ผู้วิจัย

สุดารัตน์ ปีนะภา, ณรงค์เดช ยังสุขเกษม, ธวัชระพงษ์ วงศ์สกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการสร้างนวัตกรรมเตาเผาขยะโดยบูรณาการภูมิปัญญากับเทคโนโลยีที่มีต้นทุนประหยัดและมีประสิทธิภาพสูง กรณีศึกษาตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจและสังเคราะห์บริบทพื้นฐานด้านปริมาณและการกำจัดขยะ (2) สร้างนวัตกรรมเตาเผาขยะโดยบูรณาการภูมิปัญญากับเทคโนโลยี (3) ประเมินประสิทธิภาพของเตาเผาขยะและความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อเตาเผาขยะ และ (4) ถ่ายทอดนวัตกรรมเตาเผาขยะให้กับชุมชน ดำเนินการวิจัยโดยประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ ศึกษาบริบทพื้นที่การวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีชาวบ้านระดมความคิดในการแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนา ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเตาเผาขยะ ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมเตาเผาขยะ ศึกษาความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อนวัตกรรมเตาเผาขยะ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ถอดบทเรียนและสรุปบทเรียน โดยผลจากการศึกษาพบว่าตำบลบ้านยางมีการจัดการขยะโดยการจัดเก็บขยะในแต่ละหมู่บ้านและนำขยะไปทิ้งที่จุดรวมของอำเภอโดยไม่ใช้วิธีการเผา ชาวบ้านบางส่วนประกอบอาชีพเผาถ่านขายโดยอาศัยภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ชาวบ้านส่วนหนึ่งยังใช้เตาฟืนหรือเตาถ่านสำหรับการหุงต้ม ชาวบ้านมีความพึงพอใจต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาชีวมวลและได้นำไปใช้ในระดับครัวเรือน ทั้งนี้นวัตกรรมเตาเผาขยะระดับชุมชนที่ผู้วิจัยและชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบได้นำไปติดตั้งที่โรงเรียนจำนวน 2 แห่ง และวัด จำนวน 1 แห่ง โดยสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บรรณานุกรม

Food and Agriculture Organization of the United Nation. (1993). Improved Solid Biomass Burning Cookstoves: A Development Manual. Bangkok. Regional Wood Energy Development Programme in Asia GCP/RAS/154/NET. Bangkok. Thailand: The FAO Regional Wood Energy Development Programme in Asia. Enggcyclopedia. (2019). Types of Gasifier. Retrieved on 31 July 2019 from https://www.enggcyclopedia.com/2012/01/types-gasifier/ Roth, K. (2011). Micro Gasification: Cooking with gas from biomass. GIZ HERA – Poverty-oriented Basic Energy Service. Retrieved on 31 July 2019 from https://www.biochar-international.org/wp-content/uploads/2018/04/HERA-GIZ-micro-gasification-manual-V1.0-January-2011.pdf People Participation Promotion Office. (2019). Applied biomass stove using accompanying materials by Angthong Province Office of Energy. Retrieved on 31 July 2019 from http://ppp.energy.go.th/เตาแก๊สชีวมวลประยุกต์จ/ Sutar K.B., Kohli S., Ravi M.R., and Ray A.(2015). Biomass cookstove: A review of technical aspects. Renewable and Sustainable Energy Reviews. (41) 1128-1166. Suvarnakuta P. ,and Suwannakuta P.(2006) Biomass Cooking Stove for Sustainable Energy and Environment. The 2nd Joint International Conference on “Sustainable Energy and Environmant (SEEE 2006) Asian Conference on Education, Conference Proceedings. 21-23 November 2006. Bangkok, Thailand.

หน่วยงานการอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ความคิดเห็น