สมาชิก
สายสนับสนุน
สายวิชาการ
กลุ่ม
กิจกรรมล่าสุด
บทความและงานวิจัย
เกี่ยวกับ
คู่มือการใช้งาน
ทำความรู้จัก BRU Personnel
รายละเอียดรุ่น
บัญชีผู้ใช้
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Search for
Home
Docs
การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ
การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ
การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ
Read
History
You are currently viewing a revision titled "การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ", saved on 8 ตุลาคม 2019 at 23:33 by
สากล พรหมสถิตย์
ชื่อ
การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ
เนื้อหา
รัฐวิสาหกิจคือองค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ เป็นองค์การที่รับผิดชอบบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหารายได้ ต้องสามารถเลี้ยงตัวเองจากการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ที่มีลักษณะเป็นการเป็นการให้บริการสาธารณะและงานสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ หรืองานของรัฐบาลบางด้านที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หรือการดำเนินกิจกรรมมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ รัฐยังจำเป็นต้องควบคุมและดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว หรือเป็นงานที่ภาคเอกชนยังไม่พร้อมที่จะลงทุนดำเนินการ หรือเป็นกิจการที่รัฐจำเป็นต้องแทรกแซงตลาดเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม หรือให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อให้งานบริการนั้นได้มาตรฐานทั้งในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ค่าใช้จ่าย และอื่นๆ ในการศึกษาการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ เริ่มต้นจากการศึกษาถึงแนวคิดว่าด้วยรัฐซึ่งครอบคลุมถึงความหมายของรัฐ องค์ประกอบของรัฐ และการจัดองค์การของรัฐ ทฤษฎีว่าด้วยการกำเนิดรัฐ การกระทำของรัฐ และรัฐกับการกำหนดทางเลือกนโยบายสาธารณะเพื่อจัดทำบริการสาธารณะภายในรัฐ บริการสาธารณะเป็นภารกิจหนึ่งของรัฐในการดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และจะต้องดำเนินกิจการที่จัดทำโดยนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน อยู่ภายใต้ระบบกฎหมายมหาชน รัฐจะมีบทบาทในการกำหนดทางเลือกเพื่อบริการสาธารณะมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับระบบการปกครองของประเทศเป็นสำคัญ รัฐวิสาหกิจหรือวิสาหกิจมหาชน เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของรัฐในการประกอบภารกิจในทางเศรษฐกิจ เนื่องจากภารกิจของรัฐได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากภารกิจดั้งเดิม โดยทั่วๆ ไป กิจการทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ในแต่ละประเทศจะร่วมกันดำเนินการเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการของมนุษย์และปัจจัยที่ตอบสนอง การนำเครื่องมือหรือรูปแบบที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจดั้งเดิมของรัฐ ซึ่งได้แก่ ส่วนราชการมาใช้ในการดำเนินงานทางเศรษฐกิจอาจไม่เหมาะสม เพราะการดำเนินงานทางเศรษฐกิจต้องอาศัยความคล่องตัวในการตัดสินใจดำเนินการและในด้านการเงินเช่นเดียวกับวิสาหกิจเอกชน รัฐจึงต้องจัดตั้งรัฐวิสาหกิจให้มีลักษณะที่แตกต่างจากส่วนราชการและให้มีความใกล้เคียงกับลักษณะของวิสาหกิจเอกชนให้มากที่สุด สำหรับประเทศไทย การเกิดขึ้นขององค์กรที่รับผิดชอบภารกิจในทางอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมในรูปรัฐวิสาหกิจอาจล่าช้าแตกต่างไปจากสังคมตะวันตกบ้าง แต่สังคมไทยก็ได้ยอมรับปรากฏการณ์ของการมีองค์กรของรัฐในการดำเนินภารกิจอันเป็นบริการสาธารณะในรูปรัฐวิสาหกิจมาเป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน การบริหารงานรัฐวิสาหกิจและโครงสร้างองค์การในการบริหารงานรัฐวิสาหกิจของไทย จำลองรูปแบบมาจากวิสาหกิจเอกชน ในแง่กฎหมายมีโครงสร้างสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ ทบวงการเมือง องค์การรัฐ และบริษัทของรัฐ โดยองค์กรบริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ คณะกรรมการซึ่งกำหนดนโยบายควบคุมดูแลกิจการทั่วไป และผู้บริหารระดับสูงบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งและนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ภาครัฐมีหน้าที่กำกับดูแลในฐานะเจ้าของกิจการ การกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจของไทยประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ คณะกรรมการการตรวจสอบของรัฐวิสาหกิจ กระทรวงเจ้าสังกัด และหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด รัฐวิสาหกิจไทย นับเป็นฟันเฟืองสำคัญของภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศ ทั้งงานบริการด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและบริการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวโยงกับความมั่นคงของไทย ประสิทธิภาพและรูปแบบการบริหารรัฐวิสาหกิจจึงถือเป็นงานสำคัญอันดับแรกๆ ที่รัฐให้ความสำคัญในการบริการและจัดการ ปัญหาการคลังของรัฐวิสาหกิจในปัจจุบันคือการขาดทุน หรือมีรายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย การเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจมีหลายวิธี โดยแต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมในตัวเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นการเพิ่มบทบาทของเอกชนในการบริหารรัฐวิสาหกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจคือการลดบทบาทของรัฐหรือกิจการภาครัฐที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับการแปรรูปเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางอุดมการณ์ของรัฐและสภาวะแวดล้อม อันสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์และภารกิจของรัฐบาลภายหลังเหตุการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจเพื่อเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือโดยพระราชกฤษฎีกาให้เป็นรัฐวิสาหกิจในรูปของบริษัทจำกัดหรือบริษัทจำกัดมหาชน จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อแปลงทุนของรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐบาลและหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของให้เป็นทุนเรือนหุ้นของรัฐวิสาหกิจในรูปของบริษัท และเป็นพื้นฐานเบื้องต้น ที่จะทำให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรธุรกิจเต็มรูปแบบกระทำได้โดยสะดวก โดยกระจายหุ้น ที่รัฐถือไว้ให้แก่ภาคเอกชนเพื่อที่ภาคเอกชนจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนและการบริหารจัดการในกิจการที่รัฐวิสาหกิจเดิมดำเนินการอยู่ได้ต่อไปในอนาคต ปัจจุบันได้มีแปลงสภาพของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไปแล้วหลายรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทย และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
ความหมายและลักษณะการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจเป็นองค์การของรัฐบาลที่รับผิดชอบบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหารายได้ ต้องสามารถเลี้ยงตัวเองจากการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ แต่หากมีความจำเป็นต้องรับเงินงบประมาณสนับสนุนเป็นครั้งคราวหรือบางส่วน ในกรณีนี้ รัฐก็จะจัดสรรงบประมาณในรูปของเงินอุดหนุน ซึ่งจะแยกจากการเก็บค่าบริการตามปกติของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ เป็นนิติบุคคลและมีความสัมพันธ์กับรัฐซึ่งประกอบด้วย รัฐจัดตั้ง ทุนเกินครึ่งเป็นของรัฐ รัฐมีอำนาจบริหารจัดการผ่านการแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง และการให้นโยบาย การลงทุนต้องขอความเห็นชอบจากรัฐ และรายได้ต้องส่งคืนรัฐ บุคลากรมีสถานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และวิธีดำเนินการไม่ใช้อำนาจฝ่ายเดียวเป็นหลัก แต่ใช้สัญญา ไม่ใช้กฎระเบียบของทางราชการในการบริหารการเงิน การบริหารงาน และการบริหารบุคคล ยกเว้นรัฐวิสาหกิจที่ต้องใช้อำนาจพิเศษของรัฐ เช่น เวนคืน ปักเสา พาดสาย ต้องจัดตั้งโดยมีพระราชบัญญัติรองรับ
องค์การของรัฐหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ รวมทั้งบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจถือหุ้นอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 แต่ไม่รวมถึงองค์การที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์หรือส่งเสริมการใดๆ ที่ไม่ใช่ธุรกิจ รัฐวิสาหกิจจะแยกส่วนของการบริหารงานออกจากส่วนราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจจะแยกส่วนของการบริหารงานออกจากส่วนราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจจึงไม่ใช่ข้าราชการ แต่ระเบียบการปฏิบัติงานต่างๆ ใช้หลักการเดียวกัน
องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือรัฐมีหุ้นอยู่เกินกว่าร้อยละ 50 มีการดำเนินงานที่มีลักษณะผสมระหว่างกิจการเอกชนและหน่วยงานของรัฐบาลแบบมหาชน มีเป้าหมายคือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
วัตถุประสงค์
เพื่อดำเนินการในกิจการที่เอกชนไม่สามารถดำเนินการเองได้
เพื่อหารายได้แก่รัฐ
เพื่อดำเนินกิจการที่มีความสำคัญ
เพื่อประกอบกิจการที่เป็นเครื่องมือสนองนโยบายเพื่อช่วยเหลือในการครองชีพหรือส่งเสริมอาชีพของประชาชนเป็นส่วนใหญ่
เพื่อประกอบกิจการเพื่อสาธารณประโยชน์
เพื่อป้องกันการผูกขาดของบริการสาธารณูปโภค
เพื่อให้บริการในกิจการที่ภาคเอกชนยังไม่พร้อมจะลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ช่วงแรกๆ
เพื่อให้บริการกิจการที่ภาคเอกชนไม่สนใจลงทุน
เพื่อสนับสนุนกิจการให้เกิดประโยชน์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อประชาชนส่วนรวม
เพื่อผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมพื้นฐานที่สำคัญ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ การเดินเรือทะเล และปิโตรเคมี
เพื่อควบคุมบางกิจการที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและศีลธรรมของประชาชน
ประเภทขององค์การ
การแบ่งประเภทของรัฐวิสาหกิจตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ได้แก่
1.1 รัฐวิสาหกิจประเภทที่หารายได้ให้รัฐ 1.2 รัฐวิสาหกิจประเภทที่เป็นสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ 1.3 รัฐวิสาหกิจประเภทที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐ 1.4 รัฐวิสาหกิจประเภทที่ตั้งขึ้นหรือได้มาด้วยเหตุผลอื่น
การแบ่งประเภทของรัฐวิสาหกิจตามที่มาทางกฎหมาย ได้แก่
2.1 การจัดตั้งโดยกฎหมายมหาชน 2.2 การจัดตั้งโดยกฎหมายเอกชน
เกริ่นนำ
Old
New
Date Created
Author
Actions
Old
New
8 ตุลาคม 2019 at 16:33
สากล พรหมสถิตย์
×
ยินดีต้อนรับสู่ เว็บไซต์บุคลากร
คุณจำรหัสผ่านไม่ได้?
บันทึกการใช้งานของฉัน
×
Forgot your details?
×
ลงทะเบียนบัญชีของคุณ
สมัครสมาชิก
suggestions
Members
Groups
0
applied filters
สายงาน
สายสนับสนุน
สายวิชาการ
คณะ
คณะครุศาสตร์
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะบัณฑิตวิทยาลัย
สาขาวิชา
หน่วยงาน
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักงานอธิการบดี
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สำนักศิลปและวัฒนธรรม
สำนักงานตรวจสอบภายใน
สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
คณะครุศาสตร์
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ
คณะพยาบาลศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
0
applied filters
Group Status
Public
Private
Filter by Group type
Total Members
Filter by Total Members number
การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ
การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