ผู้วิจัย

นพดล ธีระวงศ์ภิญโญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเกษตรกรและรูปแบบของสัญญา ทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการธุรกิจทางการเกษตร และปัญหาที่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว โดยภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำสัญญา กลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิจัยเป็นเกษตรกรแบบมีพันธสัญญา ในเขตอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งสิ้นจำนวน 52 ราย ผลการวิจัยพบว่า มีรูปแบบการทำสัญญาเป็นการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรฯ (ธ.ก.ส.) มากที่สุด รองลงมาคือกู้นอกระบบ และทำสัญญากับผู้ประกอบการฯ ส่วนความสัมพันธ์ของเกษตรกรกับผู้ประกอบการธุรกิจทางการเกษตรพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์แบบประกันราคา รองลงมาคือความสัมพันธ์แบบประกันตลาด และความสัมพันธ์แบบประกันรายได้ โดยพบว่าเกษตรกรมีปัญหาด้านการรับรู้รายละเอียดของสัญญามากที่สุด และปัญหาเรื่องการผูกขาดด้านปัจจัยการผลิตโดยผู้ประกอบการธุรกิจทางการเกษตร ผู้วิจัยจึงเสนอว่าก่อนเกษตรกรตกลงทำสัญญา เกษตรกรควรอ่านและทำความเข้าใจในเนื้อหาของสัญญาก่อน โดยรัฐควรมีมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันมิให้มีการขายปัจจัยการผลิตที่มีลักษณะผูกขาด

บรรณานุกรม

จิรวรรณ กิจชัยเจริญและคณะ. ความเสี่ยง ผลตอบแทน และการปรับตัวของเกษตรกรในการทำฟาร์มปศุสัตว์ภายใต้ระบบพันธสัญญาในเขตจังหวัดภาคเหนือ. ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตรและภาควิชาเศรฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพ่งการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557. สุภากร ยอดประทุม. “มาตรการทางกฎหมายในการควบุคมการทำสัญญาภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2557. อัมพันธ์ สุริยัง. “การยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานต่อการทำเกษตรแบบมีพันธะสัญญาในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่.” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรชนบท, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2557. อิศรากร คงทองคำ (2557). ปัญหากฎหมายข้อสัญญาไม่เป็นธรรมของระบบเกษตรพันธสัญญาวารสารบัณฑิตศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(2), 78-87.

ไฟล์แนบ

doc โปรสเตอร์ บอย

ขนาดไฟล์ 127 KB | จำนวนดาวน์โหลด 268 ครั้ง

ความคิดเห็น