ผู้วิจัย
สมหมาย ปะติตังโข และกิ่งแก้ว ปะติตังโข
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางเคมีเชิงฟิสิกส์และฤทธิ์ทางชีวภาพของอนุภาคนาโนคอปเปอร์โดยมีอนุพันธ์ของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเป็นตัวรีดิวซ์ต้านเชื้อรา (Penicillium sp. และ Aspergillus sp.) ของกระบวนการผลิตยางแผ่น และต้านอนุมูลอิสระ ผลการศึกษาพบว่า อนุภาคนาโนมีรูปร่างแบบเข็ม และมีขนาดอนุภาคอยู่ระหว่าง 35-81 นาโนเมตร อนุภาคทั้ง 8 ชนิด สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีด้วยค่า IC50 ที่ต่ำ ได้แก่ อนุภาค SRA-Sal และ KU-INH-Cu ส่วนอนุภาคที่ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี FRAP ได้ดีที่สุดคือ KU-Sal ผลการต้านเชื้อราก่อโรคของยางแผ่น พบว่า อนุภาคทั้งหมดสามารถต้านเชื้อราก่อโรคของยางแผ่นทั้ง Penicillium sp. และ Aspergillus sp. บนจานเพาะเชื้อได้ และเมื่อนำอนุภาคทั้งหมดนี้ไปทดสอบกับเชื้อราทั้งสองนี้ที่เจริญเติบโตอยู่บนยางแผ่น พบว่า ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อราเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ส่วนสมบัติเชิงกล พบว่า เมื่อเติมอนุภาคคอปเปอร์นาโนในยางแผ่น ยางแผ่นทนทานต่อแรงดึงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอนุภาคนาโนที่มีตัวรีดิวซ์เป็นไซลิงกอลดีไฮด์ซาลิไซลิกไฮดราโซน (SRA-Sal-Cu) มีค่าเฉลี่ยที่ 7.00 กิโลกรัม ดังนั้นการเติมอนุภาคนาโน คอปเปอร์ลงในกระบวนการผลิตยางแผ่นนอกจากจะป้องกันกำจัดเชื้อราแล้วยังเพิ่มสมบัติเชิงกลของยางให้สูงขึ้นด้วย
ความคิดเห็น