ผู้วิจัย

ธีรารัตน์ จีระมะกร* กุลธิดา ธรรมรัตน์ ศิรินทร์รัชต์ นะมิรัมย์ และศิริลักษณ์ สังเวช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการปลูกหญ้าบาน่าสำหรับเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้การประเมินวัฏจักรชีวิตจากการปลูกหญ้าบาน่าใน 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมดิน การเตรียมท่อนพันธุ์ การเพาะปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง ผลการศึกษาพบว่า การปลูกหญ้าบาน่าให้ผลผลิตหญ้าบาน่าน้ำหนัก 20 ตัน/ไร่ ผลการปลูกหญ้าบาน่าด้วย 5 ขั้นตอนในข้างต้นพบว่า มีการปล่อยก๊าคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 27.2122, 45.7542, 38.6334, 161.6686 และ 1,733.0448 kgCO2eq ตามลำดับ ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการปลูกหญ้าบาน่ารวมทุกขั้นตอนเท่ากับ 2,006.3132 kgCO2eq ส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยมีค่าเท่ากับ 100.3157 kgCO2eq/ton

บรรณานุกรม

[1] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (2560). เกษตรกรรม. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2560. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/ wiki/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8% [2] ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานประเทศไทย. การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA). สืบคืนเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2560. สืบค้นจาก http://www.thailcidatabase.net [3] เบญจมาภรณ์ ถนอมนิ่ม. (2557). การประเมินวัฏจักรชีวิตของหญ้าเนเปียร์สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชน. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร. [4] ณัฐวุฒิ ธานี (2558). การศึกษาการปลดปล่อยคาร์บอนของการผลิตเนื้อปลากะพงขาวและเนื้อกุ้งขาวจากการทำฟาร์ม ประมงโดยการประเมินวัฏจักรชีวิต : กรณีศึกษา จังหวัดตรัง ประเทศไทย. รายงานการวิจัย (183 หน้า ). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [5] องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2560). Emission Factor CFP. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2560, จาก http://thaicarbonlabel.tgo.or.th

ไฟล์แนบ

pdf การประเมินวัฏจักรชีวิตของการปลูกหญ้าบาน่า

ขนาดไฟล์ 658 KB | จำนวนดาวน์โหลด 880 ครั้ง

ความคิดเห็น