ผู้วิจัย

กิตติกร ฮวดศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธ์ 19 ของหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยสนาม (Field Research) ทฤษฏีที่ใช้ในการศึกษาได้แก่แนวคิด SWOT และ PDCA กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน พัฒนาชุมชน ตัวแทนผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ควาญช้าง ประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จำนวน 30 คนโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ( Purposive sampling )เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการตีความและพรรณนาเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธ์ 19 ของหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ผลการวิเคราะห์ SWOT ได้ผลการวิจัยดังนี้ จุดแข็ง มีวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตช้างมาตั้งแต่สมัยก่อนหลายร้อยปี ชุมชนมีทรัพยากร ปราชญ์ชาวบ้านที่มีวัฒนธรรมความเชื่อที่เกี่ยวกับช้างซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน จุดอ่อน การขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และการขาดกำลังใจ โอกาส มีเวลาปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยว หรือปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอนการต้อนรับนักท่องเที่ยว และอุปสรรค การเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้ส่งผลต่อการงดกิจกรรมต่างๆ ภายในชุมชน ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างถิ่นเข้ามาเที่ยวในชุมชนหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ทำให้ขาดรายได้ สภาพเศรษฐกิจไม่ดี ผลการศึกษาตามกรอบแนวคิด โดยนำแนวคิด PDCA พบว่า ชุมชนมีการสร้างการรับรู้และการตระหนักต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสพันธ์ 19 นำไปสู่การพัฒนาสภาพพื้นที่ และปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สามารถจำหน่ายได้ในรูปแบบอื่นๆและปัจจัยหนุนเสริมจากส่วนราชการจากการเขียนแผนเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับทุกสภาพการณ์ คำสำคัญ: ชุมชนท่องเที่ยว,บ้านตากลาง,หมู่บ้านช้าง

บรรณานุกรม

กระทรวงมหาดไทย, กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท. คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.สำนักงาน.“ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 - 2579” นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง. บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์. (2562). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการน านโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา.(2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง).กรุงเทพฯ: ธรรมสาร ปิยังกูล พวงแก้ว.(2562). การดำเนินงานของโครงการหมู่บ้าน/ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีกรณีศึกษาบ้านท้ายดง หมู่ที่ 1 ตำบลบางกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี.รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. แผนพัฒนาจังหวัดสุรินทร์.(2561-2565). รอบปี 2563.จังหวัดสุรินทร์ ศตปพร มีสุขศรี และศุภลักษณ์ สุวรรณะชฎ.(2557). ปัญหาและผลกระทบในการบริหารงานบุคคลของ เทศบาลเมืองควนลัง อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม 2564 จากhttp://mis.cola.kku.ac.th/files/ gs28_attachment_files/files/739/บทความในการ นําเสนอผลงานทางวิชาการ. pdf?1402973267 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2563). แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของโควิด-19 องค์การบริหารส่วนตำบลกระโพ.(2564).สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564 จาก https:// krapho.go.th/ datagen/ scoop/000012. อรัญยา ปฐมสกุล และคณะ. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน กรณีศึกษา ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารราชภัฏสุราษฏร์ธานี,ฉบับที่ 1, 177-194.

ไฟล์แนบ

pdf บทความ-อ-กิตติกร-ฮวดศรี

ขนาดไฟล์ 3 MB | จำนวนดาวน์โหลด 113 ครั้ง

ความคิดเห็น