ผู้วิจัย

ทิพวัลย์ แสนคำ สกรณ์ บุษบง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์รายวิชาที่มีผลต่อการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนาระบบวิเคราะห์แนวโน้มรายวิชาที่มีผลต่อการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผู้วิจัยได้นำเทคนิคเหมืองข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเลือกใช้ขั้นตอนวิธี FP-Growth เป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการหาเซตรายการความถี่ โดยนำข้อมูลผลการศึกษาของนักศึกษาจำนวน 3,991 รายการ ใช้ในการหาความถี่ของแต่ละรายวิชาที่นักศึกษาได้เกรดต่ำ และใช้ขั้นตอนวิธี FP-Growth มาใช้ในการพัฒนาค้นหาเซตรายการความถี่ของรายวิชา  ผลการทดลองแสดงว่ารายวิชาที่นักศึกษาเรียนได้เกรดที่ต่ำ คือ วิชาการบัญชีขั้นต้นคิดเป็น 28.6% วิชาหลักการตลาดคิดเป็น 21.8% วิชาการบริการทรัพยากรมนุษย์คิดเป็น 17.7% และวิชาอื่น ๆ คิดเป็น 31.9%

บรรณานุกรม

[1] รักเกียรติ เสาร์วงษ์. ผู้ดูแลระบบระบบบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (12 มกราคม 2562). ผู้ให้ข้อมูลจาก www.reg.bru.ac.th. [2] ขวัญฤทัย นกแก้ว. (2555). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพ้นสภาพของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล. ยะลา : Academic Resource and Information Technology Center. [3] โกเมศ อัมพวัน. (2548). วิธีการหากฎความสัมพันธ์แบบใหม่โดยต้นไม้แสดงรายการความถี่. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [4] ณรงค์ศักด์ิ คงทิม และจิรัฏฐา ภูบุญอบ. (2554). การประยุกต์ใช้เอฟพี-กโรธกับงานแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา. National Conference on Computer Information Technologies 2011 (CIT2011) and UniNet Network Operation and Management Workshop 2011 (UniNOMS2011); 26-28 มกราคม 2554, หน้า 13-17. [5] อุไรวรรณ อินทร์แหยม. (2559). ระบบแนะนําข้อมูลเพื่อพัฒนาการศึกษาบนพื้นฐานข้อมูลส่วนบุคคลโดยประยุกต์ใช้เทคนิคเอฟพี-กโรธ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ความคิดเห็น