ผู้วิจัย

วรวัฒน์  พรหมเด่น และ เทพพร โลมารักษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งหาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่พืชสมุนไพรที่มีการใช้อยู่ทั่วไป พร้อมทั้งตรวจสอบหาสารต้านจุลชีพชนิดใหม่ แก่นครี้เป็นสมุนไพรไทยที่มีสารพฤกษเคมีกลุ่มฟลาโวนอยด์หลากหลายชนิด การศึกษาครั้งนี้จึงใช้สารสกัดหยาบจากแก่นครี้ที่สกัดด้วยเมทานอลมาทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งจุลชีพชนิดต่างๆ โดยเป็นแบคทีเรียแกรมบวก 2 สายพันธุ์ (Bacillus cereus และ Enterococcus faecium) แบคทีเรียแกรมลบ 4 สายพันธุ์ (Acenetobactor baumannii ATCC 19606, Escherichia coli ATCC 25922, Klebsiella pneumoniae ATCC 700603 และ Pseudomonsa aeruginosa PAO1) กลุ่มเชื้อรา 4 สายพันธุ์ (Alternaria brassicicola, Candida albicans, Curvularia lunata และ Magnaporthe grisea) การทดสอบใช้เทคนิควิธีทางสเปกโตรโฟโตรเมตรีและสเปกโตรฟลูออโรเมตรี และรายงานค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพได้ที่ร้อยละ 90 (MIC90) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดจากแก่นครี้มีผลยับยั้งการเจริญของเชื้อ B. cereus ได้ดีที่สุด โดยมีค่าและมีค่า MIC90 เป็น 12.5 µg/mL และสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตได้ถึง 99.85% และ 100% ที่ความเข้มข้น 25 และ 50 µg/mL ตามลำดับ ศักยภาพในการยับยั้งเชื้อ B. Cereus ของสารสกัดจากแก่นครี้จะสามารถนำไปพัฒนาเป็นสารป้องกันการบูดเน่าของอาหารประเภทแป้งได้ ในขณะที่การทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพชนิดอื่นๆ เมื่อใช้สารสกัดจากแก่นครี้ที่ความเข้มข้นสูงสุดในการทดลอง (50 µg/mL) พบว่ายังไม่สามารถยับยั้งการเจริญได้ ดังนั้นจึงประเมินได้ว่าสารสกัดจากแก่นครี้ยังไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้านจุลชีพชนิดอื่นๆ ยกเว้น B. cereus คำสำคัญ : ฤทธิ์ต้านจุลชีพ สมุนไพร แก่นครี้

ชุดโครงการ : การศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดจากแก่นครี้

Studies on the antimicrobial activity of heartwood extract of Dalbergia parviflora

 

โครงการย่อยที่ 1

การศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแกรมลบและแกรมบวกของสารสกัดจากแก่นครี้

Studies on the antibacterial activity of Dalbergia parviflora heartwood extract against Gram-negative and Gram-positive bacteria

 

โครงการย่อยที่ 2

การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดจากแก่นครี้

Studies on the antifungal activity of Dalbergia parviflora heartwood extract

งานวิจัยนี้มุ่งหาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่พืชสมุนไพรที่มีการใช้อยู่ทั่วไป พร้อมทั้งตรวจสอบหาสารต้านจุลชีพชนิดใหม่ แก่นครี้เป็นสมุนไพรไทยที่มีสารพฤกษเคมีกลุ่มฟลาโวนอยด์หลากหลายชนิด การศึกษาครั้งนี้จึงใช้สารสกัดหยาบจากแก่นครี้ที่สกัดด้วยเมทานอลมาทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งจุลชีพชนิดต่างๆ โดยเป็นแบคทีเรียแกรมบวก 2 สายพันธุ์ (Bacillus cereus และ Enterococcus faecium) แบคทีเรียแกรมลบ 4 สายพันธุ์ (Acenetobactor baumannii ATCC 19606,  Escherichia coli ATCC 25922, Klebsiella pneumoniae  ATCC 700603 และ Pseudomonsa aeruginosa PAO1) กลุ่มเชื้อรา 4 สายพันธุ์ (Alternaria brassicicola, Candida albicans, Curvularia lunata และ Magnaporthe grisea) การทดสอบใช้เทคนิควิธีทางสเปกโตรโฟโตรเมตรีและสเปกโตรฟลูออโรเมตรี และรายงานค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพได้ที่ร้อยละ 90 (MIC90) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดจากแก่นครี้มีผลยับยั้งการเจริญของเชื้อ B. cereus ได้ดีที่สุด โดยมีค่าและมีค่า MIC90 เป็น 12.5 µg/mL และสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตได้ถึง 99.85% และ 100% ที่ความเข้มข้น 25 และ 50 µg/mL ตามลำดับ ศักยภาพในการยับยั้งเชื้อ B. Cereus ของสารสกัดจากแก่นครี้จะสามารถนำไปพัฒนาเป็นสารป้องกันการบูดเน่าของอาหารประเภทแป้งได้ ในขณะที่การทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพชนิดอื่นๆ เมื่อใช้สารสกัดจากแก่นครี้ที่ความเข้มข้นสูงสุดในการทดลอง (50 µg/mL) พบว่ายังไม่สามารถยับยั้งการเจริญได้ ดังนั้นจึงประเมินได้ว่าสารสกัดจากแก่นครี้ยังไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้านจุลชีพชนิดอื่นๆ ยกเว้น B. cereus

 

คำสำคัญ : ฤทธิ์ต้านจุลชีพ สมุนไพร แก่นครี้

 

ไฟล์แนบ

pdf การศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดจากแก่นครี้

ขนาดไฟล์ 3 MB | จำนวนดาวน์โหลด 376 ครั้ง

pdf การศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแกรมลบและแกรมบวกของสารสกัดจากแก่นครี้

ขนาดไฟล์ 3 MB | จำนวนดาวน์โหลด 366 ครั้ง

pdf การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดจากแก่นครี้

ขนาดไฟล์ 3 MB | จำนวนดาวน์โหลด 244 ครั้ง

ความคิดเห็น