Ag รองลงมา คือ สาร Cit-sal ส่วนความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP assay พบว่า สารที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด คือ Cit-sal-Ag รองลงมาคือ Cit-D-Glu-Ag ผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้จึงมีประโยชน์มากต่อกลุ่มเกษตรกรที่ประสบปัญหาโรคแอนแทรคโนสของพริก คำสำคัญ: ไซโทรเนลลัล โรคแอนแทรคโนส ต้านอนุมูลอิสระ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อนุภาคนาโน

บรรณานุกรม

กัลทิมา พิชัย. (2555). การศึกษาการใช้สารสกัดพืชสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้ง การเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในพื้นที่สะลวง อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่ เพื่อพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กัญชลี เจติยานนท์ และคณะ. (2550). การใช้ไรโซแบคทีเรียเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคกุ้งแห้ง โรคเหี่ยวเขียวและโรครากและโคนเน่า. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว). ทัศนา พิทักษ์สุธีพงศ์ และคณะ. (2549). การเตรียมไมโครอิมัลชันของสารสกัดพริกไทยดำและ พริกสำหรับการป้องกันและการกำจัดศัตรูพืช. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว). ณัฐพันธุ์ ศุภกา และ วราภรณ์ ถิรสิริ. (2549). นาโนเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ณัฐวุฒิ สุทธิพงษ์ และวรากร ศรีสุระพล. (2010) ค้นจาก http://www.ie.eng.chula.ac.th/academics/course/2104328/assignments /01industries เนื่องพณิช สินชัยศรี และสาทร สิริสิงห์. (2548). ข้อเท็จจริง การใช้สารเคมีกับการพัฒนา เกษตร ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปราณี พัฒนพิพิธไพศาล. (2555, มกราคม – มีนาคม.). “การควบคุมโรครากเน่าของพริกที่มี สาเหตุจากเชื้อ Sclerotium rolfsiifh ด้วยเชื้อแอคติโนมัยสีท Streptomyces hygroscopicusPACCH 24 ที่สร้างเอนไซม์ไดติเนส,” วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 14(1) : 10-22. ปวีณา อุตะมะติง. (2554). ประสิทธิภาพการใช้เชื้อรา Trichodermavirens และแบคทีเรีย Bacillus subtilis ในการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสบนผลพริกชึ้ฟ้า. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (เทคโนโลยีการเกษตร). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. ปิยนุช ทองผาสุก. (2550). ผลของรังสีแกรมมาต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารเคอร์ คูมินอยด์ในขมิ้นชัน. กรุงเทพฯ : ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยี นิวเคลียร์ครั้งที่ 10 : 16-17 สิงหาคม 2550. พรทิพย์ แพงจันทร์ และคณะ. (2552). การพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันหำจัดโรคแอน แทรคโนส (โรคกุ้งแห้ง) โดยใช้แนวทางการผลิตพริกแบบผสมผสาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. อุบลราชธานี : การประชุมวิชาการ ระบบเกษตรแห่งชาติครั้งที่ 5 พลังงานทดแทนและความมั่นคงทางอาหาร เพื่อมนุษย์ชาติ วันที่ 2-4 กรกฎาคม ณ โรงแรมอุบลอินเตอร์เนชั่นแนล. หน้า 439-445. พรรณี เด่นรุ่งเรื่อง. (2550). “ฤทธิ์การการต้านอนุมูลอิสระของเปลือกต้นวงศ์อบเชย,” ใน รายงานผลงานวิจัย ประจำปี 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานวิจัยการจัดการป่าไม้และ ผลิตผลป่าไม้. พิภพ ลำยอง และสายสมร ลำยอง. (2543). การควบคุมโรคกุ้งแห้งของพริก (Colletotrichumspp.) โดยใช้ endophytic microorganism ที่แยกได้จากพืช สมุนไพรไทย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มาลี ตั้งระเบียบ และคณะ. (2550). การประเมินความสามารถของเชื้อราสาเหตุโรคแมลง (entomopathogenic fungi) ในการควบคุมแมลงศัตรูสำคัญของพริก. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). เยาวพา สุวัตถิ. ค้นจาก http://www.gpo.or.th/rdi/html/microbe.html 2009. รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวดสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รัติยา พงศ์พิสุทธา. (2553, มกราคม-เมษายน). “ความผันแปรทางสัณฐานวิทยาของเชื้อรา Colletotrichumspp. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสพริก,” วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 41(1 พิเศษ) : 318-321. วรานันท์วิญญรัตน์. (2554). การจำแนกชนิดและศึกษาความรุนแรงของเชื้อรา Colletotrichum สารเหตโรคแอนแทรกโนสพริก. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (โรคพืช). