ผู้วิจัย
สุดารัตน์ ปีนะภา, เมษยา บุญสีลา, ธวัชระพงษ์ วงศ์สกุล, สมบูรณ์ เต็มทวี, อุเทน รุ่งพิรุณ
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการขยะและลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนในตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการและลดปริมาณขยะในครัวเรือนของชุมชนตำบลอุดมพร และเพื่อขยายผลแนวปฏิบัติการลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลอุดมพร โดยในการศึกษาวิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ (1) เตรียมการ ด้านบุคลากร พื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล (3) ประชุมเชิงปฏิบัติเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลหาแนวทางการแก้ปัญหาและรูปแบบแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการจัดการขยะ และ (4)ติดตามผล ประเมินผล ถอดบทเรียนและสรุปผล ผู้ดำเนินการวิจัยใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์ แบบสอบถาม จัดเวทีประชุมชาวบ้าน โฟกัสกรุ๊ป ถอดบทเรียน และสรุปบทเรียน เพื่อเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลจากการดำเนินการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบแนวทางการจัดการขยะที่เหมาะสมในครัวเรือนของชุมชนในตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย คือ การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะในครัวเรือน โดยเฉพาะด้านการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงที่สุด มีความรู้และทักษะในด้านการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ รวมถึงการส่งเสริมให้สมาชิกมีบทบาทในการจัดการตนเองร่วมกับชุมชนของตน ส่วนในด้านการขยายผลแนวปฏิบัติการลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลอุดมพรนั้น ควรส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มหรือผู้นำชุมชน มีการบูรณาการกิจกรรมด้านการจัดการขยะกับกิจกรรมเดิมที่กลุ่มดำเนินการอยู่แล้ว เสริมสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายอื่น เพื่อนำผลจากการเรียนรู้มาวางแผนกิจกรรมหรือโครงการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน มีกิจกรรมเพื่อสร้างจูงใจ สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
บรรณานุกรม
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2538). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ:ศักดิ์โสภา การพิมพ์. เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2537). หลักการบริหาร.กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. แสวง รัตนมงคลมาศ. (2540).การระดมมวลชนและการมีส่วนร่วมของมวลชน การจัดตั้งองค์กรการนำและการตัดสินใจทางสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. โกวิทย์ พวงงาม. (2541). การวางแผนพัฒนาตำบลแบบมีส่วนร่วมทำให้ อบต.เข้มแข็ง. วารสารพัฒนาชุมชน, 67. โยธิน สันสนยุทธ และ จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2529). จิตวิทยาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. กรรณิการ์ ชูขันธ์. (2554). การศึกษาระบบการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ชนิดา เพชรทองคำและคณะ. (2560). การบริหารจัดการขยะและเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษา อบต.ไร่ส้ม จ.เพชรบุรี. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. ชัยพร วิชชาวุธ . (2539). การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพฯ : มปพ. ชุดา จิตพิทักษ์. (2525). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : สารมวลชน. ณัฐชนันท์ เชียงพฤกษ์ และคณะ. (2555). สภาพการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนชนบทบ้านโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. SDU Res. J. 11(2)c. May-Aug. ดิเรกฤทธิ์ ทวะกาญจน์. (2553).การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสำหรับ เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารทั่วไป, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2540). หลักการพัฒนาชุมชนและพัฒนาชนบท. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ธงชัย ทองทวี. (2553). สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นัยนา เดชะ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลเสม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. นิภาภรณ์ เกียรติสุข. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยใน เขตเทศบาลเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา นโยบายและการวางแผนสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก. นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2537). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล. ปภาวรินทร์ นาจำปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาลตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. งานนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปภาวิน เหิดขุนทด. (2554). พฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ปรัชญา เวสารัชช์. (2538). รายงานการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อ พัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปรีชา วิหคโต. (2544). หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการแนะแนว. