ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข และคณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฎิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนชุมชนบ้านตราดตวน 2) ศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนชุมชนบ้านตราดตวน และ 3) ศึกษารูปแบบการบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนชุมชนบ้านตราดตวน กลุ่มตัวอย่าง จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ตัวแทนประชาชน ผู้มีรายได้น้อยจำนวน 180 คน และกลุ่มผู้นำชุมชนบ้านตราดตวน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ข้อมูลที่ได้จากข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน (ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1. ประชาชนชุมชนบ้านตราดตวน มีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับปานกลาง ซึ่งส่วนใหญ่รับรู้องค์ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากผู้นำในชุมชน และเพื่อนบ้าน โดยความรู้ต่อแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวกับเรื่องความอดทนและความเพียร และมีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการลดรายจ่าย การประหยัดอดออม และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและ เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งด้านส่วนตัวและส่วนรวม โดยเริ่มปฏิบัติจากตัวเอง และครอบครัว 2. แนวทางการประยุกต์ใช้ทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนชุมชนบ้านตราดตวน 2.1 แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการดำเนินชีวิต : โดยการลดการใช้-จ่ายในครัวเรือน ลดปริมาณการซื้อจากภายนอกและทำการผลิตใช้ในครัวเรือนด้วยตนเอง ซึ่งองค์ประกอบของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ด้วยหลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผล หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดี และด้านคุณธรรม 2.2 แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการประกอบอาชีพ : บางครัวเรือนมีองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในครัวเรือน อีกทั้งในชุมชนมีวัตถุดิบสำหรับนำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์บางชนิดสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน และนำไปจำหน่าย เพื่อการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน เช่น ผักตบชวา ซังข้าวโพด นำมาเป็นวัตถุดิบในการเพาะเห็ด มะนาว นำมาเป็นส่วนผสมของน้ำยาล้างจาน ผักสวนครัว นำมาเป็นส่วนประกอบใน การทำอาหาร และจำหน่าย แต่อย่างไรก็ตามองค์ความรู้ของชาวบ้านที่นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น ไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและไม่ได้มาตรฐาน ต้องอาศัยองค์ความรู้ วิธีการจากบุคคล/หน่วยงานภายนอกชุมชน เช่น นักวิชาการการเกษตร พัฒนาชุมชน สถาบันการศึกษา เป็นต้น 3. รูปแบบ (Model) การแก้ปัญหาความยากจนที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการขยายผลในพื้นที่ชุมชนบ้านตราดตวน จะต้องเริ่มจากการให้ความสำคัญที่ต้องให้คนในชุมชนเข้าใจถึงทุนทางสังคมของชุมชนตนเองอันประกอบด้วย ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนรับรู้ถึงจุดเด่นและจุดด้อยของชุมชนตนเอง และจัดเก็บเป็นข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ในชุมชนตนเองซึ่งสามารถพัฒนาไปถึงระดับศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนที่จะถ่ายทอดให้กับบุคคลทั้งจากภายในชุมชนและภายนอกชุมชนได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะยกระดับให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีศักยภาพได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ตัวแทนชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ อย่างยั่งยืนได้

