ผู้วิจัย

ผกามาศ มูลวันดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบของพฤติกรรมในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คุณภาพชีวิตในครอบครัว เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลกระทบของพฤติกรรมในการจัดทำบัญชีครัวเรือน เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในครอบครัวและทดสอบความสัมพันธ์และผลกระทบของปัจจัยที่มีผลกระทบของพฤติกรรมในการจัดทำบัญชีครัวเรือนกับคุณภาพชีวิตในครอบครัว ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรบ้านหนองตาไก้ ตำบลลุมปุ๊ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 32 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) สมุดบัญชีครัวเรือน และ 2) แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์ความถดถอยอย่าง และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรบ้านหนองตาไก้ มีรายรับโดยรวม จำนวน 550,377 บาท และมีรายจ่ายโดยรวม จำนวน 431,470 บาท 2) ปัจจัยที่มีผลกระทบของพฤติกรรมในการจัดทำบัญชีครัวเรือน ด้านทัศนคติของผู้ทำบัญชี ด้านทัศนคติของหัวหน้าครอบครัวด้านความร่วมมือจากสมาชิกในครอบครัว ด้านการจัดสรรเวลาในการจัดทำบัญชีครัวเรือน ด้านความรู้และความเข้าใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน ด้านทักษะในการจัดทำบัญชีครัวเรือน และด้านการมองเห็นประโยชน์หรือความสำคัญในการจัดทำบัญชีครัวเรือนอยู่ในระดับมาก 3) คุณภาพชีวิตในครอบครัวด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านระดับความเป็นอิสระของบุคคลด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านความเชื่อส่วนบุคคลอยู่ในระดับมาก 4) เกษตรกรบ้านหนองตาไก้ ที่มีเพศแตกต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลกระทบของพฤติกรรมในการจัดทำบัญชี ด้านความร่วมมือจากสมาชิกในครอบครัว และด้านความรู้และความเข้าใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเกษตรกรบ้านหนองตาไก้ ที่มีอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัวอาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลกระทบของพฤติกรรมในการจัดทำบัญชี ด้านทัศนคติของผู้ทำบัญชี ด้านทัศนคติของหัวหน้าครอบครัว ด้านความร่วมมือจากสมาชิกในครอบครัว ด้านการจัดสรรเวลาในการจัดทำบัญชีครัวเรือน ด้านความรู้และความเข้าใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน ด้านทักษะในการจัดทำบัญชีครัวเรือน และด้านการมองเห็นประโยชน์หรือความสำคัญ ในการจัดทำบัญชีครัวเรือนไม่แตกต่างกัน (p > .05) 5) เกษตรกรบ้านหนองตาไก้ ที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตในครอบครัว ด้านระดับความเป็นอิสระส่วนบุคคล และด้านความเชื่อส่วนบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเกษตรกรบ้านหนองตาไก้ ที่มีสถานภาพ จำนวนสมาชิกในครอบครัว อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตในครอบครัว ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านระดับความเป็นอิสระของบุคคล ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านความเชื่อส่วนบุคคลไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) และ 6) ปัจจัยที่มีผลกระทบของพฤติกรรมในการจัดทำบัญชีครัวเรือน ด้านทัศนคติของผู้ทำบัญชี ด้านการจัดสรรเวลาในการจัดทำบัญชีครัวเรือน และด้านการจัดสรรเวลาในการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตในครอบครัว ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านความเชื่อส่วนบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

บรรณานุกรม

กานต์รวี ผดุงกิจ. (2550). ทัศนคติและพฤติกรรมของเกษตรกรลูกค้า ธกส. ต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือน. ปริญญานิพนธ์ บช.ม. (การบัญชี) คณะวิทยาการจัดการ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. กัญจนพร อ่วมสำอางค์. (2547). การศึกษาคุณภาพชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์กรมสามัญศึกษา เขตภาคกลาง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา). นครนายก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ชยาภา ภักดีไทย และคณะ. (2549). การรับรู้และการปฏิบัติในการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเกษตรกรในตำบลหนองยาว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. รายงานการวิจัย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี. สระบุรี : สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. ชนิตา โชติเสถียรกุล. (2551). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนของผู้ปกครองนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. ณัฐนรี ฝั้นเรือนแก้ว และคณะ. (2554). โครงการพัฒนาระบบบัญชีครัวเรือน กรณีศึกษาการทำบัญชีครัวเรือนชุมชนบ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่ : วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2556). บัญชีครัวเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชีวิตที่เพียงพอ. รายงานการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2552). “พฤติกรรมการบันทึกบัญชีรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล ของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.” วารสารวิทยาการจัดการ. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 1 : 69-74. ศิรประภา ศรีวิโรจน์. (2553). การศึกษาสภาพปัญหาและการติดตามประเมินผลโครงการจัดทำบัญชีครัวเรือน. รายงานการวิจัย คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร : โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์. สุภัทรษร ทวีจันทร์. (2556). “การบูรณาการบัญชีครัวเรือนเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนบ้านกลาง ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ.” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10(48) : 7-16. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). อัตราการว่างงาน. (ออนไลน)์ . เข้าถึงได้จาก : http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries04.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล 31 มีนาคม 2556). สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). สาระทักษะการดำเนินชีวิต (บัญชีชาวนา). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.korsornor1.com/index.php. (วันที่ค้นข้อมูล 31 มีนาคม 2556). Carnegie, Garry D., Walker & Stephen. (2007). “Household accounting in Australia.” Accounting, Auditing & Accountability Journal. 20(1) : 41-73.

ความคิดเห็น