ผู้วิจัย
กุลธิดา ธรรมรัตน์
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์คุณภาพสูงจากวัสดุเหลือทิ้ง ทางการเกษตรบนฐานทุนทรัพยากรชุมชนสู่แนวทางการเป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเผยแพร่ความรู้ระดับพื้นฐานเพื่อการพัฒนากระบวนการคิดที่ส่งเสริมกิจกรรมด้านการพัฒนาเครื่องมือที่จะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับและเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรในชุมชน ทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นจำนวน 4 ทรีทเม้นต์ ซึ่งมีอัตราส่วนของวัสดุที่แตกต่างกัน ได้แก่ ผลฝรั่งคัดทิ้ง: ใบจามจุรี: มูลวัว: แกลบ ดังนี้ คือ ปุ๋ยสูตรที่ 1 (1:3:4:2) ปุ๋ยสูตรที่ 2 (2:2:4:2) ปุ๋ยสูตรที่ 3 (3:1:4:2) และสูตรที่ 4 (4:0:4:2) ผลการทดลองพบว่าปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่ได้จากผลฝรั่งคัดทิ้งทั้ง 4 ทรีทเม้นต์ มีคุณสมบัติทางกายภาพ ความเป็นกรด-ด่าง และค่าการนำไฟฟ้า ผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ (กรมวิชาการเกษตร,2548) โดยปุ๋ยสูตรที่ 3 มีปริมาณธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม มากกว่าปุ๋ยสูตรที่ 1, 2 และ 4 สรุปได้ว่าปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่ได้จากผลฝรั่งคัดทิ้งสูตรที่ 3 เป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์ คณะผู้วิจัยจึงได้รับองค์ความรู้จากงานวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งพร้อมนำไปเผยแพร่เพื่อร่วมดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งในรูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยและการสร้างทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากผลฝรั่งคัดทิ้งในชุมชนด้วยกระบวนการแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อการพัฒนากระบวนการคิดที่ส่งเสริมกิจกรรมด้านการพัฒนาเครื่องมืออันเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับและเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรในชุมชน คำสำคัญ : ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ผลฝรั่งคัดทิ้ง ใบจามจุรี Abstract The purposes of this study were 1) to develop and produce high-quality organic compost from agricultural wastes based on community resources to become environmentally friendly products and 2) to promote understanding of the development of organic agricultural products as environmentally friendly products as well as 3) to disseminating basic knowledge for the development of a thinking process that promotes activities in the development of tools that will be beneficial to uplift and increase the value of agricultural products in the community. A comparative study was conducted on the properties of 4 organic composts produced with different ratios of materials: culled guava fruit: Rain tree leaves: cow dung: rice husk (kilogram by weight)) as follows: fertilizer formula 1 (1:3:4:2), fertilizer formula 2 (2:2:4:2), fertilizer formula 3 (3:1:4:2) and fertilizer formula 4. (4:0:4:2). The experimental results showed that the organic compost obtained from culled guava fruits from all 4 treatments had physical properties, pH and electrical conductivity passed organic fertilizer standards (Department of Agriculture, 2005). The fertilizer formula 3 contained more macronutrient contents of nitrogen, phosphorus, potassium than fertilizer formula 1, 2 and 4. It can be concluded that the organic compost obtained from the culled guava fruit formula 3 is a high-quality organic compost that is suitable for utilization. The researchers therefore obtained knowledge from this research which was ready to be disseminated to participate in workshop activities both in the form of knowledge transferring from and creating alternatives for utilization of the culled guava fruit in the community through the process of processing into high-quality organic compost for the development of a thinking process that promotes activities in developing tools that are beneficial to upgrading and increasing the value of agricultural products in the community. Keywords: organic compost, culled guava fruit, Rain tree leave
ความคิดเห็น