ผู้วิจัย

ดนัย รัชตะวราเศรษฐ์, บรรเจิด สอนสุภาพ, สายรุ้ง สอนสุภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษารูปแบบการเลี้ยงปลาช่อนในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและรูปแบบ การเลี้ยงปลาช่อนที่เหมาะสมกับชุมชนบ้านหนองขวาง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยมีรูปแบบการ เลี้ยงต่างกัน 4 แบบ ได้แก่ เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ บ่อกระชัง บ่อกระชังบก และบ่อดิน ขนาด 1x2 ตารางเมตร จานวน 4 ซ้า ปลาช่อนมีน้าหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 24.38±1.25, 24.06±1.20, 24.06±0.63 และ 23.44±0.63 กรัม ตามลาดับ ที่ความหนาแน่น 40 ตัวต่อตารางเมตร ใช้อาหารสาเร็จรูปโปรตีน 35 เปอร์เซ็นต์ ให้กินจนอิ่มวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 70 วัน พบว่า การเลี้ยงปลาช่อนในรูปแบบต่างกันมีผลต่อการเจริญเติบโตที่ต่างกันทางสถิติ อย่างมีนัยสาคัญ (P<0.05) โดยการเลี้ยงปลาช่อนในบ่อกระชังมีการเจริญเติบโตสูงที่สุด (p<0.05) ในด้านของ น้าหนักเฉลี่ย (91.57±4.52 กรัมต่อตัว) น้าหนักเพิ่มต่อวันเฉลี่ย (0.96±0.06 กรัมต่อตัวต่อวัน) อัตราการ เจริญเติบโตจาเพาะ (1.91±0.08 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน) ความยาวเฉลี่ย (22.70±0.16 เซนติเมตรต่อตัว) อัตราแลก เนื้อเฉลี่ย (3.48±0.45) และอัตราการรอดตายเฉลี่ย (68.75±14.40 เปอร์เซ็นต์) เมื่อเทียบกับการเลี้ยงปลาช่อน ในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และในบ่อกระชังบก จากผลการทดลองในครั้งนี้สรุปได้ว่ารูปแบบการเลี้ยงปลาช่อนในบ่อ กระชัง มีความเหมาะสมกับชุมชนบ้านหนองขวางมากที่สุด

หน่วยงานการอ้างอิง

การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยาครั้งที่ 9 และการประชุมวิชาการระดับชาติ ปริญญาตรี “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคม” วันที่ 18-19 ตุลาคม 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ไฟล์แนบ

pdf วไลอลงกรณ์ 02

ขนาดไฟล์ 3 MB | จำนวนดาวน์โหลด 385 ครั้ง

ความคิดเห็น