บทคัดย่อ

กลอนมิได้มีไว้เพื่อดู แต่มีไว้เพื่ออ่าน เพื่อสดับเสียงของกลอน คำว่า “เสียงของกลอน” นี้ มิได้หมายถึงเสียงอันเกิดจากการขับทำนองอย่างกลอนคำร้องจำพวกกลอนบทละคร กลอนเสภา กลอนสักวา หากแต่หมายถึงเสียงของคำที่ถูก “กรอง” และ “ร้อย” ลงในตำแหน่งแห่งที่ต่าง ๆ ในบทประพันธ์ คำกลอนมีเสียง มีทำนองในตัวเอง “เสียง” ที่ว่านี้ คือเสียงหนัก-เสียงเบา เสียงก้อง-ไม่ก้อง มีลม-ไม่มีลม เสียงสูง-เสียงต่ำ ฯลฯ อันเกิดจากเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ประกอบกัน บทความนี้ จะอธิบายเรื่องเสียงทั้งสามเสียงนี้ซึ่งเป็นเสียงสำคัญในภาษาไทย และเป็นเสียงที่สำคัญยิ่งในการแต่งคำประพันธ์ทุกชนิด ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ กลอน...

๖๐ ปีสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
“๖ ทศวรรษสมัยวรรณศิลป์ไทยยั่งยืน”

ความคิดเห็น