1. ส่วนนำ

ปัจจุบันการสัมผัสกับสัตว์ในสถานที่ที่มีการจัดแสดงสัตว์ (Animal Exhibits) เช่น งานแสดงสินค้าทางการเกษตร (agricultural fairs) หรือฟาร์มเปิดต่างๆ ตลอดจนนิทรรศการสัตว์ (exhibition animal) ซึ่งก็มีชื่อเรียกแตกต่างกับออกไปไม่ว่าจะเป็น Petting zoo หรือ commercial farms เป็นต้น ซึ่งการจัดแสดงสัตว์เหล่านี้มีกิจกรรมให้ผู้ชมสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสตัวสัตว์โดยตรง การกอด การให้อาหารสัตว์ กิจกรรมขี่ม้า การป้อนนมลูกสัตว์ เป็นต้น ซึ่งรูปแบบกิจกรรมที่ใกล้ชิดระหว่างคนและสัตว์เหล่านี้อาจทำให้เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อโรคและการเจ็บป่วยได้ ทั้งยังเป็นปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ของผู้เข้าชม โดยเฉพาะเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสโรคซูโนติค (Zoonotic) หรือ โรคอีโคไล (E. coli)

จากการวิจัยพฤติกรรมของผู้เข้าชมงานนิทรรศการสัตว์ ดังกล่าว พบว่า เด็ก ๆ 10/13 คน และผู้ใหญ่ 9/13 คน จะใช้มือสัมผัสกับสัตว์เมื่อเผชิญหน้ากับสัตว์ในพื้นที่จัดนิทรรศการสัตว์ และพบว่า เด็ก 7/13 คน และผู้ใหญ่ 4/13 คน ให้สัตว์เลียมือของตนเมื่ออยู่ในบริเวณจัดนิทรรศการสัตว์ ทั้งยังพบพฤติกรรมของเด็กและผู้ใหญ่มักจะดื่มน้ำและรับประทานอาหารภายในบริเวณพื้นที่นิทรรศการสัตว์ 5/13 คน[1] ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสาเหตุแห่งการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อโรคและการเจ็บป่วยจากโรคสัตว์สู่คนได้ โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (The Centers for Disease Control and Prevention; CDC) ได้บันทึกการติดเชื่อโรคจากสัตว์สู่คนในบริเวณแสดงนิทรรศการสัตว์ พบว่ามีการระบาดของโรคประมาณ 150 ครั้ง ตั้งแต่ปี 1996-2010[2] ซึ่งพบว่ามีการระบาดของโรคอีโคไล (E. coli 0157;H7) ในงาน North Carolina State Fair ในเดือนตุลาคม 2011 ทำให้มีผู้ป่วยถึง 25 ราย และมีการระบาดของเชื้ออีโคไล (E. coli 0157;H7) ในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2009 ที่ฟาร์ม Godstone Petting Farm ในอังกฤษ ทำให้มีผู้ป่วยถึง 93 ราย[3] และก่อนหน้านี้พบว่ามีการระบาดของโรคซูโนติค (Zoonotic) หรือ โรคอีโคไล (E. coli 0157;H7) ระบาดในโอไฮโอในเดือนสิงหาคม 2000 ในเพนซิลในปี 2000 และ 2001 ในงาน Wyandot County Fair ในรัฐโอไฮโอในเดือนกันยายนปี 2001 ในโอเรก่อน ที่ Lane County Fair ในเดือนกันยายนปี 2001 และที่ North Carolina State Fair ในปี 2004 และงานแสดงสาธารณะขนาดใหญ่ 3 แห่ง และในรัฐฟลอริด้าในปี 2005 ทำให้เด็กป่วยมากกว่า 100 คน และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (hemolytic uremic syndrome: HUS) อีกหลายสิบครั้ง

โดยมีงานวิจัยพบว่าโรคอีโคไล (E. coli 0157;H7) พบใน แกะ 2.8 เปอร์เซ็นต์ พบในแพะ 7 เปอร์เซ็นต์ ในโคเนื้อ 13.8 เปอร์เซ็นต์ โคนม 5.9 เปอร์เซ็นต์ พบในวัว 3.6 เปอร์เซ็นต์ และ พบในสุกร 5.2 เปอร์เซ็นต์[4]  สมาคมสัตวแพทย์สาธารณสุขแห่งชาติ ( The National Association of State Public Health Veterinarians; NASPHV) และให้หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ท้องถิ่น (local) สาธารณสุขของรัฐ (state public health) เกษตรกรรม (agricultural) สิ่งแวดล้อม (environmental) และ สัตว์ป่า (wildlife) กำหนดขอบเขตหรือข้อบังคับของตน เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (disease from human-animal contact in public settings)[5] และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ได้เผยแพร่คำแนะนำในการลดความเสี่ยงที่เชื่อโรคในติดต่อจากงานจัดแสดงนิทรรศการสัตว์ (Animal Exhibits) และฟาร์มเปิด ซึ่งโรคหลายชนิดจะถูกส่งผ่านไปยังคนในสถานที่ดังกล่าว ในเว็บไซต์ของ CDC และใน MMWR ที่ถูกสร้างขึ้นโดยสมาคมสัตวแพทย์สาธารณสุขแห่งชาติของรัฐ (NASPHV)[6] เพื่อลดความเสียงจากโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และเป็นการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ประชาชน

 

