ผู้วิจัย

รณชัย คนบุญ และ นิภาพรรณ มณีโชติวงค์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในการดูแลสุขภาวะทางเพศของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการเข้ากิจกรรมการให้สุขศึกษาโดยการส่งเสริมความสามารถตนเองและทักษะชีวิตในการดูแลสุขภาวะทางเพศ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตพยาบาล ชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน ได้รับสุขศึกษาโดยการส่งเสริมความสามารถตนเองและทักษะชีวิต เป็นจำนวน 2 วัน กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบจำนวน 35 ข้อ 7 ด้าน ด้านละ 5 ข้อ ทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .82 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย dependent t-test ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาวะทางเพศ หลังเข้ากิจกรรมการให้สุขศึกษาเพิ่มสูงขึ้น มากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การสอนสุขศึกษาโดยการส่งเสริมความสามารถตนเองและทักษะชีวิต สามารถช่วยให้นิสิตพยาบาลได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะในการดูสุขภาวะทางเพศของตนเอง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเตรียมนิสิตให้สามารถเผชิญกับความท้าทายในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเพศได้

บรรณานุกรม

1. กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง. ผลสำรวจ วัยรุ่นท้อง เหตุเลียนแบบเพื่อน-สื่อ อีกส่วนถูกคนใกล้ชิดล่วงละเมิด. https://www.matichon.co.th/local/news_226087 สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562. 2. ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์ และคณะ. “ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองและการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แลละการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ”. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 30(1) : 11-22, 2561. 3. พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม, 2560. 4. แพรวทิพฑ์ สุธีรประเสริฐ. “ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมเพื่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในโรงเรียนเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC. มหาวิทยาลัยราชธานี อุบลราชธานี. 1768 – 1783, 2559. 5. วรภร ฉิมมี. “การพัฒนาชุดการเรียนด้วยการเรียนแบบปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การสร้างสุขภาวะทางเพศสำหรับเยาวชน”.วิทยานิพนธ์ปริญญเาศึกษาศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 2559. 6. วารุณี ตั้งศิริ. ไทยแชมป์ท้องไม่พร้อม. https://www.thairath.co.th/content/404066. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2562 สภาการพยาบาล. แผนยุทธศาสตร์สภาการพยาบาล พ.ศ. 2560-2564. กระทรวงศึกษาธิการและมาตรฐานการคุณวุฒิสาขาพยาบาลศาสตร์ กรุงเทพฯ, 2559. 7. สภาการพยาบาล. ยุทธศาสตร์บริการพยาบาล. http://www.nursing.go.th/?page_id=181. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2562, 8. สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย. การวิเคราะห์สถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในประเทศไทย. สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ, 2558. 9. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ร่างยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. http://rh.anamai.moph.go.th สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2562. 10. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2560. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี, 2561. 11. สุรสิทธ์ นาคสัมฤทธิ์. “การพัฒนาทักษะชีวิตในรั้งมหาวิทยาลัยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์”. SDU Res. 14(1) : 41-54, 2558. 12. เอ็มวิภา แสงชาติ และรุจิรา ดวงสงค์. “ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Facebook) ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1”. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 23(1) : 96-104, 2559. 13. Bandura, A. Social Learning Theory. Prentice – Hall New Jersey, 1977. 14. Maxwell, R. Life afterschool: A Social Skill Curriculum. Pergamum International Library New York, 1981.

ไฟล์แนบ

pdf ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถตนเอง และทักษะชีวิต 3

ขนาดไฟล์ 319 KB | จำนวนดาวน์โหลด 546 ครั้ง

ความคิดเห็น