เอกพล แสงศรี,* บัญชา นวนสาย, เทพพร โลมารักษ์ และคคนางค์ ช่อชู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักมาตรฐาน GAP จากโครงการเกษตรแปลงรวมแก้จน ของผู้บริโภคในตลาดเกษตรสร้างสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม คัดเลือกจากผู้ที่เคยเข้ามาใช้บริการในตลาดเกษตรสร้างสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยทีมผู้วิจัยได้มีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ (1973) ความคลาดเคลื่อนที่ผู้วิจัยยอมรับได้เท่ากับ 5% ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 385 คน

ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และส่วนใหญ่เป็นพนักงานของรัฐ มีสถานภาพสมรส มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 15,001 ถึง 30,000 บาท ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อตามวัตถุประสงค์ที่ซื้อโดยคำนึงถึงสุขภาพของตนและคนในครอบครัวความถี่ในการซื้อ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งที่ซื้อใช้เงินโดยเฉลี่ย 60-100 บาท กลุ่มบุคคลอ้างอิงที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ คือความชอบของคนในครอบครัวเป็นหลักประเภทผักที่นิยมบริโภคมากที่ สุด 7 ลำดับ ได้แก่ คะน้า มะเขือเปราะ แตงกวา ถั่วฝักยาว พริก ต้นหอม และผักชี เมื่อพิจารณาส่วนผสมทางการตลาด 4P’s โดยเรียงลำดับตามปัจจัยที่มีอิทธิพลมากไปหาน้อย พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุดด้านราคา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราคาต้องเหมาะสมกับคุณภาพ ลำดับรองลงมาผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับมาก เกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งมี 2 ปัจจัยหลักคือพื้นที่และสถานที่ต้องปลอดภัย และมีการจัดเรียงสินค้าเป็นหมวดหมู่ ลำดับที่ 3 คือด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก จะต้องมีการจัดการส่งเสริมการตลาด ลด แลก แจก แถม และ ลำดับสุดท้ายของส่วนผสมทางการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักตามมาตรฐาน GAP จากโครงการเกษตรแปลงรวมแก้จน ของผู้บริโภคในตลาดเกษตรสร้างสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คือปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้บริโภคให้ความสำคัญในการตัดสินใจจากมาตรฐานการรับรองคุณภาพที่ได้รับรองว่าเป็นผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Downloads https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/268650/178873

ความคิดเห็น