ร่วมอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning (ครั้งที่ 1) ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ณ ห้องประชุมเฟื่องฟ้า อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning (ครั้งที่ 1) เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับนิยามของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning รวมถึงให้ทราบถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สนองตอบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จำนวน 15 เทคนิค คือ เทคนิคที่ 1  เทคนิคการแบ่งปันความเห็น, เทคนิค 2 เกม, เทนนิค 3 สถานการณ์จำลอง, เทคนิค 4 กรณีศึกษา เรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสังคม, เทคนิค 5 การแลกเปลี่ยนความคิด, เทคนิค 6 เขียนจากสมอง เขียนสิ่งที่คิด ไอเดีย, เทคนิค 7 การระดมสะมอง, เทคนิค 8 จิ๊กซอ แบ่งเนื้อหาเป็นส่วน ๆ แล้วเอามาต่อกัน, เทคนิค 9 บันทึกเชื่อมต่อ, เทคนิค 10 การตอบคำถาม, เทคนิค 11 ผังความคิด, เทคนิค 12 สอนแบบโครงการ, เทคนิค 13 การร่างภาพ (วาดภาพแสดงเรื่องราว เน้นความรู้มากกว่าศิลปะ) , เทคนิค 14 การเขียนจดหมายข่าว การสรุปเป็นเรื่องราวและเทคนิค 15 การสะท้อนจากผู้เรียน

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผู้สอนมีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ ที่สำคัญ ดังนี้

  1. วางแผนกิจกรรมและเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ (เน้นผลที่นำไปใช้ได้จริง) ผู้เรียนร่วมวางแผน
  2. สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วม และเจรจาโต้ตอบ
  3. เน้นมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม และต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนมุ่งสู่ความสำเร็จ
  4. จัดสภาพแวดล้อมสำหรับความร่วมมือในการเรียน
  5. การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เนื้อหา วิธีสอน และประยุกต์ใช้
  6. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความท้าทายและความหลากหลาย
  7. การวางแผนเรื่องเวลาสอนให้ชัดเจน
  8. การยอมรับพฤติกรรมของผู้เรียน การแสดงออก การแสดงความเห็น

ส่วนผู้เรียนก็มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบ บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

  1. ผู้เรียนรรับผิดชอบ (เตรียมตัวมาเรียน มีความรับผิดชอบ)
  2. ความร่วมมือกับผู้สอน ตั้งแต่วางแผน กิจกรรม การประเมินผลการเรียนรู้
  3. กระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจริง เกิดการเรียนรู้ตามผลลัพธ์
  4. สร้างองค์ความรู้ใหม่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รับฟังผู้อื่น
  5. ใช้ความคิดขั้นสูงในการเรียนรู้ วิเคราะห์ เชื่อมโยง สังเคราะห์
  6. เจตคติต่อการเรียนรู้ น่าสนใจ สนุกสนาน และมีชีวิตชีวา ไม่น่าเบื่อ

จากการเข้าร่วมอบรมครั้งนี้ทำให้ทรายว่าการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จะสร้างประโญชน์อย่างไรต่อผู้เรียน ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

  1. เรียนรู้ตลอดชีวิต เคยเรียนรู้ด้วยตนเอง
  2. เกิดความสำเร็จ เพราะได้คิด แก้ปัญหา ปฏิบัติ สู่การประยุกต์ใช้งานได้จริง
  3. มีส่วนร่วมในการเรียน สนุกและอยากเรียนรู้ ตื่นตัว
  4. ส่งเสริมเจตคติเชิงบวกในการเรียนรู้ (เรียนสนุก ก็อยากเรียน)
  5. เสริมความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร การปรับตัว

ความคิดเห็น