ผู้วิจัย

อรนุช ศรีคำ

บทคัดย่อ

การศึกษาสภาพปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการพัฒนากระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นำเสนอสภาพปัญหา และแนวทางในการพัฒนากระบวนการวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูพี่เลี้ยง จำนวน 12 คน เลือกแบบเจาะจง และนักศึกษาครูที่กำลังปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 399 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามสภาพปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาด้านการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จากการสัมภาษณ์ครูพี่เลี้ยง นักศึกษายังขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดทักษะในการทำวิจัยในชั้นเรียนขาดเอกสาร ตำรา แหล่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน และขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการทำวิจัย ปัญหาในการกำหนดหัวข้อวิจัย เนื่องจากการกำหนดหรือเลือกหัวข้อวิจัยในชั้นเรียน ไม่ได้มาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนจริง ปัญหาเรื่องการสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล จากการสอบถามสภาพปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน ปัญหาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือชนิดต่าง ๆ ปัญหาเกี่ยวกับการหาคุณภาพเครื่องมือ ปัญหาเกี่ยวกับการค้นหว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย และปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย สำหรับแนวทางการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา ด้านกระบวนการวิจัย คือ ควรมีการวางแผนการทำวิจัยในชั้นเรียนในภาคการศึกษาแรกของการฝึกสอน เพราะเป็นการเตรียมความพร้อม มีเวลาในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย นักศึกษาควรมีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำวิจัย และกล้าที่จะขอคำแนะนำจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในการทำวิจัย

บรรณานุกรม

กันต์ฤทัย คลังพหล. (2560). การวิจัยเพื่อพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านการวิเคราะห์ ข้อมูลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรม ราชูปถัมภ์. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว, 12(1). จารุนันท์ ขวัญแน่น. (2559). การศึกษาปัญหาการทำวิจัยและแนวทางการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (ฉบับที่ 1) ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74ก หน้า 8-9. วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. (2562). การโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้เรียน. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์. วิเชษฐ์ สิงโต, จุฑามาส สุขแยง. (2560). การศึกษากระบวนการพัฒนาทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียน ของนักศึกษาครู สาขาคณิตศาสตร์ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นฐาน. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ศักดา สวาทะนันทน์. (2551). สมรรถภาพด้านการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (หลักสูตร 5 ปี) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สุวิมล ว่องวาณิช. (2560). การพัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตครู. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Saprano, K. & Yang, L-L. (2013). Inquiring into science teaching through action reseach: A case study on pre-service teacher’s inquiry-based science teaching and self-efficacy. International of Science and Mathematics Education, 11(6), 1351-1368.

หน่วยงานการอ้างอิง

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

doc สภาพปัญหาการวิจัยในชั้นเรียน นศ.ครู

ขนาดไฟล์ 45 KB | จำนวนดาวน์โหลด 193 ครั้ง

ความคิดเห็น