ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข กิ่งแก้ว ปะติตังโข

บทคัดย่อ

ยางพาราเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติเป็นอันดับหนึ่งของโลก ด้วยปริมาณ การส่งออกกว่า 2.73 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 39.61 ของปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติของโลกซึ่งมีปริมาณ 6.882 ล้านตัน มีพื้นที่ปลูกยางกว่า 16.89 ล้านไร่ โดยพื้นที่ที่ปลูกยางมากที่สุดคือภาคใต้ รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางบางจังหวัด การส่งออกยางธรรมชาติของไทยส่วนใหญ่ส่งออกในรูปของวัตถุดิบ ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้น เป็นต้น (ข้อมูลวิชาการยางพารา. 2553) ที่ผ่านมาเกษตรกรมี การปลูกยางในหลายพื้นที่และได้ผลผลิตที่ดีดังกล่าวแล้ว แต่เนื่องจากขณะนี้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจึงทำให้เกษตรกรเริ่มประสบปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากธรรมชาติ ความแปรปรวนของอากาศ ปริมาณของน้ำฝนในแต่ละช่วงฤดูกาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระบาดของโรค ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบการปลูกยางพารา เช่น โรคเส้นดำที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora botryosa Chee, P.palmivora(Butler.)Butler, โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora spp., โรคเปลือกเน่าเกิดจากเชื้อรา Ceratocystis fimbriata Ellis & Halst., โรครากขาวเกิดจากเชื้อรา Rigidoporus microporus (Fr.) Overeem [Syn:Rigidoporus lignosus (Klozsch) Imazeki] และที่เป็นปัญหาหลักและส่งผลกระทบอย่างสำคัญยิ่งของเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์ คือ การเกิดเชื้อราของแผ่นยางพาราดิบจากเชื้อรา Penicillium sp. และ Aspergillus sp. โดยมักเกิดเชื้อราในขั้นตอนการเก็บผลผลิตเพื่อรอจำหน่าย และในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ส่งผลให้แผ่นยางมีคุณภาพต่ำ เปอร์เซ็นต์แผ่นยางน้อย เกษตรกรต้องใช้สารเคมีในการกำจัดเชื้อราของแผ่นยาง ทำให้เกษตรกรต้องมีรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อคงคุณภาพของแผ่นยางพาราให้อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในแผ่นยางพารา อีกทั้ง ยังส่งผลเสียต่อเกษตรกร และสิ่งแวดล้อมด้วย (http://www.yangpara.com. 2550) จากเหตุผล ความจำเป็น และผลงานวิจัยที่ผ่านมาของกลุ่มวิจัยนี้ที่ได้นำสารผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติ ทั้งในกลุ่ม แอลดีไฮด์และคีโตนมาทำการผสม (Hybrid) กับเอมีน แล้วได้สารใหม่เป็นตัวรีดิวซ์ที่ดี ซึ่งเรียกว่า Schiff base และยังเป็น nano natural iron chelators ที่มีประสิทธิภาพสูง มีฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านแบคทีเรีย และต้านเชื้อราหลายชนิด ทำให้คณะผู้วิจัยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาสารต้านเชื้อราจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในกลุ่มนี้ต่อไป โดยนำ syringal dehyde สารสกัดจากเปลือกสน และ coumarin สารสกัดจากชะเอม อบเชย หรือวานิลลา ซึ่งเป็นพืชที่พบมากในท้องถิ่น มาเพิ่มฤทธิ์ทางชีวภาพในรูปของ Double pharmacophore แล้วนำไปรีดิวส์เกลือของโลหะ และทดสอบฤทธิ์ใน การต้านเชื้อราของยางแผ่น ซึ่งกำลังระบาดและเป็นปัญหาหนักของเกษตรกรที่ผลิตยางแผ่น ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนในการหาสารควบคุม หรือกำจัดเชื้อรา Penicillium sp. และ Aspergillus sp. และนอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังจะได้นำสารไปใช้ทดสอบกับเชื้อราต่างๆ เช่น Phytophthora botryosa Chee, Rigidoporus microporus และ Ceratocystis fimbriata Ellis & Halst. เพื่อให้ผลงานวิจัยนี้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นแนวทางในการผลิตสารดังกล่าวในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

