ถ่านอัดแท่ง
กรรมวิธีการผลิตถ่านอัดแท่งมี 2 วิธี คือ
– การอัดร้อน เป็นการอัดวัสดุโดยที่วัสดุไม่จำเป็นต้องเป็นถ่านมาก่อน เมื่ออัดเป็นแท่งเสร็จแล้ว ค่อยนำเข้าเตาให้เป็นถ่านอีกครั้งหนึ่ง วัสดุที่สามารถผลิตโดยวิธีการอัดร้อน ขณะนี้มี 2 ชนิด คือ แกลบ และขี้เลื้อย เพราะวัสดุทั้ง 2 ชนิดนี้เมื่อโดนอัดด้วยความร้อน จะมีสารในเนื้อของวัสดุยึดตัวมันเอง จึงทำให้สามารถยึดเกาะเป็นแท่งได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ตัวประสาน โดยที่เครื่องอัดต้องเป็นเครื่องอัดชนิดอัดร้อน ซึ่งราคาค่อนข้างสูง
– การอัดเย็น เป็นการอัดวัสดุที่เผาถ่านมาแล้ว แล้วนำมาผสมกับแป้งมันหรือวัสดุประสานอื่นๆ โดยทั่วไปจะเป็นแป้งมัน ถ้าวัสดุใดมีขนาดใหญ่ เช่น กะลามะพร้าว เมื่อผ่านการเผาแล้ว ต้องมีเครื่องบดให้ละเอียดก่อน แล้วค่อยนำมาผสมกับแป้งมันและนำในอัตราส่วนตามที่ต้องการ
วัสดุที่ใช้ในการผลิตถ่านอัดแท่ง
วัตถุดิบในการผลิตถ่านอัดแท่ง มีหลากหลายชนิด เช่น ซังข้าวโพด กะลามะพร้าว แกลบ ขี้เลื้อย ฟางข้าว ชานอ้อย ต้นมันสำปะหลัง เหง้ามันสำปะหลัง หญ้าคา หญ้าขจรจบ ไมยราบ ผักตบชวา ใบจามจุรี กะลาปาล์ม ต้นฝ้าย ต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากทานตะวัน เปลือกทุเรียน เศษถ่านหุงต้มที่เหลือใช้จากการใช้แล้ว ฯลฯ (ข้อมูลจาก กรมพัฒนาและการส่งเสริมพลังงาน,2535)
ส่วนผสมของถ่านอัดแท่ง
ผงถ่าน 10 กิโลกรัม
แป้งมัน 0.5 กิโลกรัม
น้ำ 3 ลิตร
(ปริมาณน้ำสามารถปรับได้ ขึ้นอยู่กับความชื้นของวัสดุ)
เครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
– เครื่องบด (สำหรับวัสดุที่มีขนาดใหญ่ เช่น กะลามะพร้าว ซังข้าวโพด ฯลฯ)
– เครื่องผสม สามารถใช้เครื่องผสมทั่วไปได้ หรือผสมมือก็ได้
– เครื่องอัดแท่งถ่าน ถือเป็นหัวใจหลักมี 2 ชนิด คือ แบบอัดร้อนและแบบอัดเย็น
คุณสมบัติของถ่านอัดแท่ง
– ให้ความร้อนสูง
– ปลอดภัยไม่มีสารตกค้างและไม่ทำลายสุขภาพ เพราะถ่านได้ถูกเผาไหม้ด้วยอุณหภูมิเกิน 800 องศา
– ทนทานสามารถใช้งานได้นานกว่าถ่านไม้ธรรมดาถึง 2.5 – 3 เท่า
– ประหยัดเพราะใช้ได้นาน ไม่แตก และไม่ดับเมื่อติดแล้ว ทำให้ไม่มีการเสียเปล่า เนื่องจากถ่านจะเผาไหม้จนกว่าจะกลายเป็นขี้เถ้า
– ไม่แตกประทุอย่างถ่านไม้
– ไม่มีควัน เนื่องจากความชื้นน้อย
– ไม่มีกลิ่น เพราะผลิตจากวัสดุธรรมชาติ
– ไม่ดับแม้ว่าจะใช้ในที่ที่อากาศถ่ายเทน้อย
– ให้ความร้อนสูงสม่ำเสมอ จากความหนาแน่นของถ่าน
ราคาของถ่านอัดแท่ง
ราคาของถ่านอัดแท่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ใช้ผลิตถ่านอัดแท่ง ราคาโดยทั่วไปจะอยู่ประมาณกิโลกรัมละ 15 – 20 บาท ซึ่งจะดูแพงกว่าถ่านไม้ แต่ถ้าเปรียบเทียบคุณภาพและระยะเวลาการเผาไหม้ ถือว่าคุ้มค่ากว่าถ่านไม้ การนำดินเหนียวที่ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 50 มาผสมแทนแป้งมัน ไม่มีผลต่อคุณภาพแท่งถ่านมากนัก ซึ่งถือว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก และอัตราส่วนที่เหมาะสมจะอยู่ประมาณ 10% ของปริมาณผงถ่าน การพัฒนาส่วนผสมเพื่อลดต้นทุนการผลิต
เพื่อเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ให้กลับมามีประโยชน์และคุณค่าอีกครั้ง และเพื่อนำเสนอใต้เบื้องพระยุคลบาทของพระองค์ท่าน เราควรตระหนักในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และหาพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนพลังงานหลักที่มีราคาสูง
“ถ่านอัดแท่ง” จึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ถึงแม้เครื่องจักรจะมีราคาสูง แต่ในปัจจุบันมีงานวิจัยและพัฒนาด้านเครื่องอัดถ่านสำหรับชุมชน รวมทั้งพัฒนาด้านส่วนผสมในการลดต้นทุน
ความคิดเห็น