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิไลลักษณ์ บุญหลาย. (2557). “วิธีการสกัดและตัวทำละลายที่แตกต่างกันในการสกัด พืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) เพื่อควบคุมเชื้อรา olletotrichumgloeosporioides (Penz) Sacc,” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9 : 19-27. สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์. (2553, กันยายน-ธันวาคม). “ผลของสารสกัดมะรุมและฟ้าทะลาย โจรต่อการยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา Colletotrichumspp. สาเหตุโรค แอนแทรกโนสพริก,” วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 41 (3/1(พิเศษ)) : 305-308. โสภณ บุญลือ อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ และพูนพิไล สุวรรณฤทธิ์. (2550). การกระตุ้นการเจริญของ พริกอินทรีย์และการลดความเป็นโรคทางรากของพริกด้วยเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซา = Growth Promotion for Organic chili and Reducing of Chili Root Pathogens by Arbuscular Mycorrhizal Fungi. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). อรรัตน์ มงคลพร. (2552). การศึกษายีนที่ควบคุมลักษณะต้านทานโรคแอนแทรคโนสที่เกิด จากเชื้อ colletotrichum acutatum ที่แสดงออกในผลพริกระยะผลเขียวและ ผลแดงในพริก Capsicum baccatum ‘PBC80’. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว). โอภา วัชระคุปต์. (2549). สารต้านอนุมูลอิสระ. กรุงเทพฯ : พีเอสพริ้นท์. Al-Haiza, M.A., Mostafa, M.S., and El-Kady, M.Y. (2003). “Synthesis and biological evaluation of some new coumarin derivatives,” Molecules. 8 : 275-286. Azmi, Asfar Sohail, Bhat, Showket Hussain and Hadi, S.M. (2005). “Resveratrol-Cu(II) induced DNA breakage in human peripheral lymphocytes : Implications for anticancer properties,” FEBSLetters. 579 : 3131-3135. Das, Manash R., et al. (2011). “Synthesis of silver nanoparticles in an aqueous Suspension of grapheme oxide sheets and its antimicrobial activity,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 83 : 16-22. He, Lili, Liu, Yang, Mustapha, Azlin, and Lin, Mengshi. (2011). “Antifungal activity of zinc oxide nanoparticles against Botrytis cinerea and Penicillium expansum,” Microbiological Research. 166 : 207-215. Hsu, Fu-Lan, Chang, Hui-Ting, and Chang, Shang-Tzen. (2007). “Evaluation of antifungal properties of octyl gallate and its synergy with cinnamaldehyde,” Bioresource Technology. 98 : 734-738. Jo, Young-Ki, Kim, Byung H., and Jung, Geunhwa. (2009). “Antifungal activity of silver ions and nanoparticles on phytopathogenic fungi,” Plant Diseases. 93 : 1037-1043. Kostova, Irena, et al. (2005). “Cytotoxic activity of new lanthanum (III) complexes of bis-coumarins,” EJ Med Chem. 40 : 542-551. Kumari, Avnesh, et al. (2011). “Nanoencapsulation and characterization of Albizia chinensis isolated antioxidant quercitrin on PLA nanoparticles,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 224-232. Lee, Juneyoung, et al. (2012). “The Silver Nanoparticle (Nano-Ag) : a New Model for Antifungal Agents,” ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2012 จาก www.Google.com Leonard, Kwati, et al. (2011). “Insitu green synthesis of biocompatible ginseng Capped gold nanoparticles with remarkable stability,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 391-396. Lopez, Lidia M., et al. (2002). “Effect of the lipophilic o-naphthoquinone CG 10-248 on rat liver mitochondria structure and function,” Biocell. 26(2) : 237-245. Lewis, Anne., et al. (2004). “Treatment of pancreatic cancer cells with dicumarol induces cytotoxicity and oxidative stress,” Clinical Cancer Research. 10 : 4550-4558. Smid, Eddy J., et al. (1995). “Secondary plant metabolites as control agents of Postharvest Penicillium rot on tulip bulbs,” Postharvest Biological and Technology. 6 : 303-312. Tsair – Bor Yon and Chang, Shang. (2008). “Synergistic effects of cinnamaldehyde in combination with eugenol against wood decay fungi,” Bioresource Technology. 99 : 232-236. Wang, Sheng-Yang, Chen, Pin-Fun and Chang, Shang-Tzen. (2005). “Antifungal activities of essential oils and their constituents from indigenous cinnamon (Cinnamomum osmophloeum) leaves against wood decay fungi,” Bioresource Technology. 96 : 813-818.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf รายงานฉบับสมบรูณ์วิจัยโรคพริก 10 มค 2558

ขนาดไฟล์ 4 MB | จำนวนดาวน์โหลด 572 ครั้ง

ความคิดเห็น