เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งมีฤทธิ์ในการขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและการสะสมเกิดพิษเรื้อรังอาจทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้ การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ จึงมี
วัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงการสะสมสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และหาความสัมพันธ์ของผลการประเมิน
ความเสี่ยงกับผลการตรวจวัดทางชีวภาพ ในเกษตรกรชุมชนมะค่าใต้ ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัด
บุรีรัมย์ ที่สมัครใจ จำนวน 63 คน ด้วยเครื่องมือที่ประกอบด้วยแบบสอบถามการประเมินความเสี่ยงสุขภาพ และชุด
ทดสอบระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรัมของเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน
ร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติเชิงอนุมานด้วยไคสแควร์ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ
74.60 อายุระหว่าง 54 – 71 ปี ร้อยละ 50.80 ทำนาเอง ร้อยละ 53.96 สัมผัสสารเคมีปุ๋ ยเคมีชนิดเม็ด ร้อยละ
44.44 และผสมสารเคมี ร้อยละ 22.22 อยู่ในบริเวณที่มีการฉีดพ่น ร้อยละ 20.64 ผลการประเมินความเสี่ยงต่อ
สุขภาพมีความเสี่ยงต่ำและปานกลาง จำนวน 49 คน (ร้อยละ 79.03) มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงและมีความเสี่ยงสูง
จำนวน 13 คน (ร้อยละ 20.97) ผลการตรวจวัดทางชีวภาพจากการตรวจคัดกรองหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
ในซีรัมอยู่ในระดับปกติและปลอดภัย จำนวน 35 คน (ร้อยละ 56.45) ระดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน
27 คน (ร้อยละ 43.55) ผลการประเมินความเสี่ยงพบว่า มีความสัมพันธ์กับผลตรวจวัดทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<0.05) ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย             การติดตามสังเกตพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และมีแนวทางลดอันตรายในกลุ่มเกษตรกรที่มีความเสี่ยงต่อไป

ไฟล์แนบ

pdf การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจากสารกำจัดศัตรูพืชฯ (1)

ขนาดไฟล์ 194 KB | จำนวนดาวน์โหลด 134 ครั้ง

ความคิดเห็น