ผู้วิจัย

นางสาวฤทัยภัทร ให้ศิริกุล

บทคัดย่อ

ชื่อวิจัย การวิจัยเรื่องการวิจัยเรื่องเรื่องแนวทางการสร้างต้นแบบกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนท้องถิ่น ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่อนใน จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ดำเนินการวิจัย ฤทัยภัทร ให้ศิริกุล หน่วยงาน สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2560 บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการวิจัยเรื่องแนวทางการสร้างต้นแบบกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนท้องถิ่น ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่อนใน จังหวัดอุบลราชธานี วัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาบริบทผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนากลุ่มอาชีพผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 3.เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างต้นแบบกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่ ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีบนพื้นฐานทรัพยากรท้องถิ่น การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยสุ่มตัวอย่างเฉพาะผู้สูงอายุในพื้นที่ศึกษา จำนวน 62 คนส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพรวบรวมโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม ประชุมเชิงปฏิบัติการและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาเทียบเคียงแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควบคู่บริบทพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ64.50 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 33.90 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-64 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.30 ผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถามมาจากทุกหมู่บ้านในบ้านไทย ส่วนใหญ่อยู่ในหมู่ 6 มี คิดเป็นร้อยละ 19.40 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 98.30 ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ80.60 ส่วนใหญ่สถานะมีคู่ หรือสมรสมีจำนวน คิดเป็นร้อยละ71 ส่วนใหญ่ ที่มีบุตร 2 คิดเป็นร้อยละ45.20 ส่วนใหญ่บุตรยังมีชีวิต 2 คน คิดเป็นร้อยละ 38.70 ส่วนใหญ่ อาศัยอยู่บ้านตนของตัวผู้สูงอายุเองหรือคู่สมรสจำนวน คิดเป็นร้อยละ 85.50 ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่อาศัยตามลำพังหรืออยู่กับคู่สมรสตามลำพังเพราะหย่าหรือแยกกันอยู่ คิดเป็นร้อยละ32.30 ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาความเป็นอยู่ คิดเป็นร้อยละ 62.90 มีปัญหาในความเป็นอยู่ คิดเป็นร้อยละ35.50 สาเหตุเพราะส่วนใหญ่ไม่มีคนดูแลเมื่อเจ็บป่วย คิดเป็นร้อยละ12.90 ต้องเลี้ยงชีพด้วยตนเองหรือมีปัญหาการเงิน คิดเป็นร้อยละ12.90 2) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาอาชีพกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าผู้สูงอายุบ้านไทยส่วนใหญ่มีอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 66.10 ส่วนใหญ่ทำอาชีพ งานใบตอง คิดเป็นร้อยละ 21 อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 17.7 ไม่มีอาชีพ คิดเป็นร้อยละ33.90 ส่วนใหญ่มีอาชีพตามภูมิปัญญาท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 58.10 อาชีพตามภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการรวมกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเท่าๆกัน ทางการ (มีการจัดตั้งชัดเจน) คิดเป็นร้อยละ 29 แบบไม่เป็นทางการคิดเป็นร้อยละ 27.40 ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ แหล่งเงินทุนอาชีพของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 77.4 กู้ยืม คิดเป็นร้อยละ 22.6 โดยแหล่งกู้ยืม ธกส. คิดเป็นร้อยละ 17.7 กองทุน มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.8 ตามลำดับ จึงมีการสอบถามสภาพปัญหาความต้องการส่งเสริมต้นแบบกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุตามภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้วิถีวัฒนธรรมบ้านไทย เรียงตามลำดับดังนี้ ขาดการส่งเสริมพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุจากบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ร้อยละ95.20 สินค้าและบริการไม่หลากหลาย ร้อยละ 85.50 ไม่มีการจัดโครงสร้างกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุอย่างชัดเจน ร้อยละ82.30 ไม่มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุอย่างเป็นทางการ ร้อยละ80.60 จำนวนสมาชิกมีจำนวนน้อยร้อยละ74.20 รายได้ไม่สมดุลกับค่าใช้จ่าย ร้อยละ72.60 ขาดแหล่งเงินทุน ร้อยละ71 สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักไม่แพร่หลายร้อยละ71 ขาดความร่วมมือร่วมใจในชุมชน ร้อยละ64.50 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการให้มีการส่งเสริมอาชีพเสริมกลุ่มผู้สูงอายุตามภูมิปัญญาท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 91.90 3) เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างต้นแบบกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่ ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เรียงตามลำดับแนวทางที่ต้องการการพัฒนา 3 อันดับแรกได้แก่ การรวบรวมสมาชิกที่มีความสนใจในอาชีพภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทเดียวกัน, การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่นการสอน ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น และการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้โดยมีผู้สูงอายุและชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการกันเอง เป็นแนวทางในการพัฒนาสร้างต้นแบบกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุสามแนวทางที่ต้องการมากที่สุด ร้อยละ95.20 การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการดูแลสังคมและทางศาสนา, การส่งเสริมสินค้าและบริการของกลุ่มอาชีพให้หลากหลายและเป็นที่รู้จัก และ การส่งเสริมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุ เป็นแนวทางที่ต้องพัฒนา ร้อยละ 93.5 การมีการจัดโครงสร้างกลุ่มอย่างชัดเจน , การส่งเสริมจากชุมชน สมาชิกในครอบครัว ในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุ และการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนระหว่างผู้สูงอายุกับคนทุกวัย การสอนและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากผู้สูงอายุไปยังเยาวชน เป็นแนวทางที่ต้องพัฒนา ร้อยละ 91.90 ผลศึกษาวิจัยพบว่าแนวทางการสร้างต้นแบบอาชีพผู้สูงอายุตำบลบ้านไทย นั้นเริ่มจาก การรวบรวมสมาชิกที่มีความสนใจในอาชีพภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทเดียวกันคือ ศิลปวัฒนธรรม ดนตรีพื้นบ้าน หมอลำแคน กลองตุ้ม และอาชีพที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติประเภทเดียวกัน คือ ต้นกล้วย เชื่อมโยงการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างการทำบุญที่วัดทุกวันที่ 30 ของทุกเดือน เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่นการสอนถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สูงอายุ ทำให้เกิดการรวมกลุ่มกิจกรรมนำไปสู่กลุ่มอาชีพผู้สูงอายุ นำมาสู่การพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้โดยมีผู้สูงอายุและชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการกันเอง ดังนั้นอบต.บ้านไทยสามารถนำแนวทางการสร้างต้นแบบอาชีพกลุ่มผู้สูงอายุมาใช้ในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพผู้อายุเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งด้านกาย ใจ สังคม และเศรษฐกิจแก่ผู้อายุได้อย่างยั่งยืน

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ความคิดเห็น