ผู้วิจัย
จตุพร ดอนโสม พัชรินทร์ ลาภานันท์ รักชนก ชำนาญมาก
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาทุนทางสังคมของชุมชนชายแดนรัฐจัดตั้งบนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีชุมชนไทยร่มเย็น (นามสมมติ) ต�าบลจันทบเพชร อ�าเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเงื่อนไขและบริบทในการใช้ทุนทางสังคมในปฏิบัติการของชุมชน ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพตามแนวทางปรากฏการณ์วิทยาร่วมกับการวิเคราะห์ประวัติชีวิตครัวเรือน โดยการสัมภาษณ์ผู้รู้ในชุมชน ตัวแทนครัวเรือนที่อพยพเข้ามารับการจัดสรรที่ดินกับนิคมสร้างตนเองบ้านกรวดตั้งแต่ยุคเริ่มต้น การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ชาวชุมชนได้ใช้ทุนทางสังคมในการอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ อาทิ การเป็นเครือญาติและคนบ้านเดียวกัน เพื่อช่วยส่งข่าวประกาศรวมถึงการตัดสินใจอพยพเข้ามารับการจัดสรรที่ดินของนิคมสร้างตนเอง และในยุคการจัดหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-กัมพูชา ชุมชนได้ใช้ทุนทางสังคมที่เกิดจากการสร้างเครือข่ายทางสังคมแบบใหม่กับคนกลุ่มอื่น ๆ บนอาณาบริเวณชายแดน อาทิ เครือข่ายทางสังคมด้านการปกครองและการป้องกันชุมชน เครือข่ายทางสังคมจากการแต่งงาน เพื่อยึดโยงความสามัคคีและช่วยเหลือกัน นอกจากนี้ เครือข่ายทางสังคมยังเป็นทุนที่ส�าคัญในการต่อรองจนได้มาซึ่งสิทธิ์ต่าง ๆ อาทิ การเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเอง การเข้าเป็นสมาชิกของหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-กัมพูชา การได้รับการจัดสรรที่ดินท�ากินและที่อยู่อาศัย ตลอดจนการได้เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ ผลการวิจัยจึงสะท้อนถึงการใช้ทุนทางสังคมในเงื่อนไขและบริบทที่ต่างกัน
บรรณานุกรม
[1] Panyakaew, W. (2013). Marriage: A practice of border people at Mae Sai – Tha Khee Lek Border in Border People and Frontier Crossing. Chiang Mai: Center for the Study of Biological Diversity and Local Wisdom for Sustainable Development. (in Thai) [2] Kaewthep, K., & Hinwiman, S. (2008). Thinkers and theorists of political economy and communication studies. Bangkok: Parbpim Printing. (in Thai) [3] Bourdieu, P. (1986). The forms of capital. In J. Richardson (Ed.). Handbook of theory and research for the sociology of education (pp.241-258). New York: Greenwood. [4] Walker, A. (1997). The legend of the gloden boat: Regulation transport and trade in North-eastern Laos. A Thesis Submittedfor the Degree of Philosophy of The Australian Nation University. [5] Wilson, T. M., & Donnan, H. (1999). Border frontiers of identity. Nation and State. Cambridge: Cambridge University Press. [6] Phon Wongprathum (Pseudonym), 62, being interviewed on 11 May 2018 [7] Saad Vajadee (Pseudonym), 80, being interviewed on 22 July 2018 [8] Sangkhamanee, J. (2008). Border Studies and Anthropology on the border: Opening the area, creating boundaries, and crossing the frontier of knowledge. Journal of Social Sciences: Special Issue Crossing the Frontier of Knowledge in Social Sciences in Thailand in commemoration of the 60th Anniversary of Anan Kanjanapan, 20(2), 210-264. (in Thai) [9] Pian Ochalert (Pseudonym), 63, being interviewed on 20 July 2018 [10] Kwangkhwang Robtittang (Pseudonym), 77, being interviewed on 2 August 2018 [11] Sethachu, C. (2009). The area of power and way of life of the people on the CambodianLaos border Under the development of the Mekong sub-region. Ph.D. Thesis, Thai Studies, Graduate School Mahasarakham University. [12] Lampoo, K. (2015). The dynamics of cross-border relations of the Thai-Cambodian border community: a case study of Chong Chom-O Samet. Graduate School, Khon Kaen University. [13] Ittipohon Hingrang (Pseudonym), 77, being interviewed on 20 August 2018 [14] Namneong Cheawchan (Pseudonym), 65, being interviewed on 8 May 2018 [15] Manorom, K. (2011). Isan frontier and neighboring countries: Academic findings and policy implications. Chiang Mai: Mekong Sub-region Social Research Center. (in Thai)
ความคิดเห็น