ผู้วิจัย

วรวัฒน์ พรหมเด่น และ อรุณรัศมี แสงศิลา

บทคัดย่อ

สารสกัดสมุนไพรไทยด้วยเมทานอลจำนวน 7 ชนิด ได้นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยใช้วิธี DPPH และวิธี ABTS ผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีพบว่ามีสารสกัดสมุนไพรจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ใบมะม่วงหิมพานต์ แก่นฝาง และแก่นแสมสาร ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเมทานอลและเอทิลอะซิเตต ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าหรือเทียบเท่า acorbic acid และ Trolox ซึ่งสารมาตรฐานทั้งสองค่า SC50 ต่อวิธี DPPH เป็น 6.47 ± 0.89 และ 7.77 ± 0.28 μg/ml ตามลำดับ และมีค่า SC50 ต่อวิธี ABTS เป็น 13.74 ± 0.03 และ 14.89 ± 0.89 μg/ml ตามลำดับ องค์ประกอบทางพฤกษเคมีบ่งชี้ว่าสารสกัดมีสารประกอบฟีนอลค่อนข้างสูงซึ่งสอดคล้องกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูง จากผลการทดลองนี้สามารถบ่งชี้ได้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในสารสกัดพืชสมุนไพรสามารถพัฒนาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์ยาต่อไปได้ ซึ่งต้องทำการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและความเป็นพิษระดับเซลล์เพิ่มเติม

การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมุนไพรไทยเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

Study of antioxidant activity of Thai Medicinal Plants: To Developing a Healthy Product Based on the Local Wisdom  

ไฟล์แนบ

pdf การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมุนไพรไทย

ขนาดไฟล์ 1 MB | จำนวนดาวน์โหลด 1467 ครั้ง

ความคิดเห็น