ร่วมงาน เวทีสรุปผลการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในพื้นที่บริการของคณะวิทยาการจัดการ  ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ณ อาคารคณะวิทยาการจัดการ 

ผลการดำเนินโครงการ : การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของกลุ่มแปรรูปกล้วยตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ระยะเวลาดำเนินงาน     : 1 ตุลาคม 2565 – 31 พฤษภาคม 2566

สรุปผลการดำเนินโครงการ (สรุปอย่างย่อ)

  1. การศึกษาผลิตภัณฑ์และช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปกล้วย ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า กลุ่มมีผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์คือ กล้วยหนึบ กล้วยตาก และกล้วยม้วน
    มีช่องทางการจัดจำหน่าย 3 ช่องทางคือ 1) ขายตรงให้ลูกค้า 2) ขายที่ทำการกลุ่ม 3) ขายผ่าน Facebook สมาชิกกลุ่ม ยังไม่มีเว็บไซต์ของกลุ่ม และไม่มีสื่อประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจ
  2. การศึกษาพฤติกรรมลูกค้าในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า  ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ใช้ช่องทาง Facebook โดยซื้อเพื่อนำไปรับประทานเองและเป็นของฝาก ให้ความสำคัญในเรื่องของราคาที่เหมาะสม  และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสะอาดสดใหม่
  3. การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและสื่อประชาสัมพันธ์ของกลุ่มแปรรูปกล้วยน้ำว้า ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  พบว่า ได้มีการพัฒนาสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ช่องทาง คือเว็บไซต์และ Facebook Page ให้แก่กลุ่มแปรรูปกล้วยบ้านสวายจีก ใช้ชื่อว่า เรือนกล้วยบ้านสวายจีก  ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทแผ่นพับ โปสเตอร์ สื่อวีดิทัศน์ในรูปแบบStory Telling จำนวน 2 คลิป และสื่อวีดิทัศน์โฆษณา จำนวน 2 คลิป  รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายจำนวน 4 ครั้งต่อเดือน
  4. ผลประกอบการหลังใช้สื่อพาณิชย์ของกลุ่มเรือนกล้วยพบว่ามียอดขายในภาพรวมเพิ่มขึ้นเปรียบเทียบจากยอดขาย 2 เดือนที่ไม่ได้ใช้สื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

ผลผลิตของโครงการ (OUT-PUT)
1. ทราบพฤติกรรมลูกค้าในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2.กลุ่มเรือนกล้วยมีช่องทางการจำหน่ายในรูปของสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไชต์และแฟนเพจเฟสบุ๊ค
3. กลุ่มเรือนกล้วยมีสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ประเภทแผ่นพับ โปสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ สื่อวีดิทัศน์ในรูปแบบStory Telling และสื่อวีดิทัศน์โฆษณา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์

ผลลัพธ์ของโครงการ (OUTCOME
ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มเรือนกล้วย บ้านสวายจีกหมู่ 2 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับการยกระดับด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด ทำให้เป็นที่รู้จักแก่กลุ่มเป้าหมายที่สนใจผลิตภัณฑ์ทำให้ยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สูงขึ้น ส่งผลให้การยอดผลิตสูงขึ้นและเกิดการกระจายรายได้ไปยังเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกกล้วยอีกด้วย

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10160862489859146&type=3&locale=th_TH

ความคิดเห็น