ผู้วิจัย

ผกามาศ มูลวันดี ฐิติพร วรฤทธิ์ เกษมะณี การินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบบัญชีความพึงพอใจ และเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มทอผา้ไหมบ้านโนนศิลา ตำบล ถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีการจดบันทึกบัญชี ครัวเรือนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 8 เดือน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) ข้อมูลบัญชีครัวเรือน และ 2) แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนมีการจดบันทึก บัญชีด้วยมือในลักษณะของรายรับ-รายจ่าย และยอดคงเหลือจากการเกบ็ข้อมูลบัญชีชุมชนมีรายรับ-รายจ่ายระดับครัวเรือนเฉลี่ย ดังนี้ รายรับ จำนวน 482,279.92 บาท รายจ่าย จำนวน 398,374.62 บาท และบัญชีของกลุ่มเฉลี่ย ดังนี้ รายรับ จำนวน 321,149.75 บาท รายจ่าย จำนวน 148,302.50 บาท 2) ชุมชน มคีวามพงึพอใจตอ่การมส่วนร่วม ด้านกระบวนการบริหารจัดการของกลุ่ม ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์/การให้บริการ และด้าน สถานที่อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ชุมชนที่มีเพศ อายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อปีแตกต่างกัน มีความพึงพอใจ ต่อการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน

บรรณานุกรม

จิตรศิริ ขันเงิน. (2547). การศึกษาการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง สังกัดกระทรวง สาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (การพยาบาล). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เดช กาญจนางกูร. (2547). การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ. คณะเศรษฐศาสตร์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. นภาพร ลขิติวงศข์จร. (2550). “บญัชคีรวัเรอืน : เครอื่งมอืสเู่ศรษฐกจิพอเพยีง.” วารสารศนูยบ์รกิารวชิาการมหาวทิยาลยัขอนแกน่. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ผกามาศ มูลวันดี และคณะ. (2559). “ศึกษาระบบบัญชีของชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านโนนศิลา ตำาบลถลุงเหล็ก อำาเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์.” การประชุมวิชาการและนำาเสนอผลงานวิจัย ระดบัชาต ิครงั้ท ี่6 ในชว่งภาคเชา้ : ศาสตรแ์หง่วทิยาการ จัดการเพื่อรับใช้สังคม.....3 ทศวรรษแห่งการตามรอยแม่ของแผ่นดิน. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา. พรรณนุช ชัยปินชนะ. (2557). “การพัฒนาระบบการจัดทำาบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงโดยการ มีส่วนร่วมของชุมชน ตำาบลหนองป่าครั้ง.” วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(1) : 37-48. ภัทราจิตร แสงสว่าง และศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์. (2558). “ความสัมฤทธิ์ผลของการบริการวิชาการกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต กรณีการทำาบัญชีครัวเรือน บ้านนาเรืองน้อย ตำาบลนาเรือง อำาเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี.” การประชุมหาดใหญ่ วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. 26 มิถุนายน 2558. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สำานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). สาระทักษะการดำาเนินชีวิต (บัญชีชาวนา). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.korsornor1.com/index.php. (วันที่ค้นข้อมูล 25 สิงหาคม 2558).

ความคิดเห็น