ช่วงหลัง ๆ มีการเน้นเรื่องทักษะการฟังที่ใช้ในการให้การปรึกษาเพื่อช่วยเหลือทางด้านจิตใจ
ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารอย่างสันติ การฟังอย่างลึกซึ้ง
แต่อีกทักษะที่จำเป็นอีกทักษะหนึ่งคือ ทักษะการถาม
ซึ่งการตั้งคำถามที่ดีสำหรับผู้เจ็บป่วยทางจิตใจไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เพราะอาจต้องผนวกกับทักษะการใส่ใจรวมไปด้วยจึงจะสามารถเป็นผู้ถามที่ดีได้
คำถามที่ดีเรารู้กันอย่างกว้างขวางแล้วว่า ควรเป็นคำถามปลายเปิด
ซึ่งเป็นคำแนะนำที่ดูกว้างมากๆ
วันนี้ผู้เขียนจึงขอแชร์ตัวอย่างคำถามที่ได้จากการสอบถามผู้เรียนในวิชาจิตวิทยาและผู้ป่วยที่ปรึกษาจิตแพทย์ว่า
“คำถามไหนที่ถูกถามแล้วสร้างความรู้สึกดี” เราลองไปดูกันเลยครับ
- สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง
- มีอะไรให้เราช่วยยบ้างไหม หรือ เราช่วยอะไรได้บ้างหรือเปล่า
- ทำไมเรารักเขาขนาดนี้ แฟนเขาทำอะไรให้เราบ้างที่ทำให้เรารู้สึกดี ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย (คนไข้ที่อกหักมาปรึกษาจิตแพทย์)
- อะไรทําให้เธอเข้มแข็งได้ถึงขนาดนี้ ช่วยบอกหน่อย
- เขาทําอะไรบ้างที่ทําให้เรารู้สึกโกรธมากขนาดนี้
- ในเมื่อเราบังคับใครไม่ได้ แกคิดว่าพวกเราควรคิดยังไงให้เรารู้สึกดีขึ้นวะ
- เหนื่อยไหนช่วงนี้ (คำถามนี้บางคนที่ถูกถาม ถึงกับพรั่งพรูความรู้สึกออกมาเลย ทำให้เขาได้ระบายความรู้สึก อึดอัดใจที่ผ่านมา)
- ชอบทำอะไรเป็นพิเศษ
- สิ่งที่ไม่ชอบให้คนทำกับเราเลยเป็นเรื่องอะไรบ้าง
- อยากกินอะไรเป็นพิเศษไหม (แม้แต่คำถามเรื่องกิน ก็ยังใช้ถามเชิงห่วงใย ใส่ใจได้ บางคนเรื่องกินเรื่องใหญ่)
ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการใช้ทักษะการถาม
1. เลี่ยงคําถามที่ต้นด้วยคําวา่ “ทําไม” (ไม่ได้หมายความว่าใช้ไม่ได้นะ แต่ต้องดูแวดล้อมของคำถามด้วย)
2. เพื่อให้ เขาได้ ระบายความรู้สึก
3. ใช้คําถามที่ให้ผ้ตอบให้อธิบายเหตกุารณ์ หรือ ความรู้สึกเพื่อลดความคับข้องใจ ความเจ็บปวดใจ
เหล่านี้คือข้อมูลที่ได้จากการสังเกตในกิจกรรมการเรียนวิชาจิตวิทยาแนะแนวและการปรึกษา และการไปทำกิจกรรมให้กับนักเรียนชมรมเพื่อนที่ปรึกษาในหลายๆ โรงเรียน เป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านครับ
——————————————
เนื้อหาโดย อ.ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน
อาจารย์ประจำกลุ่มจิตวิทยาและการแนะแนวคณะครุศาสตร์
หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมสุขภาะนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ความคิดเห็น