การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านตามา และชุดประสบการณ์ความรู้ในการนำทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อค้นหารูปแบบทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านตามาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ผู้ศึกษาใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการเลือกอาสาสมัครเก็บข้อมูลผู้เข้ามาเป็นอาสาสมัครนักวิจัยชุมชนผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านตามาได้ร่วมกันจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สาธารณะ 6 ไร่ โดยใช้ชื่อว่า ปลูกป่าคืนแผ่นดิน เน้น
การปลูกต้นสัก ต้นยางนา ต้นกล้วย เป็นต้น จากนั้นได้ขยายไปสู่พื้นที่สาธารณะ 24 ไร่ ชุมชนได้ดำเนินการไปในระยะหนึ่ง แต่ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากขาดความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ การดูแลรักษาพื้นที่ และปัญหาการเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ คณะผู้วิจัยจึงร่วมกันวางแผนปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม จนได้เกิดแผนปฏิบัติการในพื้นที่สาธารณะ 24 ไร่ ได้แก่ แผนการจัดการน้ำ แผนการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจชุมชน แผนการสร้างธนาคารปุ๋ยหมักและเมล็ดพันธุ์

ไฟล์แนบ

pdf 32189-Article Text-97637-2-10-20151122

ขนาดไฟล์ 936 KB | จำนวนดาวน์โหลด 450 ครั้ง

ความคิดเห็น