ผู้วิจัย

ปนัสยา เบื้องบน, เฉลิมวุฒิ คำเมือง, ไพรัชช์ จันทร์งาม, เยาวลักษณ์ กระฐินหอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนและจำนวนคละสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลประโคนชัย (อำนวยกิจราษฎร์วิทยาคาร) ประชากร คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 182 คน และกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 110 คน ได้แก่ ห้อง 6/1 จำนวน 41 คน ห้อง 6/2 จำนวน 39 คน และห้อง 6/3 จำนวน 30 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากจากทั้งหมด 5 ห้อง เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสำรวจจุดบกพร่องเป็นข้อสอบแบบเติบคำตอบพร้อมแสดงวิธีทำและแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องเป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก เมื่อนำแบบสำรวจไปใช้กับนักเรียนกลุ่มที่ 1 เพื่อสำรวจหาจุดบกพร่องทางการเรียน แล้วนำโจทย์ปัญหาในแบบสำรวจมาสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย ประกอบด้วยโจทย์ปัญหาจำนวน 32 ข้อ เป็นข้อสอบปรนัยแบบ 4 ตัวเลือก ซึ่งได้ตัวลวงจากคำตอบที่นักเรียนตอบผิดมากที่สุด เมื่อนำไปใช้กับนักเรียนกลุ่มที่ 2 เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบรายข้อ พบว่า มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.09 - 0.95 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ -0.22 - 0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.884 เลือกข้อสอบคุณภาพที่ผ่านเกณฑ์ 18 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.32 - 0.78 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.24 - 0.89 จากนั้นจึงนำข้อสอบ 18 ข้อไปใช้กับนักเรียนกลุ่มที่ 3 เพื่อวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบทั้งฉบับ พบว่ามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.944 This research aimed to create a diagnostic test for mathematics learning on solving fractions and mixed numbers for students in grade 6, Anubanprakhonchai (Amnuaykitrat - Wittayakarn) in the academic year 2020. The population was 182 students in Grade 6 and the sample was Grade 6 students of 110 students which consisted room 6/1, 41 students, room 6/2, 39 students, and room 6/3, 30 students, which were obtained by a simple random sampling. The researcher used the method of drawing lots for student representatives from all 5 rooms. Research tools include a deficiency survey which is cloze test with solutions and a diagnostic test which is multiple choice exam . When the survey is applied to the first group of students to investigate learning defects, then the questionnaire was used to create a diagnostic test. It consists of 32 problems, which is a multiple-choices exam with 4 options. And the Pseudo options are derived from the most common student wrong answers. When applied to the second group of students to analyze the quality of each test, it was found that the difficulty value ranged from 0.09-0.95, and the discrimination value ranged from -0.22 - 0.89, and the confidence value of the whole test was 0.884. It was found that there were 18 quality examinations that passed the criteria, with difficulty value ranging from 0.32-0.78, and a discrimination value range from 0.24 - 0.89, Then, 18 questions were used with the third group of students to analyze the quality of the whole test, and it was found that the reliability value was 0.944

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. ประสพชัย พสุนนท์. (2558). “ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์”. วารสาร สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18, 381. ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์. วิสารัตน์ วงศ์ภูรี. (2556). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่อง ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สาระที่ 4 พีชคณิต เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียน เขตบางแค สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนคริน วิโรฒ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2563. จาก http://www.niets.or.th. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2563. จาก http://www.niets.or.th. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2563. จาก http://www.niets.or.th.

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf 4th bru page 169-181

ขนาดไฟล์ 1 MB | จำนวนดาวน์โหลด 428 ครั้ง

ความคิดเห็น