ผู้วิจัย

นายสุพิศ กองชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพการใช้ไอซีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผู้วิจัยตั้งวัตถุประสงค์ไว้ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้ไอชีที เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการ ใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการการศึกษา: กรณีศึกษามหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 229 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้ง นี้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อสอบถามเกี่ยวกับสภาพการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพ การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทาง เดียว (One way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe จากการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพการใช้ไอซีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งผู้วิจัยได้ข้อค้นพบจากการวิจัยที่สามารถนำมา อภิปรายผลได้ดังต่อไปนี้ 1. จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เกี่ยวกับสภาพ การใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เนื่องจาก ปัจจุบันไอชีทีได้เข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันแทบทุกด้าน ไม่ ว่าจะเป็นในเรื่องของการติดต่อสื่อสาร การคมนาคม การแพทย์ การศึกษา เป็นต้น เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2. จากผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เกี่ยวกับสภาพการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำแนกตาม เพศ อายุ พบว่า มีสภาพการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษาโดยภาพ รวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีการจัดอบรมเกี่ยวกับการใช้ ไอชีทีให้กับบุคลากร ทั้งเพศชายและหญิง จำแนกตามประเภทของบุคลากร พบว่า สภาพการใช้ไอชี ทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษาโดยภาพรวมแตกต่างกัน แต่เมื่อมีการวิเคราะห์ผลหาความแตก ต่างแบบรายคู่แล้วไม่พบความแตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า สภาพการใช้ไอชี ทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษามีความแตกต่างกันด้านข้อมูลสารสนเทศ (IT) คือ ข้าราชการสาย วิชา+สายสนับสนุน มีการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สูง กว่าพนักงานราชการ เนื่องจากข้าราชการสายวิชา+สายสนับสนุนมีความพร้อมในเรื่องวัสดุอุปกรณ์ ที่เอื้ออำนวยต่อการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา มากกว่าพนักงานราชการ จำแนกตามระยะเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์ต่อวัน พบว่า สภาพการใช้ไอชีทีเพื่องานประกัน คุณภาพการศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน โดยบุคลากรที่มีระยะเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์ มากต่อวัน มีการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา มากกว่า บุคลากรที่มีระยะเวลาในการใช้ คอมพิวเตอร์ต่อวันน้อย ตามลำดับ เนื่องจาก บุคลากรที่มีระยะเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์มากต่อวัน เป็นบุคลากรที่มีความสนใจในการนำเอาไอชีทีมาใช้กับการพัฒนางาน

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ. (2542). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2545). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549. ไทย: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (ฉบับที่ ๓) ของประเทศไทย 2557-2561. ไทย:กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร. ถวัลย์พอกประโคน. (2557). สภาพการบริหารงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาสังกัด สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์. 5(1), 67. เพ็ญวรา ชูประวัติ. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย:กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). เรียกใช้เมื่อ 2559 มกราคม 14 จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช www.stou.ac.th/Offices/rdec/Nakorn/Main/doc/quarantee/001.doc สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กระทรวงศึกษาธิการ. สำ นักงานประกันคุณภาพการศึกษาและแผนงาน. (2552).การประกันคุณภาพการศึกษา.สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2557 จากสำ นักงานประกันคุณภาพการศึกษาและแผนงาน: http://www.northbkk.ac.th/qa/aboutqa.php บุญเลิศ แสวงทอง. (2553). สภาพการดำเนินงานและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี. กาญจนบุรี. หฤทัย อรุณศิริ. (20 มกราคม 2557). ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 3(2), 43-51. Ashish Joshi.(2013). The Role of Information and Communication Technology in Community Outreach, Academic and Research Collaboration, and Education and Support Services (IT-CARES). Perspect Health Inf Manag. 2013 Fall; 10(Fall): 1g. Published online 2013 October 1 Chaman Vermacorresponding and Sanjay Dahiyav.(2016). Gender difference towards information and communication technology awareness in Indian universities. Springerplus.2016 Mar24;5:370. doi:10.1186/s40064-016-2003-1.eCollection 2016. Whittaker. (1999). การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT). 23. Canada: MCB UP Ltd.

หน่วยงานการอ้างอิง

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การศึกษาสภาพการใช้ไอซีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สุพิศ กองชัย
นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์
สาขาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

นุชจรี บุญเกต
สาขาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพการใช้ไอซีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา: กรณีศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผู้วิจัยตั้งวัตถุประสงค์ไว้ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้ไอชีที
เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการ
ใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการการศึกษา: กรณีศึกษามหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 229 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้ง
นี้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อสอบถามเกี่ยวกับสภาพการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพ
การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทาง
เดียว (One way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe
จากการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพการใช้ไอซีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา: กรณีศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งผู้วิจัยได้ข้อค้นพบจากการวิจัยที่สามารถนำมา
อภิปรายผลได้ดังต่อไปนี้
1. จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เกี่ยวกับสภาพ
การใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
เนื่องจาก ปัจจุบันไอชีทีได้เข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันแทบทุกด้าน ไม่
ว่าจะเป็นในเรื่องของการติดต่อสื่อสาร การคมนาคม การแพทย์ การศึกษา เป็นต้น เมื่อพิจารณาเป็น
รายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. จากผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
เกี่ยวกับสภาพการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
จำแนกตาม เพศ อายุ พบว่า มีสภาพการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษาโดยภาพ
รวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีการจัดอบรมเกี่ยวกับการใช้
ไอชีทีให้กับบุคลากร ทั้งเพศชายและหญิง จำแนกตามประเภทของบุคลากร พบว่า สภาพการใช้ไอชี
ทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษาโดยภาพรวมแตกต่างกัน แต่เมื่อมีการวิเคราะห์ผลหาความแตก
ต่างแบบรายคู่แล้วไม่พบความแตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า สภาพการใช้ไอชี
ทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษามีความแตกต่างกันด้านข้อมูลสารสนเทศ (IT) คือ ข้าราชการสาย
วิชา+สายสนับสนุน มีการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สูง
กว่าพนักงานราชการ เนื่องจากข้าราชการสายวิชา+สายสนับสนุนมีความพร้อมในเรื่องวัสดุอุปกรณ์
ที่เอื้ออำนวยต่อการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา มากกว่าพนักงานราชการ
จำแนกตามระยะเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์ต่อวัน พบว่า สภาพการใช้ไอชีทีเพื่องานประกัน
คุณภาพการศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน โดยบุคลากรที่มีระยะเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์
มากต่อวัน มีการใช้ไอชีทีเพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา มากกว่า บุคลากรที่มีระยะเวลาในการใช้
คอมพิวเตอร์ต่อวันน้อย ตามลำดับ เนื่องจาก บุคลากรที่มีระยะเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์มากต่อวัน
เป็นบุคลากรที่มีความสนใจในการนำเอาไอชีทีมาใช้กับการพัฒนางาน

ไฟล์แนบ

pdf 104017-ไฟล์บทความ-263067-1-10-20171124

ขนาดไฟล์ 269 KB | จำนวนดาวน์โหลด 172 ครั้ง

ความคิดเห็น