1. Home
  2. Docs
  3. แบบจำลองความสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model)

แบบจำลองความสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model)

แบบจำลองความสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model)

 

แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข คือข้อมูลที่มีค่าความสูงของภูมิประเทศที่ถูกจัดเก็บไว้เป็นข้อมูลรูปแบบข้อมูลตารางกริดแล้วนำมาจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล โดยแต่ละตารางกริดจะเก็บค่าความสูงทางภูมิประเทศตามระยะความระเอียดที่มี โดยแต่ละแผนที่จะแสดงลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นผิวที่ต่อเนื่อง สามารถแสดงด้วยเส้นชั้นความสูง ซึ่งเสมือนเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ อย่างไรก็ตามเส้นชั้นความสูงไม่เหมาะที่จะใช้ในการวิเคราะห์เชิงเลข หรือทำการวิเคราะห์จึงมีการพัฒนาวิธีการต่าง ๆ ที่จะสามารถแสดงความสูงต่ำของพื้นที่เชิงเลขคือ แบบจำลองความสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model) ซึ่งเป็นแบบจำลองที่มีแต่ข้อมูลระดับสูงเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันมีการพัฒนาแบบจำลองภูมิประเทศเชิงเลขไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบอื่น ๆ ข้อมูลดังกล่าว สามารถนำมาวิเคราะห์ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ ความลาดชันของพื้นที่ การสร้างภาพสามมิติ การหันรับแสง ความสูงต่ำเชิงเงา