บรรณานุกรม

กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การพัฒนาและการใช้แหล่งเรียนรู้ใน โรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ศาสนา. กฤษณา วงษาสันต์. (2543). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาสำรวจผลงานภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านหมอพื้นบ้านในเขตอีสานใต้. สุรินทร์ : สถาบันราชภัฏสุรินทร์. ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง=Sufficiency Economy. กรุงเทพฯ : วังอักษร. กรุณา เชิดจิระพงษและคณะ. (2547). เอกสารการวิจัยและพัฒนาศักยภาพการบริหาร จัดการพัฒนาองคการบริหารสวนตําบลเพื่อแกไขปญหาความยากจน. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. ไกรลาศ พลไชย.(2544). ปัญหาในการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน : กรณีศึกษาบ้านโนนศิลา ในเขตจังหวัดสกลนคร. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร. (2546). ความยากจน : สถานการณ์และบทบาทองค์องค์กรพัฒนา เอกชน. กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด. จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2548). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : การปรับกระบวนทัศน์ กระบวนการยุติธรรมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับกระบวนการเรียนรู้และการปรับตัว ของชาวบ้านไทย. กรุงเทพฯ : ครัวบ้านและสวน. ทรงชัย ติยานนท์. (2542). การศึกษาทัศนะของเกษตรกรในการสร้างความมั่นคงทางรายได้ ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ สส.ม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษานโยบาย- ธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล. ทศพล สมพงศและคณะ. (2547). เอกสารการวิจัยและพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ พัฒนาองคการบริหารสวนตําบลเพื่อแกไขปญหาความยากจน. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. ทองมวน นาเสงี่ยมและคณะ. (2547). เอกสารการวิจัยและพัฒนาศักยภาพการบริหาร จัดการพัฒนาองคการบริหารสวนตําบลเพื่อแกไขปญหาความยากจน. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. ธวัช สุทธิกุลสมบัติ. (2537). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีส่วนสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนในชนบท. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.]. ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2544). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งประชาคม ประชาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 7. ขอนแก่น : โครงการจัดตั้งมูลนิธิเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ชมรมนักวิชาการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2543). คนจนกับนโยบายการทำให้จนของรัฐ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ เรือนแก้วการพิมพ์. ประเวศ วะสี. (2543, ธ.ค.- 2544, พ.ค.). “ปาฐกถาพิเศษเรื่อง การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อแก้ไข ปัญหาความทุกข์ยากของแผ่นดิน” วารสารราชภัฏเพชรบุรี. 9(2) : 7-15. พลเดช ปิ่นประทีป. (2547). ประมวลข้อมูลและองค์ความรู้เบื้องต้นสำหรับการขับเคลื่อน ปุ๋ยชีวภาพเป็นวาระแห่งชาติวาระแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวง เกษตรและสหกรณ์. พัชรินทร แกวขาว. (2543). การฝกประสบการณวิชาชีพการพัฒนาชุมชน. ภาคนิพนธ ศิลปศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน. สุรินทร : สถาบันราชภัฏสุรินทร. ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การ พัฒนาปัจจุบัน ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล. ไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์. (2517). แผนพัฒนาระดับจังหวัด การศึกษาวิเคราะห์เชิงรัฐประศาสน์ ศาสตร์ เกี่ยวกับกระบวนการวางแผนการปฏิบัติตามแผน และปัญหาต่างๆ. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มาลินี สมงาม. (2543). แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนของชาวนากับการพัฒนาด้าน เกษตรกรรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บางกอก บล็อก. ลัดดา ศิลาน้อย. (2545). การรวบรวมแหล่งความรู้ไปสู่งานวิจัยวิชาสังคมศึกษา. วารสาร ศึกษาศาสตร์, 26(2), 34-38. ฤทัยวรรณ ศุภเกษตร. (2535). การศึกษาสภาวะความยากจนของชุมชนทะเลน้อย. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วัชรินทร์ สายสาระ และ เถลิงศักดิ์ สีหะวงค์. (2549). การพัฒนาขีดความสามารถของ ประชาคมหมู่บ้านในการวางแผนพัฒนา หมู่บ้าน กรณีศึกษา ตำบลนาดี อำเภอ ด่านซ้าย จังหวัดเลย. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. สมบัติ พันธวิศิษฎ์. (2545). เศรษฐกิจพอเพียงกับการอยู่รอดของชุมชนชนบทไทย กรณีศึกษาชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช. สมศรี จินะวงษ์. (2544). การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและ การกระจายรายได้ในชุมชนที่ใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ ค.ด. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภางค์ จันทวานิช. (2531). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สุริยา วีรวงศ์. (2538). การศึกษาสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่แนวกันชนของเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สุวิทย์ มูลคำ, และอรทัย มูลคำ. (2545). 20 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมค่านิยมและการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. [ม.ป.พ.] : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์. เสรี พงศ์พิศ. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง : การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : พลังปัญญา. องค์การบริหารส่วนตำบลชุมเห็ด จังหวัดบุรีรัมย์. (2552). แผนพัฒนาสามปี 2552-2554. บุรีรัมย์ : องค์การบริหารส่วนตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. อภิชัย พันธเสน. (2545). การวิเคราะห์อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนว พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง : รายงานฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อ สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. อมรา พงศาพิชญ์. (2537). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนว มานุษยวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุทัย ดุลยเกษม. (2536). ลอดลายผ้าม่วง : มุมมองจากกัลยาณมิตรในวาระครบ 6 ทศวรรษของ ส. ศิวรักษ์. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์. Good, C.V. (1993). Dictionary of Education. New York. : Mc.Graw-Hill.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf วิจัยเศรษฐกิจพอเพียง 15 พ.ค 54

ขนาดไฟล์ 8 MB | จำนวนดาวน์โหลด 346 ครั้ง

ความคิดเห็น