ผู้วิจัย

สุธีรา สุนทรารักษ์

บทคัดย่อ

การทดลองใช้ปุ๋ยหมักกากหม้อกรองเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการใช้เป็นวัสดุปลูกดาวเรืองเป็นไม้กระถาง ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ทำ 3 ซ้ำ (replication) มี 5 ทรีตเม้นต์ (treatment) รวมหน่วยการทดลองทั้งสิ้น 15 หน่วย พบว่า ทรีตเม้นต์ที่ 4 ที่ประกอบด้วยปุ๋ยหมักกากหม้อกรอง : วัสดุปลูกทรีตเม้นต์มาตรฐาน อัตราส่วน 5 : 5 มีผลการตอบสนองของดาวเรืองสูงที่สุด กล่าวคือ มีความสูงต้นและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเท่ากับ 38.90 และ 1.01 เซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนค่าขนาดดอกหลักกว้าง 7.40 เซนติเมตร โดยมีค่าอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับทรีตเม้นต์ควบคุม (T1) ซึ่งเป็นทรีตเม้นต์ที่ดีที่สุด ในขณะที่ใช้ปุ๋ยหมักจากกากหม้อกรองอย่างเดียว (T2) เป็นวัสดุปลูกนั้น มีค่าดัชนีดังกล่าวข้างต้นน้อยที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ มีความสูงต้นและมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นกว้างเฉลี่ยเพียง 30.50 และ 0.92 เซนติเมตรตามลำดับ ส่วนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกหลักเท่ากับ 4.40 เซนติเมตร กล่าวได้ว่า การใช้ปุ๋ยหมักกากหม้อกรองเพียงอย่างเดียวสำหรับเป็นวัสดุปลูกดาวเรืองเพื่อใช้เป็นไม้กระถางนั้นไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยตรงแต่จำเป็นต้องใช้วัสดุปลูกทรีตเม้นต์มาตรฐาน (ประกอบด้วย แกลบดิบ : ถ่านแกลบ : ขุยมะพร้าว : ดินสีดา อัตราส่วน 2 : 1 : 2 : 1) ดังนั้น ถ้าต้องการใช้ปุ๋ยหมักกากหม้อกรองเป็นวัสดุปลูกดาวเรืองเพื่อเป็นไม้กระถางควรใช้ในอัตราส่วนผสมระหว่างปุ๋ยหมักกากหม้อกรอง : วัสดุปลูกทรีตเม้นต์มาตรฐาน เป็น 5 : 5 โดยพิจารณาได้จากขนาดลำต้นและขนาดดอกหลักของดาวเรืองซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เทียบเท่ากับการปลูกดาวเรืองด้วยทรีตเม้นต์มาตรฐาน

บรรณานุกรม

[1] กนกวรรณ แก้วระคน. 2541. ผลของสาร Trinexapac – ethyl ต่อการเจริญเติบโตของดาวเรืองพันธุ์ Yellow Galore ที่ปลูกเป็นไม้กระถาง. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [2] กรมส่งเสริมการเกษตร. ม.ป.ป. ดาวเรือง. กรมส่งเสริมการเกษตร. แหล่งที่มา : http://www.doae.go.th/library/html/detail/dawrueng.html, 14 มีนาคม 2547. [3] กองบรรณาธิการฐานเกษตรกรรม. 2531. สวนไม้ดอก. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม, นนทบุรี. [4] เจริญ ชาญวิศณุรักษ์. 2541. การดูแลไม้กระถาง, น. 1-12. ใน เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกกระถาง วันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ 2541. สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ. [5] วิชิต สุวรรณปรีชา. 2531. การปลูกไม้ตัดดอก. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อักษรบัณฑิต, กรุงเทพฯ. [6] สุธีรา สุนทรารักษ์. 2550. การวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลักในปุ๋ยหมักกากตะกอนอ้อย (Filter Press Cake) เพื่อใช้เป็นแหล่งปุ๋ยชีวภาพ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ : บทคัดย่อ [7] สมเพียร เกษมทรัพย์. 2526. ไม้ดอกกระถาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. [8] สมเพียร เกษมทรัพย์. 2541.การปลูกดาวเรือง. ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. แหล่งที่มา: http://web.ku.ac.th/agri/star/p18_1.htm,14 มีนาคม 2547. [9] สมพงษ์ สัญญาวิรักษ์. 2530 . อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ในระหว่างปี พ.ศ. 2543-2506 กรุงเทพฯ วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [10] Alexander, M. 1977. Introduction to Soil Microbiology. John Wiley & Sons Inc., New York. [11] Brady, N.C. and R.R. Weil. 2002. The Nature and Properties of Soil. 13th ed. Prentice-Hall, Upper Saddle River, New Jersey. [12] Mengel, K. and E.A. Kirkby. 2001. Principles of Plant Nutrition. 5th ed. Kluwer Academic,Dordrecht.

หน่วยงานการอ้างอิง

-

ไฟล์แนบ

pdf หลักฐาน 2.2.1

ขนาดไฟล์ 245 KB | จำนวนดาวน์โหลด 340 ครั้ง

ความคิดเห็น