  1. กฎหมายสุขภิบาลมือในสถานที่แสดงสัตว์ประเทศสหรัฐอเมริกา

มลรัฐและท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการด้านสุขภาวะที่ดีของประชาชน และเล็งเห็นถึงความสำคัญด้านโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนในบริเวณที่จัดแสดงสัตว์ ซึ่งรูปแบบของการจัดแสดงสัตว์ในแต่ละมลรัฐและท้องถิ่นก็มีตามแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เพื่อส่งเสริจมสุขาภาพที่ดีของประชาชนจึงได้ออกมาตรการทางกฎหมายในหลายรูปแบบสำหรับการป้องกันและลดปัญหาเกี่ยวกับโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนในสถานที่จัดแสดงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางกฎหมายในการกำหนดให้บริเวณที่จัดแสดงสัตว์ต้องมีสถานสุขภิบาลมือที่เพียงพอต่อเด็กละผู้ใหญ่ ตลอนจนมาตรการทางกฎหมายในการกำหนดบริเวณที่ตั้งของสถานที่ทำความสะอาดมือ ทั่งมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายบอกตำแหน่งของสถานที่ทำความสะอาดมือ ป้ายแนะนำการสุขาภิบาลมือและระบุความเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังต่อไปนี้

          2.1 มาตรการทางกฎหมายด้านสถานที่สุขภิบาลมือ

กรณีรัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) มีคณะกรรมการพัฒนาการเกษตรของรัฐ (State Agriculture Development Committee; SADC) ซึ่งเป็นผู้นำในการรักษาพื้นที่การเกษตรของมลรัฐนิวเจอร์ซีย์และส่งเสริมแนวทางใหม่ในการรักษาความเป็นอยู่ของการเกษตร โดยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2014 ได้อนุมัติระเบียบเกี่ยวกับข้อกำหนดแนวทางการจัดการทางการเกษตร (agricultural management practice; AMP) สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกิจกรรมในฟาร์ม โดยกำหนดให้ฟาร์มเชิงพาณิชย์ (commercial farms) ต่างๆ ที่มีกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การแสดงสัตว์ ที่ให้มีการสัมผัสสัตว์ได้โดยตรง และกิจกรรมการขี่ม้า เหล่านี้กฎหมายกำหนดให้ผู้จัดแสดงสัตว์ต้องมีสถานที่สุขภิบาลมือและสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาดมือต้องจัดเตรียมไว้ให้พร้อมใช้ได้ ถ้ามีกิจกรรมที่ผู้เข้าชมอาจมีการสัมผัสสัตว์โดยตรงหรือโดยบังเอิญ โดยสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาดมือนั้น รวมถึง น้ำและสบู่ หรือผ้าเช็ดมือทำความสะอาดเชื้อแบคทีเรีย น้ำยาล้างมือ และสถานที่ล้างมืออื่นๆ โดยผู้เยี่ยมชมควรทำความสะอาดมือของตนเองหลังจากได้สัมผัสกับสัตว์[7] เพื่อป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

ส่วนกฎหมายของนิวยอร์ค (New York) กำหนดให้ผู้ประกอบการ petting zoo คือ สถานประกอบการที่รวบรวมหรือเก็บสัตว์ไว้เพื่อจุดประสงค์ในการดู (viewing) การสัมผัส (touching) การกอด (holding) การลูบคลำ (petting) สำหรับลูกค้าและผู้เข้าชม[8] โดยในสถานประกอบการ petting zoo ทุกแห่ง ต้องมีสถานที่ทำความสะอาดมือให้กับลูกค้าและผู้เข้าชมสัตว์ เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้เข้าชมสามารถทำความสะอาดมือได้เมื่อมีการสัมผัสกับสัตว์ที่จัดแสดง[9] นอกจากนั้นกฎหมายนิวยอร์กยังระบุด้วยว่า สถานประกอบการดังกล่าวนั้นรวมถึง สถานที่งานรื่นเริง (carnivals) งานแสดงสินค้า (fairs) และสวนสนุก (amusement parks) ฟาร์ม (farms) และตลาดของเกษตรกร (farmers’ markets) ที่มีการแสดงสัตว์ที่มีชีวิตไว้ให้ลูกค้า (patrons) สามารถสัมผัส (touching) กอด (holding) หรือ ลูบคลำ (petting) สัตว์ในสถานประกอบการของตน จึงต้องจัดเตรียมสถานที่สุขภิบาลมือ ที่มีอุปกรณ์ล้างมือ (hand washing) หรือทำความสะอาดมือ (hand cleansing facilities) สำหรับลูกค้าดังกล่าว[10] เพื่อลดปัญหาด้านโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

ส่วนกฎหมายรัฐนอร์ทแคโรไลนา (North Carolina) ระบุว่าบริเวณที่มีการจัดนิทรรศการแสดงสัตว์ โดยมีกิจกรรมที่ประชาชนสามารถติดต่อหรือสัมผัสกับสัตว์ได้โดยตรง ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีสถานที่ทำความสะอาดมือ (washing stations) ที่ต้องมีสบู่ (soap) น้ำ (running water) หรือกระดาษชำระ (paper towels) และภาชนะทิ้งขยะ (disposal containers) อยู่ในจากบริเวณที่ผู้ชมสามารถสัมผัสสัตว์ได้[11] นอกจากนี้กฎหมายรัฐนอร์ทแคโรไลนายังระบุเพิ่มเติมว่าสถานที่ทำความสะอาดมือต้องมีความเหมาะสำหรับเด็กเล็กและจะต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับที่จัดนิทรรศการสัตว์ด้วย[12] เพื่อความสะดวกของลูกค้าหรือประชาชนในการทำความสะอาดมือ ตลอดจนรัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) มีการกำหนดมาตรฐานด้านสุขาภิบาล ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (zoonotic disease) ในนิทรรศการสัตว์ โดยกำหนดให้ผู้ดำเนินการ (operator) นิทรรศการสัตว์  ต้องมีหน้าที่ในการส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความเสียงต่อการติดโรคจากสัตว์ในสถานที่แสดงนิทรรศการสัตว์ และกำหนดมาตรการที่จำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงของการติดโรคให้มากที่สุดด้วยการกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องมีสถานที่ทำความสะอาดมือที่มีเพียงพอสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก[13]

