ผู้วิจัย

อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา, พิพัฒน์ ประจญศานต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องอัดพลีทผ้าในการอัดกลีบผ้าทำชุดนาฏศิลป์ไทย และเปรียบเทียบคุณลักษณะทางกายภาพของเครื่องอัดพลีทผ้าแบบเดิมและเครื่องอัดพลีทผ้าที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในการอัดกลีบผ้าทำชุดนาฏศิลป์ไทย งานวิจัยนี้อาศัยหลักการของการอบไอน้ำ โดยใช้ความร้อนจากแก๊สต้มน้ำให้เดือดเกิดเป็นไอน้ำที่ใช้การอัดกลีบผ้าผืนโดยจะต้องนำบล็อกกลีบซึ่งทำจากกระดาษมาประกบด้านบนและล่างของผ้าผืน แล้วใช้เชือกมัดก่อนที่จะทำการอบไอน้ำเพื่อให้กลีบหรือจีบผ้าคงรูปเป็นชั้นๆก่อนการนำไปใช้งาน ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องอัดพลีทผ้าขึ้นใหม่ใช้ในการทำงานจริงเพื่อลดต้นทุน ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบและพัฒนาชุดโครงสร้างของเครื่องอัดพลีทผ้าใหม่ มี 3 ส่วน ได้แก่ 1) ชุดโครงสร้างเครื่องอัดพลีทผ้า 2) ชุดโครงสร้างฐานรองรับน้ำหนักเครื่อง และมีล้อฐานเหล็ก 3) ชุดควบคุมความปลอดภัย คือ ชุดควบคุมความปลอดภัยสำหรับเครื่องอัดพลีทผ้า ได้แก่ เวลาในการอบไอน้ำ ความดันไอน้ำ และอุณหภูมิในการอบไอน้ำ ส่วนประสิทธิภาพของเครื่องอัดพลีทผ้า จากการทดลองพบว่า สามารถเพิ่มจำนวนผ้าอัดกลีบต่อการอบ 1 ครั้งได้มากเป็น 3 เท่าของเครื่องเดิม (ของเดิมอบผ้าได้ 4 มัด เพิ่มเป็น 12 มัดต่อการอบ 1 ครั้ง) สามารถลดเวลาการอบลงเหลือ 16.66 % ของเวลาที่ใช้เดิม และใช้แก็สลดลงเหลือ 33.32 % ต่อการอบ 1 ครั้ง

ไฟล์แนบ

pdf 3-4 บทคัดย่อไทย-อังกฤษ ส่ง สวพ 01 ส่ง ผศ.

ขนาดไฟล์ 85 KB | จำนวนดาวน์โหลด 313 ครั้ง

ความคิดเห็น