บทคัดย่อ
งานวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบ ฮาร์มอนิกอย่างง่าย โดยใช้ชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการศึกษา แบบสะเต็มศึกษา และ 2)พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นักศึกษาโดยใช้รูปแบบการจัดการศึกษา แบบสะเต็มศึกษา ในรายวิชาโครงงานฟิสิกส์ ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย เป็นนักศึกษา สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 222 คน กลุ่มตัวออย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษา สาขาวิชาฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 3 หมู่เรียน 1 และ หมู่เรียน 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ศึกษาในรายวิชาโครงงานฟิสิกส์ รหัสวิชา 1193903 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้มาจากการการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เพื่อทดสอบความสามารถก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาโครงงานฟิสิกส์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบปรนัย (Multiple Choice) 5 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 2) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ตามจุดมุ่งหมายรายวิชา และวิธีการสอนรายวิชาโครงงานฟิสิกส์ 3 ) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา รายวิชาโครงงานฟิสิกส์ รหัสวิชา 1193903 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ผลการศึกษา พบว่า
- 1. นักศึกษาที่รับการจัดการเรียนรู้ โดยชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา มีคะแนนเต็ม 20 คะแนน คะแนนเฉลี่ย ( = 18 ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ( S.D. = 1.32 ) ของคะแนนก่อนเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย และคะแนนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา มีคะแนนเฉลี่ย ( = 19.35 ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ( S.D. = 0.94 ) เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก อย่างง่ายหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ( P = 0.00 )
2. นักศึกษาพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นักศึกษาโดยใช้โดยชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา จากคะแนน ผลงานสะเต็ม กระบวนการ (STEM) เน้นออกแบบเชิงวิศวกรรม การนำเสนอผลงาน การบูรณาการความรู้ (STEM) โดยมีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าร้อยละเท่ากับ 94.45 และคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 19.35 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 96.75 โดยมีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E2) มีค่าร้อยละเท่ากับ 96.75 ซึ่งสรุปได้ว่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ( 94.45/96.75) มีค่ามากกว่าที่กำหนดไว้ ( 75/75 )
ความคิดเห็น