กรณีกฎหมายยูทาห์ (Utah) กำหนดว่าสัตว์ปีกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ต้องมีป้ายที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ปีกอย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันความเจ็บป่วยของมนุษย์ และต้องจัดให้มีวัสดุทำความสะอาดมือ[14] ส่วนกฎหมายของวอชิงตัน (Washington) บัญญัติว่าผู้ประกอบการจัดงานแสดงสัตว์ ต้องจัดให้มีสถานที่ล้างมือ หรือวิธีการฆ่าเชื้อด้วยแบบอื่นๆ ที่ได้รับการอนุมัติโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่น[15] และกฎหมายของของวิสคอนซิน (Wisconsin) กำหนดว่าผู้ประกอบการpettings zoos ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งแคมป์ต้องมีสถานที่ล้างมือมือหรือการฆ่าเชื้อโรค ใกล้ทางออกเพื่อกระตุ้นให้โดยประชาชนล้างมือหลังจากการสัมผัสกับสัตว์[16] ในบริเวณตั้งแคมป์ดังกล่าว

2.2 มาตรการทางกฎหมายในการกำหนดบริเวณที่ตั้งของสถานที่ทำความสะอาดมือ (Location of Hand Sanitation Stations)

นอกเหนือจากข้อกำหนดสำหรับสถานที่สุขาภิบาลมือที่อยู่ใกล้กับการจัดแสดงสัตว์ (animal exhibits) แล้วบางรัฐยังมีกฎหมายระบุเพิ่มเติมถึงสถานที่ ที่แน่นอนของสถานที่สุขาภิบาลมือด้วย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายของนิวยอร์ค (New York) ที่กำหนดว่าสถานที่สุขาภิบาลมือของ petting zoos ต้องตั้งหรืออยู่ห้างไม่เกิน 15 ฟุต (3 เมตร) จากทางออกจากบริเวณ petting zoos[17] และต้องมีสถานที่ทำความสะดวกมืออื่นๆ ที่เพียงพอ โดยต้องอยู่ในพื้นที่ 100 ฟุตจากทุกพื้นที่ที่ประชาชนทั่วไปสามารถสัมผัสสัตว์ได้ โดยสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ต้องทำจากวัสดุที่สามารถทำความสะอาดได้ง่ายและเก็บรักษาในสภาพสุขาภิบาลและมีการซ่อมแซมที่ดี[18] หรือกฎหมายของนอร์ทแคโรไลนา (North Carolina) ระบุว่าสถานที่สุขาภิบาลมือต้องตั้งอยู่ภายใน 10 ฟุตจากทางออกของการติดต่อสัมผัสสัตว์ (animal contact exhibit) ที่ใดก็ตามที่เป็นไปได้[19] ส่วนกฎหมายของเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) ระบุว่าสถานที่ทำความสะอาดมือควรจะต้องอยู่ในทำเลที่สะดวกในการทำความสะอาดมือและต้องเป็นบริเวณพื้นที่จัดแสดงสัตว์[20] เพื่อให้ประชาชนและผู้เข้าชมการแสดงนิทรรศการสัตว์สามารถเข้าถึงการทำความสะอาดมือให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นลดความเสี่ยงจากการติดโรคจากสัตว์สู่คน และกฎหมายของวอชิงตัน (Washington) สถานที่สุขาภิบาลมือต้องตั้งอยู่ใกล้ทางออก เพื่อกระตุ้นให้ล้างมือโดยลูกค้า (patrons) หลังจากสัมผัสกับสัตว์ (handling animals)[21]

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่านอกจากมาตรการทางกฎหมายที่กำหนดภาระหน้าที่ของผู้ประกอบการแสดงสัตว์ต้องมีสถานที่ทำความสะอาดมือแล้ว กฎหมายบางมลรัฐยังกำหนดรายละเอียดของสถานที่สุขภิบาลมือ ด้วยการกำหนดบริเวณที่ตั้งของสถานที่สุขภิบาลมือ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้เข้าชมงานสามารถเห็นได้โดยง่าย และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำความสะอาดมือหลังจากสัมผัสกับสัตว์หรือหลังจากออกจากบริเวณพื้นที่แสดงสัตว์

2.3 มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายบอกตำแหน่งของสถานที่ทำความสะอาดมือ (Signs Indicating Location of Hand Sanitation Stations)

นอกจากกฎหมายที่กำหนดถึงบริเวณที่ตั้งของสถานที่สุขภิบาลมือแล้ว บางรัฐยังมีกฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการจัดแสดงสัตว์ (animal exhibit operators) ต้องมีเครื่องหมายหรือสัญญาณบอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สุขาภิบาลมือด้วย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายของนิวยอร์ค (New York) ซึ่งกำหนดให้ petting zoos ต้องมีสัญญาณบอกตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาดมือที่เพียงพอเพื่อให้ลูกค้าและผู้เข้าชมเห็น[22] หรือกฎหมายรัฐนอร์ทแคโรไลนา (North Carolina) ระบุว่า ผู้ประกอบการแสดงสัตว์ถ้ามีการจัดให้มีการสัมผัสกับสัตว์ (animal contact exhibit) ในบริเวณพื้นที่แสดงจะต้องจัดให้มีป้ายที่มองเห็นได้บริเวณทางเข้าและทางออกของการจัดแสดงสัตว์ เพื่อให้ประชาชนทราบถึงตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สุขภิบาลมือ[23]  ส่วนกฎหมายเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการจัดแสดงสัตว์ (animal exhibit operators) ต้องมีป้ายบอกตำแหน่งของสถานที่ทำความสะอาดมือ และป้ายรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้เข้าชมทำความสะอาดมือหลังจากสัมผัสสัตว์และก่อนรับประทานอาหาร[24] เพื่อป้องกันโรคติดต่อต่างๆจากสัตว์สู่คน

เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสถานที่สุขภาลมือได้อย่างสะดวกเพิ่มมากขึ้น จึงเห็นได้ว่าภาครัฐได้กำหนดภาระหน้าที่เพิ่มเติมให้ผู้ประกอบการด้วยการต้องมีป้ายหรือสัญลักษณ์บอกถึงที่ตั้งของสถานที่สุขภิบาลมือ

2.4 มาตรการทางกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ประกอบการแสดงสัตว์ต้องป้ายรณรงค์ให้คำแนะนำการสุขาภิบาลมือหรือระบุความเสี่ยงด้านสุขภาพ

กฎหมายของรัฐบางแห่งยังกำหนดให้ผู้จัดแสดงสัตว์ (animal exhibit operators) ต้องมีป้ายรณรงค์แนะนำให้ผู้เข้าชม (visitors) ใช้สถานที่สุขาภิบาลมือหลังจากสัมผัสสัตว์หรือระบุความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสัตว์ด้วย เช่น กฎหมายของรัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) กำหนดให้ฟาร์มเชิงพาณิชย์ (commercial farms) ที่มีกิจกรรมสันทนาการภายในฟาร์ม เช่น การแสดงสัตว์ทางการเกษตร (agricultural animal displays) หรือมีการจัดบริเวณให้สัมผัสสัตว์ได้ (petting areas) และการขี่ม้า (pony rides) ต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาดมือสำหรับผู้เข้าชม (visitors) และรณรงค์ให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าชมว่าควรทำความสะอาดมือหลังการสัมผัสกับสัตว์ดังกล่าว[25]  หรือกฎหมายนิวยอร์ค (New York) กำหนดให้ทุกทางออกของพื้นที่ petting zoo ต้องมีป้ายเตือนที่มีตัวอักษรชัดเจนและอ่านง่ายว่าสัตว์ที่ petting zoos อาจมีเชื้อโรคและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้ ขอแนะนำให้ทุกคนล้างมือหลังออกจากบริเวณ petting zoo โดยมีขอความ เช่น “Animals at petting zoos may carry germs and bacteria that cause disease. It is strongly recommended that persons wash their hands upon exiting the petting zoo area.”[26]

ส่วนในนอร์ทแคโรไลนา (North Carolina) การจัดแสดงการติดต่อกับสัตว์ (animal contact exhibit) ต้องมีป้ายที่มองเห็นได้ ตรงทางเข้าและทางออกจากบริเวณที่จัดแสดงเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับ 1) การสัมผัสสัตว์อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ 2) รายการสิ่งของที่ต้องห้ามเอาเข้าไปในบริเวณที่มีสัตว์ และ 3) ลักษณะของบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่าหกขวบ สตรีที่ตั้งครรภ์ และคนที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว[27] ตลอดจนกฎหมายมลรัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) ผู้ดำเนินการจัดแสดงสัตว์ (animal exhibit operators) ต้องโพสต์ประกาศที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้ทำความสะอาดมือหลังจากสัมผัสสัตว์[28] และต้องมีป้ายประกาศข้อความเตือนเกี่ยวกับโอกาสติดเชื้อโรคจากสัตว์ในงานแสดงนิทรรศการสัตว์[29]

ส่วนกฎหมายยูทาห์ (Utah) สัตว์ปีกตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะชนเข้าถึงได้ ต้องมีป้ายที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ปีกที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันความเจ็บป่วยของมนุษย์ และต้องมีอุปกรณ์ทำความสะอาดมือไว้ให้[30] ส่วนผู้ดำเนินการจัดแสดงสัตว์ (Animal exhibit operators) ในกรุงวอชิงตัน (Washington) ต้องมีป้ายประกาศที่มีรูแบบที่โดดเด่นและเข้าใจง่าย สำหรับผู้เข้าชมเห็นก่อนที่พวกเขาจะเข้าสู่บริเวณจัดแสดงสัตว์ซึ่งจะมีคำเตือนดังต่อไปนี้ 1) สัตว์สามารถนำเชื้อโรคที่ทำให้คนป่วยได้ ถึงแม้ว่าสัตว์จะมีสุขภาพที่ดี 2) การรับประทานอาหาร เครืองดื่ม หรือสิ่งต่างๆ ในบริเวณพื้นที่ที่มีสัตว์ อาจทำให้เกิดความเจ็บป่วย 3) ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเด็กเล็ก ๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะป่วยจากการสัมผัสสัตว์มากกว่าบุคคลอื่น 4) เด็กและบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ควรได้รับการดูแลในพื้นที่จัดแสดงสัตว์ และ 5) ไม่แนะนำให้ใช้รถเข็นเด็ก ขวดนมเด็ก และของเล่นสำหรับเด็ก ในพื้นที่จัดแสด[31] ทั้งผู้ประกอบการจัดแสดงสัตว์ (Animal exhibit operators) จะต้องมีป้ายประกาศแนะนำในแต่ละทางออกของบริเวณจัดแสดงสัตว์เพื่อเตือนให้ผู้เข้าชมล้างมือ[32] หลักจากสัมผัสกับสัตว์  ส่วนในวิสคอนซิน (Wisconsin) กฎหมายของรัฐกำหนดให้ที่ตั้งของสถานที่สุขภิบาลมือใน petting zoo ต้องมีป้ายแนะนำให้ผู้เข้าชมหรือประชาชนทำความสะอาดมือ ด้วยข้อความว่าเพื่อสุขภาพของเรา “’For the health of our guests” ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ทำการล้างมือหรือการฆ่าเชื้อโรคที่มือ (hand sanitizing) สำหรับทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ petting zoo[33]

จากมาตรการทางกฎหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการมีป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทำความสะอาดมือหลังจากผัสกับสัตว์หรือเข้าไปในบริเวณพื้นที่แสดงสัตว์ และเตือนให้ประชาชนทราบถึงอัตรายจากการสัมผัสกับสัตว์หรือการรับประทานอาหารในบรเวณพื้นที่แสดงสัตว์อาจทำให้ได้รับความเจ็บป่วยได้ นั้นเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อมากขึ้นและสามารถช่วยลดปัญหาการระของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนและปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆของประชาชนได้ด้วย แต่อย่างไรก็ตามการรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์จากองค์กรภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้นมลรัฐต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้ออกมาเป็นกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ให้ผู้ประกอบการแสดงสัตว์มีหน้าที่ในการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ด้วย

2.5 บทลงโทษ (Penalties)

นอกจากมลรัฐต่างๆ จะได้มีกฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการแสดงสัตว์ต้องสถานที่สุขภิบาลมือแล้ว ยังมีมาตรการลงโทษสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือกฎหมายที่บัญญัติไว้ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายของรัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) ที่กำหนดว่าฟาร์มเชิงพาณิชย์ (commercial farms) หากไม่จัดให้มีสถานที่สุขภิบาลมืออาจสูญเสียการคุ้มครองจากกฎหมายสิทธิในการทำฟาร์ม (Right to Farm Act)  ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติในการจัดการด้านการเกษตรที่กำหนดมาตรฐานสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวก (สถานที่สุขภิบาลมือ) สำหรับกิจกรรมและเหตุการณ์ที่ฟาร์มเชิงพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิในการทำฟาร์ม (N.J.S.A, 4: 1C – 1)[34] ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนและปกป้องการดำเนินงานด้านการตลาดทางตรงในฟาร์มด้วยการระบุแนวทางปฏิบัติด้านการจัดการทางการเกษตรที่ปลอดภัยมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสำหรับฟาร์มเชิงพาณิชย์ที่แสวงหาการคุ้มครองตามกฎหมาย[35]

ส่วนกฎหมายของนิวยอร์ค (New York)  ระบุว่าผู้ประกอบการ petting zoo รายใดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมาตรานี้ที่กำหนดให้ผู้จัดแสดงสัตว์ต้องมีสถานที่สุขภิบาลมือหรือสถานที่ทำความสะอาดมือในแบบต่างๆ และป้ายบอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สุขภิบาลมือที่ถูกต้อง หากผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษทางแพ่ง คือ ลงโทษปรับไม่เกิน 500 เหรียญ[36] ทั้งกฎหมายของนิวยอร์คยังระบุด้วยว่าการขอใบอนุญาตประกอบการ ในการดำเนินงานด้านการเกษตรสามารถปฏิเสธหรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ ซึ่งรวมถึงข้อกำหนดให้มีสถานที่สุขาภิบาลมือในส่วนที่เป็นพื้นที่มีการสัมผัสกับสัตว์ ที่ตั้งอยู่ภายในงานแสดงสินค้าทางการเกษตร[37] นอกจากนี้กฎหมายใหม่ของนิวยอร์คยังอนุญาตให้มีค่าปรับสำหรับการละเมิด[38] แต่ละครั้ง

ภายใต้กฎหมายนอร์ทแคโรไลนา (North Carolina) กำหนดให้รัฐสามารถปฏิเสธการขอใบอนุญาหรือ ระงับ เพิกถอนใบอนุญาตดำเนินงานแสดงนิทรรศการสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการกำหนดโทษปรับทางแพ่งได้ไม่เกิน 5,000 เหรียญต่อบุคคลใดก็ตามที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรานี้หรือกฎที่ใช้ตามมาตรานี้ ส่วนการกำหนดจำนวนเงินค่าปรับนั้นกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจพิจารณาจากระดับและขอบเขตของอันตรายที่เกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมายนั้น[39] สำหรับบุคคลใดก็ตามที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายมาตรา GS 106-520.1 ถึง GS 106-520.6 ถือว่ามีโทษทางอาญาในระดับที่หนึ่ง[40]  ส่วนกฎหมายมลรัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) กำหนดว่าหากผู้ประกอบการแสดงนิทรรศการสัตว์ไม่จัดให้มีสถานที่สุขภิบาลมือที่มีเพียงพอ หรือไม่มีป้ายติดบอกตำแหน่งของสถานที่สุขภิบาลมือหลังสัมผัสกับสัตว์ในบริเวณนิทรรศการสัตว์ มีโทษรับได้ถึง 500 เหรียญ สำหรับการละเมิดแต่ละครั้ง[41] ส่วนกฎหมายยูทาห์ (Utah) กำหนดค่าปรับสำหรับการละเมิดกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลมือ โดยให้กรมวิชาการเกษตรและอาหาร (Department of Agriculture and Food) กำหนดให้ปรับได้ไม่เกิน 5,000 เหรียญต่อการละเมิดแต่ละครั้ง หรือถ้าอ้างถึงการดำเนินคดีทางอาญาบุคคลอาจถูกตัดสินว่ามีความผิดในคลาสบี (class B misdemeanor)  คือ ความผิดลหุโทษ[42]

ภายใต้กฎหมายวอชิงตัน (Washington) บัญญัติว่าผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งหมวดนี้หรือตามกฎหมายใด ๆ ที่คณะกรรมการเห็นสมควรจะถือว่ามีความผิดในความผิดทางอาญา มีโทษตามที่บัญญัติไว้ภายใต้ RCW 43.20.050[43] ส่วนใน วิสคอนซิน ผู้ประกอบการที่ตั้งแคมป์ (campground operators) อาจถูกระงับความเสียงที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ หากได้ละเมิดข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลของมือ[44] นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายใดที่ฝ่าฝืนส่วนนี้หรือกฎใด ๆ ของกรมภายใต้ส่วนนี้จะต้องมีการปรับไม่น้อยกว่า 25 เหรียญ หรือมากกว่า 250 เหรียญ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของกรมจะริบเงิน 10 เหรียญต่อวัน ของการไม่ปฏิบัติตามหลังจากสั่งการหรือออกคำสั่ง[45]

  ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าโทษสำหรับการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยสุขภิบาลมือนั้น แต่ละมลรัฐจะมีมาตรการลงโทษที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นโทษทางแพ่ง คือมีการกำหนดค่าปรับสำหรับความผิดแต่ละครั้ง และยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการพิจารณาไม่ให้ใบอนุญาตประกอบการแสดงสัตว์ หรือสามารถระงับ เพิกถอนใบอนุญาตได้หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภายหลังจากได้รับใบอนุญาตแล้วนั้น ส่วนบางรัฐมีการกำหนดโทษทางอาญาเพื่อให้ผู้ประกอบการแสดงสัตว์ในแบบต่างๆ เกรงกลัวและปฏิบัติตามกฎหมาย จากกฎหมายต่างๆดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นถึงภาครัฐได้ให้ความสำคัญด้านสุขภาพของประชาชนในบริเวณที่แสดงสัตว์ จึงได้มีมาตรการทางกฎหมายออกมาบังคับผู้ประกอบการต่างๆ มีสถานที่สุขภิบาลมือและมีความรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันและลดปัญหาด้านโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนในบริเวณแสดงสัตว์

 

  1. ส่วนสรุป

จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายด้านสุขาภิบาลมือในสถานที่แสดงสัตว์ จึงเห็นได้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญในการป้องกันปัญหาโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนในสถานที่แสดงสัตว์ โดยมีภาครัฐเป็นศูนย์กลาง ได้ศึกษาวิจัยถึงปัญหาการระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนจากการสัมผัสสัตว์ที่ถูกนำมาจัดแสดงในแบบต่างๆ และนำไปสู่กระบวนการในการคิดวิเคราะห์เพื่อสร้างและหาแนวทางในการลดความเสียงของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นร่วมมือกันในการออกกฎหมายภายในเพื่อเป็นการควบคุมการโรคระบาดอย่างใกล้ชิด ด้วยการออกกฎหมายให้ผู้ประกอบการแสดงสัตว์มีหน้าที่จัดสถานที่สุขภิบาลมือ คือ สถานที่ทำความสะอาดมือที่มีน้ำ สบู่ กระดาษชำระ ตลอดจนแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ สำหรับทำความสะอาดมือที่เพียงพอสำหรับผู้ใหญ่และเด็กในบริเวณที่แสดงสัตว์ ทั้งต้องมีป้ายบอกตำแหน่งของสถานที่สุขภิบาลมือ และป้ายแนะนำให้ประชาชนทำความสะอาดมือหลังจากสัมผัสกับสัตว์ ตลอดจนระบุถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสัตว์ด้วย หากผู้ประกอบการรายใดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวก็จะมีความผิดและบทลงโทษที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละรัฐ สำหรับประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคติดต่อหลายโรคที่มีมือเป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการรณรงค์ให้ทุกคนหันมาใส่ใจล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง และมุ่งเน้นให้มีการรณรงค์ล้างมือในที่สาธารณะ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน วัด หน่วยงานราชการ ศูนย์การค้า ศูนย์อาหาร ตลาดสด ฯลฯ เพื่อเป็นการกระตุ้น ส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ หันมาสนใจจัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับล้างมือให้กับประชาชนทั่วไป เช่น อ่างล้างมือ สบู่ล้างมือ เป็นต้น  แต่การรณรงค์หรือนโยบายดังกล่าวยังไม่เพียงพอในการป้องกันโรคติดต่อโดยเฉพาะสถานที่ที่มีการนำสัตว์มาแสดง และยังขาดกฎหมายออกมาบังคับเกี่ยวกับการล้างมือหรือต้องจัดสถานที่ล้างมือในกรณีที่มีการสัมผัสกับสัตว์ที่นำมาแสดงดังเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนั้นหากประเทศไทยมีมาตรการกฎหมายด้านสุขภิบาลมือที่ชัดเจนจะช่วยลดปัญหาโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนและเป็นการส่งสุขภาพที่ดีแก่ประชาชน

 

  1. 4. บรรณานุกรม

[1] Erdozain, G., KuKanich, K., Chapman, B., & Powell, D. (2013). Observation of public health risk behaviors, risk communication and hand hygiene at Kansas and Missouri petting zoos – 2010-2011. Retrieved December 27, 2017 from http://krex.k-state.edu/dspace/bitstream/handle/2097/15881/PowellZoonosesPubHealth2013.pdf;sequence=1

[2] Centers of Disease Control and Prevention; CDC. Compendium of measures to prevent disease associated with animals in public settings, 2011. MMWR 2011;60(No. 4): [1-24]. Retrieved December 28, 2017 from http://krex.k-state.edu/dspace/bitstream/handle/2097/15881/PowellZoonosesPubHealth2013.pdf;sequence=1

[3] Griffin, G. (2010) Review of the major outbreak of E. coli O157:H7 in Surrey, 2009. Report of the independent investigation committee June 2010. Retrieved December 28, 2017 from https://www.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/342361/Review_of_major_outbreak_of_e_coli_o157_in_surrey_2009.pdf

[4] James E. Keen, Thomas E. Wittum, John R. Dunn, James L. Bono, and Lisa M. Durso, Shiga-toxigenic Escherichia coli O157 in Agricultural Fair Livestock United States. EMERGING INFECTIOUS DISEASES; MAY 2006; 12; 5; p780-p786.  Retrieved December 28, 2017 From https://wwwnc.cdc.gov/eid/article/12/5/05-0984_article

[5] Centers for Disease Control and Prevention; CDC.  (2016).  Menu of state Hand Sanitation Laws for Animal Contact Exhibits. Office for State, Tribal, Local and Territorial Support. Retrieved April 19, 2017 From https://www.cdc.gov/phlp/docs/menu-animalsanition.pdf

