ผู้วิจัย

สกรณ์ บุษบง1* วราวุธ จอสูงเนิน2* และ อมรเพชร ตลับทอง3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาชุดควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเทคโนโลยี IoT โดยแสดงค่าในแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ สถานะของอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เกษตรกรที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น และยังสามารถสั่งงานผ่านหน้าเว็บไซต์ได้ เครื่องมือที่ใช้พัฒนาประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์ ได้แก่ บอร์ด Arduino Uno R3, บอร์ด Node MCU ESP8266, เซ็นเซอร์ pH, เซ็นเซอร์ TDS, ปั๊มน้ำ 12V, Dosing Pump 12V, Switching Power Supply 12V, จอ LCD แบบ I2C, หลอดไฟ LED, Selector Switch, และ Relay 5V 4 ช่อง และซอฟต์แวร์ ได้แก่ Arduino IDE, NETPIE IoT Cloud Platform และระบบปฏิบัติการ Windows 10 2) ศึกษาผลการทดลองใช้ชุดควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเทคโนโลยี IoT ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยสมองกลฝังตัวผ่าน NETPIE สามารถอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรในการให้ปุ๋ยผักไฮโดรโปนิกส์และปรับสภาพน้ำ แล้วยังสามารถแสดงสถานะค่า EC และ ค่า pH ของแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ได้แบบ Real–Time 2) การศึกษาผลการทดลองใช้ชุดคอนโทรลเลอร์ ในการควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเทคโนโลยี IoT โดยแยกเป็นจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 5 คน และเกษตรกรปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 20 คน โดยมีการสอบถามความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ และเกษตรกรปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่มีผลต่อระบบจากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติพื้นฐานเทียบกับเกณฑ์ด้านเว็บแอพพลิเคชั่น (NETPIE Freeboard) ด้านชุดคอนโทรลเลอร์ และด้านภาพรวมของระบบ พบว่าการใช้งานระบบในส่วนของผู้เชี่ยวชาญ และเกษตรกรไฮโดรโปนิกส์ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.32 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก

บรรณานุกรม

ธนทร ทิชนันท์. (2557). ระบบไฮโดรโปนิกส์อัจฉริยะ. วิทยานิพนธ์. วท.บ. (เทคโนโลยสีารสนเทศ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ถ่ายเอกสาร. ประภาส สุวรรณเพชร. (2557). เรียนรู้และลองเล่น Arduino เบื้องต้น. (Online). แหล่งที่มา : http://www.thephyllconnect.com/images/Arduino/KruPraphasArduinoBook. pdf (สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม 2561) พงศธร แสนหัน. (2561). ระบบควบคุมโรงเพาะชำด้วยบอร์ดราสเบอรี่พาย. วิทยานิพนธ์. วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์). บุรีรัมย์: บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. ถ่ายเอกสาร. เมธา โล่กันภัย. (2556). ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการผลิตผักในระบบไฮโดรโปนิกส์. วิทยานิพนธ์. วส.บ. (เทคโนโลยสีารสนเทศ). นครราชศรีมา: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ถ่ายเอกสาร. มุหัมมัด มั่นศรัทธา และมูฆอฟฟัล มูดอ. (2560) ระบบเปิดปิดไฟภายในห้องน้ำโดยใช้ดครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย ESP 8266/NodeMCU. วิทยานิพนธ์. วศ.บ. (วิศวะกรรมไฟฟ้า). นราธิวาส: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ถ่ายเอกสาร. สิตาวีร์ ธีรวิรุฬห์. (2559). สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) การทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. (Online). แหล่งที่มา : https://library2.parliament.go.th/ebook/content -issue/2559/hi2559-093.pdf (สืบค้นวันที่ 5 เมษายน 2562)

หน่วยงานการอ้างอิง

NCTIM 2020 | Rajabhat Maha Sarakham University | Maha Sarakham | Thailand | 12 March 2020

Dspace Link

ความคิดเห็น