ผู้วิจัย
เลอสันต์ ฤทธิขันธ์1 จารุมาศ แสงสว่าง2
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ โดยอาศัยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ Preparation for Learning Process Evaluation (PLPE Model)กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 35 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นนั้น ส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ศึกษาอย่างเป็นองค์รวม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม ผู้วิจัยคำนึงถึงลักษณะของผู้เรียนในระดับระดับปริญญาตรีเป็นสำคัญคือ ผู้เรียนในระดับนี้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นการใช้การจัดการเรียนการสอนบนเว็บร่วมกับหลักการดังกล่าวจึงทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มศักยภาพ 2) หลังการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น พบว่า (1) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานการเรียนผ่านเครือข่าย การถ่ายโยงการเรียนรู้ นักศึกษาระดับปริญญาตรี Abstract The objective of this study was to develop a blended learning model to promote the transfer of learning and by using Preparation for Learning Process Evaluation (PLPE Model). The samples were thirty five 2ndyear undergraduate students of Thai Program atBuriramRajabhat University. They were selected by cluster random sampling. The results of the study could be summarized as follows: 1) the development of a blended learning model to promote the transfer of learning enabled the students understand what they had studied holistically and could apply the gained knowledge concretely. Also, it importantly took into account the characteristics of the students at the undergraduate level: students at this level were capable of self-learning. Therefore, the use of web-based teaching and learning with such principles allowed the students to learn at their full potential; and 2) After the trial of the development of a blended learning model to promote the transfer of learning, it was found that (1) average achievements transfer of learning of the students after studying were higher than before studying at the .05 level of significance and (2) the students were satisfied with the teaching model at the highest level. Keywords:Blended Learning, Web-Based Instruction, Transfer of Learning, Undergraduate Students
บรรณานุกรม
เอกสารอ้างอิง จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการผ่านเว็บตามแนวทฤษฎีการขยายความคิดเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ). ฆนัท ธาตุทอง. (2551). การออกแบบการสอนและบูรณาการ. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์. เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2545). ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.). การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(2), 31-36. เบญจมาศ อยู่เป็นแก้ว. (2544). การสอนแบบบูรณาการ.กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้. มนต์ชัย เทียนทอง. (2549). Blended Learning : การเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค ICT (ตอนที่ 1), วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม,1(2), 48-57. ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย. มหาสารคาม. ภาควิชาวัดผลและวิจัยการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หริพล ธรรมนารักษ์. (2556). พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่การปฏิบัติสำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ). Charles R. Graham. (2012).BLENDED LEARNING. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://nipatanoy. wordpress.com/. (วันที่ค้นข้อมูล: 15พฤศจิกายน 2560). John W. Best. (1981). Research in Education. 4 th ed. New Jersey : Prentice – Hall Inc, p. 182. Sandeep, Patil and Ganesh, Shinde. (2010). Transforming Indian Higher Education Through Blended Transforming Indian Higher Education Through Blended. IEEE.
ความคิดเห็น