ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทพพร โลมารักษ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา บุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) จำนวน 400 คน มีตัวแปรเชิงสาเหตุ จำนวน 7 แบบ ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง คุณภาพการสอนของครู เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ มโนภาพแห่งตน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ส่วนตัวแปรตามคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง (path analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL 8.80. ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา บุรีรัมย์ ภายหลังปรับแก้มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า c2 = 26.36, df = 13, p = .015, CFI = .95, GFI = .98, RMSEA = .051 และร่วมกันอธิบายความแปรปรวนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 13.00 ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.110 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ คือ การอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม
ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง คุณภาพการสอนของครู และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ มีอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.018, 0.010, 0.006, 0.019 และ 0.059 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ มโนภาพแห่งตน มีอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.150 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/261466
ความคิดเห็น