1. Home
  2. Docs
  3. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการยุวชนอาสา การสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการพลังงานเซลล์สุริยะ ในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการยุวชนอาสา การสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการพลังงานเซลล์สุริยะ ในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการยุวชนอาสา การสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการพลังงานเซลล์สุริยะ ในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

You are currently viewing a revision titled "รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการยุวชนอาสา การสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการพลังงานเซลล์สุริยะ ในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564", saved on 11 กันยายน 2021 at 21:18 by อุกฤษฎ์ นาจำปา
ชื่อ
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการยุวชนอาสา การสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการพลังงานเซลล์สุริยะ ในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
เนื้อหา
พลังงานทดแทนกับการพัฒนาภาคเกษตรกรรมในอดีตนั้นเรามีการใช้พลังงานทดแทนในภาคเกษตรกรรม เช่น แสงอาทิตย์  พลังงานลม พลังงานน้ำ เป็นต้น ได้มีการใช้พลังงานทดแทนเหล่านี้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติร่วมกับการใช้แรงงานคนและสัตว์ เพื่อผลิตสินค้าภาคเกษตรกรรม เช่น การปลูกข้าว ข้าวโพด  มันสำปะหลัง แต่การผลิตดังกล่าวนั้นเป็นการผลิตเพื่อการยังชีพหรือเพียงพอต่อการดำรงเท่านั้น แต่ในปัจจุบันการผลิตสินค้าภาคเกษตรกรรมต้องตอบสนองต่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ทำให้กระบวนการผลิตต้องมีการเปลี่ยนแปลง มีการนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนและสัตว์ เครื่องจักรดังกล่าวต้องมีการใช้น้ำมันเชื่อเพลิงในการขับเคลื่อนเครื่องจักร ส่งผลให้ลงทุนในการผลิตสินค้าเกษตรมีราคาเพิ่มสูงขึ้นและราคาน้ำมันดังกล่าวยิ่งมีระดับราคาที่ขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสินค้าขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องมีการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในการผลิตสินค้าเกษตร พลังงานทดแทนดังกล่าว อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ การนำพลังงานทดแทนเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาภาคเกษตร
            จากปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ในช่วงหน้าแล้งหลังเก็บเกี่ยว หรือช่วงฝนทิ้งช่วง พบว่าเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกร ต่อเนื่องแทบทุกปี ปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงนาน ที่เกิดขึ้นใน ปี 2562 -  2563   พบว่า พืชที่ปลูกหรือกล้าข้าวที่ลงไว้ตั้งแต่ต้นฤดูฝนแห้งตายเป็นบริเวณกว้าง และจะปลูกซ้ำช่วงฝนรอบสองก็จะไม่ทันเก็บเกี่ยว สภาวะแล้งยังส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อ เนื่องจากปริมาณฝนที่ลดลง ทำให้แหล่งน้ำผิวดินที่กักเก็บตามเขื่อน อ่างเก็บน้ำ มีปริมาณไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรอย่างทั่วถึง ส่งผลต่อผลผลิตที่ลดลงจึงเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ดังนั้น แหล่งน้ำใต้ดินจึงต้องเป็นบทบาทสำคัญในการนำน้ำมาใช้ด้านการเกษตร  เกษตรกรหลายคนที่มีทุนทรัพย์ได้ดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อนำน้ำมาใช้ในการเกษตรถ้าที่นาอยู่ใกล้แหล่งชุมชนที่มีไฟฟ้าเข้าถึงก็จะใช้ระบบสูบน้ำและระบบแสงสว่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดบุรีรัมย์ถ้าแปลงนาหรือที่ดินทางการเกษตรอยู่ห่างไกลชุมชนก็จะใช้ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์ในการสูบน้ำบาดาลซึ่งได้มีการว่าจ้างผู้รับเหมาให้ดำเนินการจัดหาอุปกรณ์และติดตั้งโดยเกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก   และได้สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานจึงต้องการเข้ารับการฝึกอบรม  ในโครงการการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการพลังงานเซลล์สุริยะ ในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์”เพื่อนำไปพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วัตถุประสงค์โครงการ 1.  เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะ ในชุมชนท้องถิ่น 2.  สร้างต้นแบบชุมชนอนุรักษ์พลังงาน 3.  เยาวชนนักปฏิบัติการพลังงานเซลล์สุริยะ สามารถสร้างความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า สามารถแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่าง ๆ  อย่างถูกวิธี 4.   ผู้ดำเนินงานโครงการ และ ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ในทางวิชาการ ตลอดจนข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการพลังงานในชุมชน เพื่อการเกษตรจากพลังงานเซลล์สุริยะ
เกริ่นนำ


Old New Date Created Author Actions
11 กันยายน 2021 at 14:18 อุกฤษฎ์ นาจำปา