ผู้วิจัย

สง่า แก้วปุ่ม, อุทัยวรรณ สุวรรณธาดา, สิริณี ยอดเมือง, สุภาพร ปาโมกข์ และสุขสรรค์ ชูบุญ

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้น้ำบริเวณอ่างเก็บน้ำลำตะโคง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยสำรวจเป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2559 โดยทำการสำรวจ 20 สถานี สุ่มตัวอย่างในแต่ละสถานีโดยเว้นระยะห่างแต่ละสถานี 500 เมตร ความลึกของน้ำ 50-100 เซนติเมตร โดยใช้ตารางสุ่มตัวอย่างสถานีละ 2 ครั้ง โดยแต่ละสถานีใช้วิธีเดียวกันจนครบ 20 สถานี จากนั้นนำมาศึกษาสัณฐานวิทยาภายนอกและจำแนกชนิดของพรรณไม้น้ำ วงศ์ที่พบมากที่สุดคือ วงศ์ CYPERACEAE พบพืช 4 ชนิด ได้แก่ กกสามเหลี่ยม (Cyperus involucratus Rottb.) กกขนาก (Cyperus difformis L.) กกตุ้มหู (Cyperus brevifolius (Rottb.) Hassk.) แห้วทรงเทียมหัวโป่ง (Scirpus articulatus L.) จากการคำนวณดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถอธิบายได้ว่า จากการสำรวจพรรณไม้น้ำในบริเวณอ่างเก็บน้ำลำตะโคงพบพรรณไม้น้ำ 25 ชนิด20 วงศ์ พบค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้น้ำเท่ากับ 2.9599 (H՛) มีความสม่ำเสมอในการแพร่กระจายเท่ากับ 0.9195 (J) คิดเป็นร้อยละ 91.91 ซึ่งถือได้ว่ามีการแพร่กระจายพรรณไม้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดพื้นที่อ่างเก็บน้ำลำตะโคง ค่าความหลากชนิด 19.2957 (D) ซึ่งแสดงว่าพรรณไม้น้ำ 19 ชนิด สามารถพบได้ทั่วไปในอ่างเก็บน้ำลำตะโคง ส่วนที่เหลืออีก 6 ชนิด พบได้น้อยในอ่างเก็บน้ำลำตะโคง เนื่องจากมาการกระจายตัวพรรณไม้น้ำค่อนข้างน้อย

 

 

ไฟล์แนบ

jpg 64831196_1579540005521173_2360964065439776768_n

ขนาดไฟล์ 134 KB | จำนวนดาวน์โหลด 178 ครั้ง

ความคิดเห็น