ผู้วิจัย

ภัทรนันท์ ทวดอาจ เสกสิทธิ์ ดวงคำ และศุภชัย สมเพ็ชร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมแคลเซียมออกไซด์จากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง โดยทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักโดยความร้อนพบว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงเฟสเป็นแคลเซียมออกไซด์อยู่ในช่วง 800-900 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นทำการศึกษาอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลง พบว่าอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์ผลได้แคลเซียมออกไซด์ 56.46 และยืนยันผลด้วยการวิเคราะห์รูปแบบการเลี้ยวเบนด้วยรังสีเอ็กซ์ (XRD) โดยพบว่าเปลือกไข่มีองค์ประกอบหลักคือแคลเซียมคาร์บอเนต หลังจากเผาแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกไข่เกิดการเปลี่ยนแปลงเฟสเป็นแคลเซียมออกไซด์อย่างสมบูรณ์และสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักจากความร้อน (TGA)

บรรณานุกรม

1. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถิติการเกษตรของ ประเทศไทย 2559 www.oae.go.th/download/download_journal/2560/yearbook59.pdf. 2. วิชัย ดำรงโภคภัณฑ์. เทคโนโลยีการนำเปลือกไข่มาใช้ประโยชน์. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2550; 11(2), 75-83. 3. P. Pliya, D. Cree, Limestone derived eggshell powder as a replacement in Portland cement mortar. Construction and Building Materials. 2015; 95, 1-9. 4. S. Sompech, T. Dasri and S. Thaomola, Preparation and Characterization of Amorphous Silica and Calcium Oxide from Agricultural Wastes. Oriental Journal of Chemistry. 2016; 32(4), 1923-1928. 5. K. Naemchan, S. Meejoo, W. Onreabroy and P. Limsuwan. Temperature Effect on Chicken Egg Shell Investigated by XRD, TGA and FTIR. Advanced Materials Research. 2008; (55-57), 333-336. 6. T. Witoon. Characterization of calcium oxide derived from waste eggshell and its application as CO2 sorbent. 2011; Ceramics International. 37, 3291–3298.

หน่วยงานการอ้างอิง

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมยื

ความคิดเห็น