[6] Babcock, David W. (2006). Legal Implicatons of Zoonotic-Disease Outbreaks at Petting Zoo and Animal Exhibits.  Journal of Environmental Health. Nov2006, Vol. 69 Issue 4, p46-47. 2p. Retrieved April 17, 2017, From http://eds.a.ebscohost.com/ehost/detail/detail?vid=6&sid=a94df96d-580f-4352-a1c9-2bd421535e56%40sessionmgr4009&hid=4103&bdata=JnNpdGU9ZWhvc3QtbGl2ZSZzY29wZT1zaXRl#AN=22885216&db=iih

[7] New Jersey code, section 2:76-2A.13(m)(5)(iv) “Hand-sanitizing facilities shall be provided and readily available if an activity is offered in which visitors may have incidental or direct contact with agricultural animals. Hand-sanitizing facilities include running water with soap, antibacterial hand wipes, waterless hand sanitizers, and/or other hand-washing stations. Visitors shall be advised to sanitize their hands after contact with agricultural animals.”

[8] New York Laws, General Business Law – GBS, Section 399-ff. Petting zoos 1 (a) “petting zoo ” shall mean a place where a collection of animals are kept for the express purpose of viewing, touching, holding and petting by patrons and visitors to the establishment.”

[9] New York Laws, General Business Law – GBS, Section 399-ff. Petting zoos 2 “All petting zoo operators shall provide and maintain at least one clearly designated hand washing facility for patrons and visitors to the establishment to wash or cleanse their hands upon exiting such petting zoo area.”

[10] New York Codes, Public Health Law – PBH Section 1311(1) “All public establishments including, but not limited to, carnivals, fairs and amusement parks, as such terms are defined in section eight hundred seventy-c of the labor law , farms, and farmers’ markets, as such term is defined in section two hundred sixty of the agriculture and markets law, which feature displays of live animals that patrons may reasonably be expected to come into physical contact with for the purpose of touching, holding or petting shall provide hand washing or hand cleansing facilities for such patrons. Hand washing or hand cleansing facilities may be temporary or permanent fixtures and shall include one or more of the following: soap and running water; anti-bacterial fluids, foams or gels; or anti-bacterial or antiseptic wipes or towels.”

[11] North Carolina Administrative Rule, Section .0500, 02 NCAC 52K .0501 HAND-WASHING STATIONS (a) “Hand-washing stations with soap, running water, paper towels and disposal containers shall be …of the exit of an animal contact exhibit, wherever feasible.”

[12] North Carolina Administrative Rule, Section .0500, 02 NCAC 52K .0501 HAND-WASHING STATIONS (b) “Hand-washing stations suitable for small children shall be available in the same area as the stations in Paragraph (a) of this Rule. (c) Signage shall be provided to direct patrons to hand-washing stations. (d) In order to promote hand-washing with soap and water, dispensers for waterless hand sanitizing lotions, gels or hand wipes shall not be provided in the transition or exhibit area. Such dispensers may be placed at the entrance of milking booths to reduce the potential for introduction of disease to the exhibit animals.”

[13] Pennsylvania Code, Title 3 – AGRICULTURE, Chapter 25 – Animal Exhibition Sanitation Section 2502(a)(2) “An adequate hand-cleansing facility for adults and children”

[14] Utah Administrative Code, Rule R58-6-5. (10) “If poultry are housed in a public area, there must be signage that provides information on handling poultry safely to prevent human illness and hand cleaning materials must be provided.”

[15] Washington Administrative Code (WAC), Title 246, Chapter 246-100, Section 246-100-192 (3) Animal venue operators shall: (a) “Provide an accessible hand-washing station or alternative hand sanitizing method approved by the local health officer”

[16] Wisconsin Administrative Code, Chapter ATCP 79 .18   Petting zoos. (1) “If the campground includes a petting zoo, the operator shall provide a hand washing or a hand sanitizing station near the exit to encourage hand washing by patrons after handling animals.”

[17] New York Laws, General Business Law – GBS, Section 399-ff. Petting zoos 2 “Such hand washing or hand cleansing facility shall be maintained at or within no more than fifty feet of the exit from such petting zoo area.”

[18] New York Codes, Rules and Regulations, Title 10, Section 7-5.14(a)(2) “adequate handwash facilities shall be located at any petting zoo and within 100 feet of all areas where the general public is allowed to come in contact with animals. These facilities shall be constructed of easily cleanable materials.”

[19] North Carolina Administrative Rule, Section .0500, 02 NCAC 52K .0501 HAND-WASHING STATIONS (a) “Hand-washing stations … shall be located within 10 feet of the exit of an animal contact exhibit, wherever feasible.”

[20] Pennsylvania Code, Title 3 – AGRICULTURE, Chapter 25 – Animal Exhibition Sanitation Section 2502(a)(2) “conveniently located on the animal exhibition grounds”

[21] Washington Administrative Code (WAC), Title 246, Chapter 246-100, Section 246-100-192 (3)(c) “Post a prominent sign at each exit of the animal exhibit area reminding visitors to wash their hands.”

[22] New York Codes, Rules and Regulations, Title 10, Section 7-5.14(a)(2) “…maintained in a sanitary condition and in good repair and adequate signs shall be conspicuously posted indicating the location of handwash facilities.”

[23] North Carolina Administrative Code, 02 NCAC 52K .0301(4) “the location of hand-washing stations.”

[24] Pennsylvania Code, Title 3 – AGRICULTURE, Chapter 25 – Animal Exhibition Sanitation Section 2502(a)(2) “The operator shall post appropriate notices which designate the location of the hand-cleansing facility required by this paragraph and encourage the cleansing of hands after touching animals, using the restroom and before eating.”

[25] New Jersey code, section 2:76-2A.13(m)(5)(iv) Note that the provision does not specifically mention signs.