บรรณานุกรม

ฉันท์ทิพ คำนวณทิพย์และคณะ. (2551). การพัฒนาสมบัติในการต้านทานการติดไฟของ ยางธรรมชาติโดยใช้ nano clay และ Zeolite. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว). ณัฐวุฒิ สุทธิพงษ์, วรากร ศรีสุระพล. (2010). ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2555 ค้นจาก http://www.ie.eng.chula.ac.th/academics/course 2104328/assignments/01-industries, 21.pdf. ณัฐพันธุ์ ศุภกา และ วราภรณ์ ถิรสิริ. (2549). นาโนเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. เนื่องพณิช สินชัยศรี และสาทร สิริสิงห์. (2548). ข้อเท็จจริง การใช้สารเคมี กับ การพัฒนา เกษตร ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เยาวพา สุวัตถิ. (2009). ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2555 ค้นจาก http://www.gpo.or.th/rdi/html/microbe.html 2009. ปิยนุช ทองผาสุก. (2550). ผลของรังสีแกรมมาต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและ สารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน. ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นิวเคลียร์ครั้งที่ 10 วันที่ 16-17 สิงหาคม 2550. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พรรณี เด่นรุ่งเรื่อง. (2550). ฤทธิ์การการต้านอนุมูลอิสระของเปลือกต้นวงศ์อบเชย. ในรายงาน ผลงานวิจัย ประจำปี 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานวิจัยการจัดการป่าไม้และ ผลิตผลป่าไม้. รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวดสอบและการสกัดแยกสาระสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ระพีพันธ์ แดงตันกี และคณะ. (2554). ยางธรรมชาติผสมอนุภาคซิลเวอร์และคอปเปอร์ นาโนต้านเชื้อราและแบคทีเรียเพื่อประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ยางในห้องน้ำ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. วราภรณ์ ขจรไชยกูล. (2552). ผลิตภัณฑ์ยาง : กระบวนการผลิตและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). วิมล อินทอง. (2554). นาโนคอมโพสิตของโครงข่ายพอลิเมอร์แบบแทรกสอดในสถานะ น้ำยางจากยางธรรมชาติ พอลิเมทิลเมทาครีเลทและเลเยอร์ซิลิเกต. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2553). ข้อมูลวิชาการ ยางพารา 2553. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. อรสา ภัทรไพบูลย์ชัย. (2554). การเตรียมและใช้งานซิงค์ออกไซด์นาโนในยางธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). อิทธิพล พจนสัจ. (2551). การตรวจวัดความเข้มข้นโดยวิธีวัดค่าความหนืดและโดยวิธี ทางแสง. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). โอภา วัชระคุปต์. (2549). สารต้านอนุมูลอิสระ. กรุงเทพฯ : พีเอสพริ้นท์. Al-Haiza, M.A., Mostafa, M.S., and El-Kady, M.Y. (2003). “Synthesis and biological evaluation of some new coumarin derivatives,” Molecules. 8 : 275-286. Das, Manash R., et al. (2011). “Synthesis of silver nanoparticles in an aqueous suspension of grapheme oxide sheets and its antimicrobial activity,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 83 : 16-22. DiSilvestra, R.A.et al. (2005). “Soy isoflavone supplementation elevates erythrocyte superoxide dismutase, but not plasma ceruloplasmin in postmenopausal breast cancer survivors,” Breast Cancer Research & Treatment. 89 : 251-255. He, Lili, Liu, Yang, Mustapha, Azlin, and Lin, Mengshi. (2011). “Antifungal activity of zinc oxide nanoparticles against Botrytis cinerea and Penicillium expansum,” Microbiological Research. 166 : 207-215. Kostova, Irena, et al. (2005). “Cytotoxic activity of new lanthanum (III) complexes of bis-coumarins,” EJ Med Chem. 40 : 542-551. Leonard, Kwati, et al. (2011). “Insitu green synthesis of biocompatible ginseng capped gold nanoparticles with remarkable stability,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 391-396. Lopez, Lidia M., et al. (2002). “Effect of the lipophilic o-naphthoquinone CG 10-248 on rat liver mitochondria structure and function,” Biocell. 26(2) : 237-245. Lewis, Anne., et al. (2004). “Treatment of pancreatic cancer cells with dicumarol induces cytotoxicity and oxidative stress,” Clinical Cancer Research. 10 : 4550-4558. Mu, Bin, Lu, Chunyin, and Liu, Peng. (2011). “Disintegration-controllable stimuli- responsive polyelectrolyte multilayer microcapsules via covalent layer-by-layer assembly,” Colloids and Surfaces B: Biointerfaces. 82 : 385-390. Smid, Eddy J., et al. (1995). “Secondary plant metabolites as control agents of postharvest Penicillium rot on tulip bulbs,” Postharvest Biological and Technology. 6 : 303-312.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ความคิดเห็น