ตามแนวคิดทวินิยม (Dualism) :มนุษย์ประกอบด้วยกายและจิต
โดยแนวคิดนี้มีความเชื่อว่า มนุษย์ประกอบด้วยกาย (Body ) และจิต (Mind) แยกออก จากกัน
ส่วนลักษณะของความสัมพันธ์ที่อธิบายไว้คือ
ลัทธิปฏิสัมพันธ์ ( Interactionism) เชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยกายและจิตเป็นของสอง
สิ่งและต่างมีความสัมพันธ์กัน จิตมีอิทธิพลต่อกายและกายก็มีอิทธิพลต่อจิต
.
เมื่อก่อนคิดว่า สุขทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา
พอมาฝึกการสังเกตแบบนักจิตวิทยา
สังเกตพฤติกรรมผู้คนอย่างใส่ใจ
เลยเกิดคำถามว่ามันธรรมดาจริงเหรอ?
แล้วเครื่องมืออะไรจะเอามาพิสูจน์สมมุติฐานจากการเฝ้าสังเกตนี้ได้
เราเจอผู้ปกครองและนักเรียนนักศึกษาที่มีความทุกข์ มาปรึกษาเราเยอะ
บางคนก็ทุกข์
เพราะเรื่องนั้นมันคือการสูญเสียที่รับได้ยาก บางคนก็ทุกข์กับเรื่องง่ายๆ ที่แก้ไม่เคยได้เสียที
หากสุขทุกข์เหมือนกราฟการเต้นของหัวใจ
ที่ต้องมีขึ้น ลงสลับกันไปตลอดเวลา
แสดงว่า ถ้าหัวใจเรายังเต้นอยู่ แสดงว่า สุขทุกข์คือ “ชีวิต”
แต่สุขทุกข์เป็นเรื่องปกติจริงหรือเปล่า?
ถ้ามองออกไปในสังคม
ทำไมมีคนฆ่าตัวตายเพราะเรื่องปกติ บ่อยๆ?
หรือความปกติ ทำให้เราประมาท
ขาดการศึกษาหลักชีวิตอย่างจริงๆ จังๆ
เพราะเรามองว่ามันยังไม่ถึงเวลา มันยังปกติ
การหันมาสนใจธรรมจึงเป็นเรื่องของคนแก่
คนที่มีทุกข์
มันสายไปหรือเปล่า? หรือเราประมาทไปหรือเปล่า?
เวลาชีวิตปกติ ควรรีบลองศึกษาธรรมะไว้
เพราะตอนใจปกติก็จะฟังอะไรเข้าใจง่าย เขาถึงง่าย เต็มไปด้วยสติปัญญา รออกหักรอทุกข์มาก็สายเสียแล้ว เพราะใจผิดปกติ สิ่งดีๆก็จะไม่ได้ยิน ไม่อยากรับรู้ อยากตายอย่างเดียว
พระมาอยู่ตรงหน้าก็มองไม่เห็นธรรม
ธรรมะเหมือนวัคซีน ต้องฉีดก่อนเป็นโรค
หากฉีดตอนเป็นโรคแล้วไม่มีผลอะไร
เห็นดาราหลายๆคนอ่านเกมชีวิตขาด
เลยมาเริ่มศึกษาธรรมะ
พี่อุ๋ย บุสดาเบลส บอกว่าเมื่อก่อนไม่สนใจธรรมเลย
น่าเบื่อ ช้าๆเนิบๆ ไม่ตื่นเต้นสมวัย
แต่พอลองให้เวลากับธรรมะจริงๆแบบเลี่ยงไม่ได้ก็พบว่า ชีวิตเหมือนลูกตุ้ม แกว่งไปมา ฝั่งโลกบ้างฝั่งธรรมบ้างก็ไม่เลว
มันช่วยทำให้ใจที่ร้อนรน สงบได้ง่ายขึ้น
สุขทุกข์เป็นเรื่องธรรมดาก็จริง(หรือ?)
จึงไม่แปลกใจที่ข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์
มีการผิดศีลธรรมจนดูปกติ
พ่อข่มขืนลูก ลูกฆ่าแม่เพื่อเอาเงิน ผช ข่ม ผญเป็นเรื่องธรรมดาจนชินตา
ฆ่าตัวตายเพราะความรัก
ชั่ววูบ!!! แว๊บเดี๋ยว
เปลี่ยนคนให้เป็นปีศาจได้
ธรรมะช่วยให้เรา
จัดการจับชั่ววูบได้ดียิ้งขึ้น
เพราะฝึกให้เราอยู่ในภาวะ”รู้ตัว รู้ตื่นตลอด”
การฝึกฝนก็เหมือนกับนักกีฬานี่แหละ
แรกๆก็น่าเบื่อ เจ็บปวดกล้ามเนื้อ
นักกีฬาส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยอยากซ้อม
“แต่อยากลงแข่ง”
ในสภาพไม่ค่อยซ้อมความพร้อมก็ไม่ค่อยดี
เวลาเจอคู่ต้องสู้ที่ซ้อมมาหนักกว่า ก็มักแพ้
ถึงขนาดแพ้ทางกันไปเลย
บางคนถูกยั่วยุ เกิดอารมณ์ได้ง่าย
แพ้ตัวเอง แพ้ทางตัวเอง
กิเลสต่างๆ จึงเป็นคู่แข่งคู่ต่อสู้ที่น่ากลัวที่สุด
พอเราอ่อนซ้อม ประมาท ไม่มีเวลา ทนงตัว มันมักจะเล่นงานจนสะบักสะบอมเสมอๆ
แบบทดสอบที่ในการสังเกตชีวิต
คือหลักธรรมะ ที่พระพุทธเจ้าท่านมอบไว้เป็นแนวทางให้เรา
ถ้าเราอยากมีร่างกายที่แข็งแรงทนทาน ไม่เจ็บป่วยง่าย เราก็ไปฟิตเนส มีเทรนเนอร์ มีโค้ชค่อยแนะนำดูแล = การออกกำลังกาย
แต่ถ้าเราอยากมีใจที่ทนทาน ไม่อ่อนไหวง่าย ไม่แพ้ทาง ไม่เผลอชั่ววูบ ก็ต้อง “ออกกำลังใจ” = การศึกษาหลักสัจธรรม
.
ตามแนวคิดทวินิยม (Dualism) :มนุษย์ประกอบด้วยกายและจิต
โดยแนวคิดนี้มีความเชื่อว่า มนุษย์ประกอบด้วยกาย (Body ) และจิต (Mind) แยกออก จากกัน
ส่วนลักษณะของความสัมพันธ์ที่อธิบายไว้คือ
ลัทธิปฏิสัมพันธ์ ( Interactionism) เชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยกายและจิตเป็นของสอง
สิ่งและต่างมีความสัมพันธ์กัน จิตมีอิทธิพลต่อกายและกายก็มีอิทธิพลต่อจิต
.
กายและใจสัมพันธ์กัน
เป็นการรักษาสภาวะ “ปกติ” ให้คงไว้
แน่ใจใช่ไหม? ว่าเรากำลังไม่ประมาท
โดย : อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน
วันพุธที่ 15 เมษายน 2563
ความคิดเห็น