[26] New York Laws, General Business Law – GBS, Section 399-ff. Petting zoos (3). See also , New York Codes, Public Health Law – PBH Section 1311 Hand washing facilities at certain public establishments featuring animals. (2) Signs shall be conspicuously posted and shall state in a clear and legible typeface, the following:  “Animals may carry germs and bacteria that can cause disease to people.  It is strongly recommended that persons wash or cleanse their hands after touching, holding or petting the animals.”  Such signs shall also indicate where the hand washing or hand cleansing facility is located.

[27] North Carolina Administrative Code, 02 NCAC 52K .0301(1)-(3) “An animal contact exhibit shall provide visible signage at the entrance and exit of the exhibit to educate the public regarding: (1) the fact that animal contact may pose a health risk; (2) items that are prohibited in animal areas; (3) the identity of high risk populations, including: (a) the elderly; (b) children under the age of six; (c) women who are pregnant; (d) people with an existing health condition;”

[28] Pennsylvania Code, Title 3 – AGRICULTURE, Chapter 25 – Animal Exhibition Sanitation Section 2502(a)(2)“An adequate hand-cleansing facility for adults and         children shall be conveniently located on the animal exhibition grounds. The operator shall post appropriate notices which designate the location of the hand-cleansing facility required by this paragraph and encourage the cleansing of hands after touching animals, using the restroom and before eating.”

[29] Pennsylvania Code, Title 3 – AGRICULTURE, Chapter 25 – Animal Exhibition Sanitation Section 2502(a)(1) “An operator shall promote public awareness of the risk of contracting a zoonotic disease at the animal exhibition and of the measures necessary to minimize the risk  of contraction by posting appropriate notices at the animal exhibition.”

[30] Utah Administrative Code, Rule R58-6-5(10) “If poultry are housed in a public area, there must be signage that provides information on handling poultry safely to prevent human illness and hand cleaning materials must be provided.”

[31] Washington Administrative Code (WAC), Title 246, Chapter 246-100, Section 246-100-192 (3) (b) Post a prominent sign in a simple and easy to understand format for visitors to see before they enter the animal exhibit area which warns that: (i) Animals can carry germs that can make people sick, even animals that appear healthy; (ii) Eating, drinking, or putting things in a person’s mouth in animal areas could cause illness; (iii) Older adults, pregnant women, immunocompromised people, and young children are more likely to become ill from contact with animals; (iv) Young children and individuals with intellectual disabilities should be supervised in animal exhibit areas; and (v) Strollers, baby bottles, pacifiers, and children’s toys are not recommended in animal exhibit areas.”

[32] Washington Administrative Code (WAC), Title 246, Chapter 246-100, Section 246-100-192(3)(c)“Post a prominent sign at each exit of the animal exhibit area reminding visitors to wash their hands”

[33] Wisconsin Administrative Code, Department of Health Services (DHS) Section178.18(2).

[34] Right to Farm Act, section 4:1C-2(e)“It is the express intention of this act to establish as the policy of this State the protection of commercial farm operations from nuisance action, where recognized methods and techniques of agricultural production are applied, while, at the same time, acknowledging the need to provide a proper balance among the varied and sometimes conflicting interests of all lawful activities in New Jersey.”

[35] New Jersey code, section 2:76- 2A.13 (a) “This section, which is an agricultural management practice, sets forth the standards for on-farm direct marketing facilities, activities, and events that commercial farms must comply with to receive the protections of the Right to Farm Act (Act), N.J.S.A. 4:1C- 1 et seq. This section is designed to support and protect on-farm direct marketing operations by identifying safe, effective, and economically viable agricultural management practices for commercial farms seeking the protections of the Act.”

[36] New York Laws, General Business Law – GBS, Section 399-ff(4).

[37] New York Codes, Rules and Regulations, Title 10, Section 7-5.3(c), (e).

[38] New York Codes, Rules and Regulations, Title 10, Section 7-5.5(a)(2). Per New York Consolidated Laws, Public Health Law – PBH Section 12.

[39] North Carolina General Assembly, Article 45, Section 106-520.3A(f) “Civil Penalty. – In addition to the denial, suspension, or revocation of an operation permit, the Commissioner may assess a civil penalty of not more than five thousand dollars ($5,000) against any person who violates a provision of this section or a rule adopted pursuant to this section. In determining the amount of the penalty, the Commissioner shall consider the degree and extent of harm caused by the violation”

[40] North Carolina General Assembly, Article 45, Section 106-520.7 “Any person who violates any provision of G.S. 106-520.1 through G.S. 106-520.6 is guilty of a Class 1 misdemeanor.”

[41] Pennsylvania Code, Title 3 – AGRICULTURE, Chapter 25 – Animal Exhibition Sanitation Section2504 Penalty. (a)  “Imposition.–The department may assess an administrative penalty of up to $500 for each violation of this chapter or a regulation promulgated under this chapter.”

[42] Utah Administrative Code, Rule R58-19-4(2) “Fine or penalty amounts will be set by the Department or the Division, under the direction of the Commissioner, for amounts up to $5,000 per violation, or if the citation involves a criminal proceeding, the person may be found guilty of a class B misdemeanor.”

[43] Washington Administrative Code (WAC), Title 246, Chapter 246-100, Section 246-100-070 “(2) Any person who shall violate any of the provisions of this chapter or any lawful rule adopted by the board shall be deemed guilty of a misdemeanor punishable as provided under RCW 43.20.050.”

[44] Wisconsin Administrative Code, Department of Health Services (DHS) Section 178.08.

[45] Wisconsin Statutes & Annotations, Section 254.47(3) (3) “Anyone who violates this section or any rule of the department under this section shall be fined not less than $25 nor more than $250. Anyone who fails to comply with an order of the department shall forfeit $10 for each day of noncompliance after the order is served upon or directed to him or her. The department may also, after a hearing under ch. 227, refuse to issue a permit under this section or suspend or revoke a permit under this section for violation of this section or any rule or order the department issues to implement this sect.”

ความคิดเห็น