ผู้วิจัย
อนล สวนประดิษฐ์, กิตติวัชร ถ้วยงาม, ปนัดดา กุลบุตร, ไพรัชช์ จันทร์งาม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลทางการเรียนของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ และ 4.เพื่อศึกษาความคงทนในการการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ปี 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ านวน 30 คนและนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์จำนวน 30 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 60คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1.แผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ 2.สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ 3.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้การทดสอบค่าที(t-test – dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์มีประสิทธิภาพ 80.17/80.42 โดยมีค่าตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ตั้งไว้ เท่ากับ 80/80 2. ผู้เรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ประสิทธิผลทางการเรียนของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้สื่อ สังคมเครือข่ายออนไลน์มีค่าเท่ากับ 0.87 แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์มีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 87 4. ความคงทนในการการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 70
บรรณานุกรม
จริยา เสถบุตร. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา การวัดผลประเมินผลทางการศึกษา ภาควิชาวัดและประเมินผล คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. จารุวรรณ บุตรสุวรรณ์. (2553). การพัฒนาความรู้ทักษะวิชาชีพทางบัญชีของนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีที่ 3 สาขาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ฉันท์ทิพย์ ลีลิตธรรม. (2556). การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการเรียนร้ในห้องเรียนกลับทางร่วมกับ เทคโนโลยีการเรียนรู้แบบภควันตภาพโดยใช้รูปแบบการเรียนร้แบบร่วมมือผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต. Graduate Research Conference 2014. Khonkaen University. ชัยยงศ์ พรหมวงศ์. (2546). การผลิตชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ ดวงทิพย์ แซ่เล็ก (2557). ผลการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบผสมผสาน เรื่อง ระบบอินเทอร์เน็ต ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และความคงทนในการเรียนรู้ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่มีการรู้คอมพิวเตอร์ต่างกัน.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัย มหาสารคาม บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติส าหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ วาสนา แสงศรี. (2555). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บช่วยสอนแบบการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อส่งเสริมความสามัคคีสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี วงศ์วันเฉลิม อุดมทวี (2556) การพัฒนาความสามารถการคิดเชิงบูรณาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 และ 2 ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง (Flipped- classroom). วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยา คณาวงษ์. (2554). ผลของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ต วิชาเคมีอินทรีย์เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ ของศึกษาชั้นปีที่ 1. มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จังหวัดจันทบุรี วารสารวิจัยปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2557. สิทธิชัย ไตรโยธี. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดียกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สุพิศ ฤทธิ์แก้ว .(2556). “ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง”วิจารณ์ พานิช. กรุงเทพ : เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด. สมหมาย แก้วกันหา, วรปภา อารีราษฎร์ และ ธรัช อารีราษฎร์.2558. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมมือแบบ ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่อ อีดีแอลทีวี. สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สุมาลี ประโคทัง. 2555. การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสารชีวโมเลกุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบSTAD และแบบสืบเสาะหาความรู้.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม. อนล สวนประดิษฐ์และคณะ. (2557). การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ทุนวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อนล สวนประดิษฐ์. (2558). การพัฒนาเว็บช่วยสอนร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง ทฤษฎีการเรียนรู้ในการสร้างนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุนวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อนุโรจน์ นันทิวัตถพงศ์. (2554). การเปรียบเทียบผลของวิธีสอน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกับวิธีสอนปกติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องอิเล็กทรอนิกส์เบือ้งต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน” จังหวัดยะลา.การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. อพัชชา ช้างขวัญยืน และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์.(2559). การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้ แบบโครงงาน รายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐานสำหรับนิสิตปริญญาตรี.ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร. Bergman and Sams.2012. Flip Your Classroom Reach Every Student in Every Class Every Day .Technology Coordinators. Iste.Ascd. Sanjaya Mishra. 2002. A design framework for online learning environments. British Journal of Educational Technology.
หน่วยงานการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ความคิดเห็น