ผู้วิจัย
อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา
บทคัดย่อ
เนื่องจากในปัจจุบันนี้การขนส่งเป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ การจัดส่งชิ้นส่วนยานยนต์จึงจำเป็นที่จะต้องมีประสิทธิภาพ สามารถจัดส่งได้ตามกำหนดเวลาการส่งมอบและสถานที่การส่งมอบสินค้า ถึงแม้ว่าปัจจุบันมีอุปกรณ์และเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการช่วยให้ทราบข้อมูลและรายละเอียดการส่งสินค้า สถานที่ในการส่งสินค้า การติดต่อสื่อสารที่ก้าวหน้า และแม้กระทั่งการติดตามยานพาหนะโดยใช้ระบบติดตามยานพาหนะ (Global Positioning System; GPS) การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการควบคุมวัสดุและการวางแผนการผลิต (Material Requirement Planning; MRP) แต่ในกระบวนการทำงานจริงเราพบว่ามีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เกิดปัญหาที่ทำให้กระบวนการขนส่ง ส่งได้ไม่ตรงตามตารางการส่งมอบ ระบบมิลค์-รัน (Milk-Run) คือ ระบบการจัดการในการรับชิ้นส่วนจากผู้จัดส่งวัตถุดิบหลาย ๆ รายตามตารางเวลาการขนส่งที่กำหนดเพื่อให้รองรับกับระดับการผลิตที่กำหนดไว้เพื่อเป็นการลดต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบหรือสินค้า ซึ่งจากเดิมลูกค้าแต่ละรายจะต้องทำหน้าที่ในการนำวัตถุดิบมาส่งที่โรงงานผู้ซื้อด้วยตนเอง
บรรณานุกรม
อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา. (2552). การปรับปรุงระบบขนส่งแบบมิลค์-รัน กรณีศึกษา อุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์ นิสากร เลิศพิรุฬห์วงศ์. (2549). การศึกษาความเป็นไปได้ของวิธีการนำระบบการจัดการในการรับ วัตถุดิบเข้าโรงงานแบบ Milk Run มาใช้: กรณีศึกษา บริษัท ออโตโมทีฟ จำกัด. พรรณี คุณากรภัค. (2545). การหาจำนวนรถบรรทุกที่น้อยที่สุดในการขนส่งภายใต้ระบบการผลิต แบบทันเวลาพอดี. เรณุกา อรัญนารถ. (2548). การจัดระบบโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัท อะไหล่ยนต์ จำกัด. ศิริอร คงมนต์ และ อังกูร ลาภธเนศ. (2551). การศึกษาปัญหาการจัดส่งสินค้าไม่ตรงและเวลา กำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานที่เหมาะสมของบริษัท บริษัท KKK จำกัด. ศุภชัย นาทะพันธ์. (2551). การควบคุมคุณภาพ (Quality Control). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น. วิทยา สุหฤทดำรง, ยุพา กลอนกลาง และสุนทร ศรีลังกา. (2550). มุ่งสู่ ”ลีน” ด้วยการจัดการสายธารคุณค่า (Value Stream Management). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อี.ไอ. สแควร์. วิทยา สุหฤทดำรง และยุพา กลอนกลาง. (2550). Lean Logistics: ลอจิสติกส์แบบลีน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อี.ไอ.สแควร์. คำนาย อภิปรัชญาสกุล (2553) โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง. รุธิร์ พนมยงค์ (2551) เคล็ด (ไม่) ลับจับทางโลจิสติกส์ (พิมพ์ครั้งที่ 11) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มติชน. ระบบการขนส่งแบบ Milk Run. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต: http://www.logisticsdigest.com/ http://logisticspro.blogspot.com/2009/03/milk-run.html http://www.businessdictionary.com/definition/milk-run.html http://warehouselogistic.igetweb.com/index.php?mo=3&art=287566 http://gotoknow.org/blog/logistics-supplychain/238693
ความคิดเห็น