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. ปิติพงษ์ วิริยปิยะ. (2559). การศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ธรรมทัศน์. Vol 16 No 3 (2016): พฤศจิกายน – ธันวาคม. ผ่องพันธ์ เกิดพิทักษ์. (2536). การปรับพฤติกรรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : คณะศึกษาศาสตร์. พรรณี กิจเจริญทรัพย์ดี. (2550). การมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของคณะกรรมการพัฒนาสตรี (กพสม.):ศึกษาเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัด ชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. พัฒน์ สุจำนงค์. (2522). สุขศึกษา. กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์. รวิกานต์ แสนไชย. (2544). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแบบยั่งยืน : กรณีศึกษา ธนาคารขยะชุมชนวัดกลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วรางคณา วัฒโย. (2540). แนวทางการทำแผนพัฒนาชุมชนโดยวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษาสุขาภิบาลเจ้าเจ็ด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์สถาปัตยศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการผังเมือง, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรุฬยุภา ทองกลม. (2550). ปจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนรวมของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูล ฝอยจากครัวเรือน กรณีศึกษาเทศบาลนครอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนและชนบท, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล. วิมลสิทธ ิ์ หรยางกูร. (2526). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดลอม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สมจิตต์ สุพรรณทัสน์. (2526). ความหมายของพฤติกรรม. เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศึกษา หน่วยที่ 1-7 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์. สมชาย ศิริมาตร. (2548). การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเองของชุมชนตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. สวัสปรียา ธรรมวัฒน์วิมล. (2543). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเกี่ยวกับแนวทางการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของรัฐบาลศึกษากรณีตลาดสะพานใหม่ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2542). การพัฒนาชุมชนแบบจัดการ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สายสุนีย์ ปวุตินันท์. (2541). ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมในโครงการบริหาร คุณภาพทั่วทั้งองค์กรของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐ: กรณีศึกษาโรงพยาบาล สิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุณีรัตน์ ยั่งยืน และคณะ. (2556). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการจัดการธนาคารขยะ ของชุมชน บ้านหัวหนอง ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สุธี ศรสวรรค์. (2538). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของมุสลิม: ศึกษา เฉพาะกรณีตำบลคลองตะเคียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคม สาขาพัฒนาสังคม, คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์. สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ และนันทพล กาญจนวัฒน์. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะชุมชน. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส) เสริมสุข บัวเจริญ, ปาริชาติ บัวเจริญ, หิ้น ชนสุต. (2553).โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ วิชาการและชุมชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ อคิน ระพีพัฒน์. (2536).การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยและทำไมต้องพูดถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์. อนงค์ พัฒนจักร.(2535). การมีส่วนร่วมของสตรีในงานพัฒนาป่าไม้กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วยม่วง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาการ พัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อรรณพ อุ่นอก. (2538).การมีส่วนร่ วมของคณะกรรมการหมู่บ้าน ฝ่ายกิจกรรมสตรีต่อการ บริหารงานพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดอำนาจเจริญ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาสังคม, คณะพัฒนาสังคม,สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. อารี พันธ์มณี. (2534). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ จํากัด. ________. (1984). Longman dictionary of the English language. ________. (2547). กรมควบคุมมลพิษ. อิสรภาพ มาเรือน. (2558). กระบวนการสร้างความร่วมมือทางสังคมระหว่างชุมชนชาวเขาเผ่าม้ง เผาเมี่ยน เผ่าลัวะ เพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2558. Bandura, A. and Adam, N.E. (1977). Analysis of Self Efficacy Theory of Behavioural Change. Cognitive Therapy and Research, Vol.1, No.4, 1977, pp.287-310. Cohen , J.M. and Uphoff , (1981). N.T. Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee , Center for International Studies , Cornell University . Martin, G. and Pear, J. (1992). Behavior Modification What It Is and How to Do It. Hemel Hemstead. Prentice-Hall. (electronic resource). 4th-ed.
หน่วยงานการอ้างอิง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.), มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ความคิดเห็น