ผู้วิจัย

อาจารย์อุกฤษฎ์ นาจำปา

บทคัดย่อ

ผู้ทำวิจัยได้ทำการศึกษาการยึดติดของอนุภาคบนผ้าไหมเปรียบเทียบกระบวนการ การเคลือบ Nano-PU เพื่อทดสอบความคงทนของผ้าที่ผ่านการเคลือบ Nano-PU ทดสอบความคงทนของการยึดติดของอนุภาคบนเนื้อผ้าที่ผ่านการเคลือบ Nano-PU บนผ้าไหมต่อการซัก จากผ้าไหมที่ผ่านการเคลือบ Nano-PU ระหว่างผ้าไหมที่ส่งเคลือบโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและผ้าไหมที่เคลือบด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่าการยึดติดของอนุภาคระหว่างผ้าไหมที่ผ่านการเคลือบ BAYPRET Nano-PU โดยการส่งเคลือบโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและผ้าไหมที่ผ่านการเคลือบโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นจะเห็นได้ว่าผ้าไหมที่ผ่านการเคลือบ จะมีการยึดติดของอนุภาคมากกว่าผ้าไหมที่ผ่านการเคลือบ BAYPRET Nano-PUจำนวน 7 อนุภาคในพื้นที่ 10 ไมโครเมตร โดยการส่งเคลือบโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและผ้าที่เคลือบโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นมีอนุภาคการสลายตัวมากกว่าจำนวน 1 อนุภาค ผ้าไหมที่ผ่านการเคลือบ BAYPRET Nano-PU โดยการส่งเคลือบโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผ้าไหมไทย เป็นผ้าไหมซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากผ้าไหมทั่วไป  คือ  มีความมันวาว    เนื้อผ้าฟูไม่เรียบ   อ่อนนุ่ม   มีน้ำหนัก   บางชนิดเป็นปุ่มปมอันเนื่องมาจากระดับคุณภาพซึ่งเกิดในกระบวนการผลิตแต่ก็ทำให้ได้รับความนิยมของคนบางกลุ่มเพราะดูแล้วมีความแปลกตา ผ้าทุกชนิด ที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น ได้แก่  ผ้าลายขิด   ผ้ายก   ผ้าจก   น้ำไหล  มัดหมี่  ผ้าพื้นเมือง  สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เป็น  เสื้อผ้า  หมอน  ผ้าห่ม  กระเป๋า ฯลฯ สร้างชื่อเสียงแผ่ขยายไปทั่วโลก นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยต่างให้ความสนใจ โดยเดินทางไปแสวงหา    ตามแหล่งต่าง ๆ เพื่อซื้อไปใช้สำหรับตนเอง หรือเป็นของฝาก สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติ        เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ผ้าไทยแบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติและบุคคลทั่วไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทอมาจากเครื่องกี่มือและกี่กระตุกมีโครงสร้างของเส้นด้ายทำจากเส้นใยธรรมชาติจำพวกไหม (Slik) และฝ้าย (Cotton) มีเพียงส่วนน้อยที่ทำจากลินิน แต่ในปัจจุบันกลุ่มผู้ผลิตนำเส้นใยเรยอน (Rayon) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ไหมเทียม” มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจทำจากเส้นด้ายผสมของเส้นใยชนิดต่างๆ เอกลักษณ์ของผ้าไหม จะถูกถ่ายทอดให้ปรากฏเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายไทย ดอกไม้รูปทรงเรขาคณิต รูปสัตว์ สัญลักษณ์ประจำท้องถิ่น ลงบนผืนผ้า โดยฝีมือและภูมิปัญญาของชาวบ้าน ลวดลายมีละเอียด สวยงาม อ่อนช้อย ผู้สวมใส่รู้สึกสบาย สง่างาม มีเสน่ห์ ปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ผ้าไทยได้รับความนิยมคือคุณสมบัติพิเศษเฉพาะของเส้นใย ผ้าไหม ทำจากเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากสัตว์จำพวกหนอนไหมโดยคายเส้นใยออกมาทางปากมีความยาวต่อเนื่อง เมื่อนำมาทอเป็นผืนผ้าทำให้อ่อนนุ่ม  เป็นมัน  เหนียว  ยืดหยุ่นตัวดี  ดูดซับความชื้น ย้อมสีง่ายและสวมใส่สบายเนื่องจากมีความชื้นในตัวเอง (Moisture Regain) สูงประมาณ ร้อยละ 11 แต่มีข้อจำกัดคือเส้นใยไหมเสื่อมคุณภาพง่าย เมื่อถูกความร้อนสูงจากเตารีด  แสงแดด แมลงชอบกัดกินเส้นไหมเพราะเป็นเส้นใยโปรตีน สีที่ย้อมจะเสื่อมคุณภาพเมื่อถูกความชื้นมากเกินไป ดังนั้นควรเก็บรักษาไว้ในที่แห้ง

ผ้าไหมทอมือนาโน  เกิดจากการนำเส้นใยไหมที่ได้จากหนอนซึ่งผ่านกระบวนการเลี้ยงด้วยใบหม่อนที่ผสมสารนาโนเทคโนโลยี กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตแล้วสามารถเพิ่มคุณภาพโดยใส่สารนาโนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณสมบัติความเหนียวนุ่ม  ความเงางาม  และความยืดหยุ่นดีกว่าผ้าไหมที่ได้จากหนอนที่เลี้ยงด้วยใบหม่อนปกติทั่วไป  เหมาะที่จะประยุกต์องค์ความรู้ดังกล่าวมาใช้กับกระบวนการผลิตผ้าไหมทอมือเพื่อส่งออกต่างประเทศในอนาคต ที่ผ่านมาการทอผ้าไหม    เป็นภูมิปัญญาที่ถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือในประเทศไทยยังมีความต้องการของตลาดน้อย  ทำให้ผู้ผลิตระดับชุมชนลดกำลังผลิตลง เพราะขาดแรงจูงใจในการผลิต  ต้องฝึกฝน   ผู้ทอให้เกิดความชำนาญและความรวดเร็วขึ้น เพื่อความเป็นเอกลักษณ์ ที่โดดเด่นและเป็นจุดขายให้กับผลิตภัณฑ์ซึ่งยังไม่มีการส่งเสริมอย่างเป็นระบบ  คุณค่าของการนำวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในงานศิลปะพื้นบ้าน   นอกจากสร้างเอกลักษณ์และความต่างให้กับผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเป็นการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชาวบ้านในชุมชนด้วยมูลค่าเพิ่มจากงานฝีมือซึ่งถือเป็นรายได้เสริมระหว่างรอฤดูกาลเก็บเกี่ยว

ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาผ้าไหมโดยวิธีวิจัยครั้งนี้ได้มีการพัฒนาผ้าไหม ซึ่งได้ผ่ากระบวนการเคลือบ    BAYPRETNano-PU ทดสอบความคงทนของเนื้อผ้าที่ผ่านการเคลือบ  BAYPRETNano-PU บนผ้าไหมต่อการซักเสื้อผ้าจากผ้าไหมที่ผ่านการเคลือบ

ไฟล์แนบ

doc ผลการวิจัย

ขนาดไฟล์ 2 MB | จำนวนดาวน์โหลด 223 ครั้ง

ความคิดเห็น