ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข กิ่งแก้ว ปะติตังโข

บทคัดย่อ

สมุนไพรหนอนตายหยาก (Stemona collinsae Craibr) พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีประสิทธิภาพทางยาตามภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำสมุนไพรหนอนตายอยากมาสกัดสารออกฤทธิ์ต้านโรคแคงเกอร์ (Canker) ของมะนาวให้กับชุมชน โดยเปรียบเทียบฤทธิ์กับสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตและน้ำหมักชีวภาพสูตรผสม B. cereus ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทน (Crude dichloromethane) มีปริมาณฟีนอลรวม (Polyphenolic content) สูงสุด รองลงมาคือ สารสกัดหยาบเอทานอล (Crude ethanol) ผลการทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. Citri (Hasse) Dye สาเหตุของโรคแคงเกอร์ที่ความเข้มข้นระหว่าง 6,000, 8,000 และ 10,000 ppm ตามลำดับ พบว่า สารสกัดหยาบเอทานอลสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ดีที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยของเคลียร์โซน (Clear zone) 11.00 mm และออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต (Copper sulphate) และน้ำหมักชีวภาพสูตรผสม B. cereus ส่วนผลการต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค DPPH พบว่า สารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทนมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH ได้ดีที่สุด ที่ IC50 เท่ากับ 46.622 รองลงมาคือ สารสกัดหยาบเฮกเซน (Crude hexane) มีค่า IC50 เท่ากับ 49.089 นอกจากนี้ยังได้นำสารสกัดหยาบเอทานอลไปทดสอบฤทธิ์การต้านศัตรูพืชอื่นๆ พบว่า สามารถออกฤทธิ์ต้านเพลี้ยแป้งสีเขียว (Madeira mealybug) ได้ภายใน 2 วัน ต้านเพลี้ยแป้งสีชมพู (Pink mealybug) ในเวลา 3 วัน ต้านไรแดงได้ภายใน 9 วัน และสารสกัดหยาบเอทานอลยังสามารถกำจัดปลวกได้อีกด้วย

บรรณานุกรม

ณัฐกานต์ ธิคำและคณะ. (2551). การแยกสารสกัดบางส่วนจากหนอนตายหยากและผลของสาร สกัดต่อหนอนกระทู้หอม. กรุงเทพฯ : การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46 : 253-261 ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ และ พนมกร ขุนอ่อน. (2551). การใช้น้ำสกัดชีวภาพจากหนอนตายหยากและ สับปะรดควบคุมหนอนแมลงวันบ้าน. กรุงเทพฯ : การประชุมสัมมนาวิชาการระบบเกษตร แห่งชาติ ครั้งที่ 4 : 247-252. เพื่อนเกษตร. (2555). ปลูกมะนาวนอกฤดูเพื่อรายได้ให้เกษตรกร. กรุงเทพฯ : รายการโทรทัศน์ ก้าวไกลกับกรมวิชาการเกษตร อ.ส.ม.ท. มนตรี บุญจรัส. (2557). โรคแคงเกอร์. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2557 ค้นจาก ชมรมเกษตรปลอด สารพิษ www.thaigreenagro.com รายการเกษตรทำเงิน. (2555). มะนาวในบ่อซีเมนต์. กรุงเทพฯ : สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม K- Station : 7 กันยายน 2555. สัมภาษณ์ ศรีสมัย. (ม.ป.ป.). เรื่องน่ารู้หนอนตายหยาก. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร. อโนทัย วิงสระน้อย. (2549). การควบคุมแมลงวันด้วยสารสกัดจากหนอนตายหยาก (Stemonasp.). สกลนคร : สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดสกลนคร

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf รูปเล่มวิจัยหนอน 27 ตค 57

ขนาดไฟล์ 6 MB | จำนวนดาวน์โหลด 4023 ครั้ง

ความคิดเห็น