ผู้วิจัย

นภัสวรรณ ดีเรือน* วิไลรัตน์ ยาทองไชย ชูศักดิ์ ยาทองไชย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองและพัฒนาระบบแนะนำการเลือกแผนการเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย โดยรวบรวมข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1–4 ระหว่างปี 2556-2560 จากโรงเรียนหนองตาด พิทยาคม โรงเรียนลำทะเมนไชยพิทยาคม และโรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 658 ข้อมูล มาจำแนกประเภท ด้วย เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ และใช้อัลกอริทึม J48 ด้วยโปรแกรมเวก้า เพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับแนะนำการเลือกแผนการเรียน ของนักเรียน ทำการทดสอบประสิทธิภาพแบบจำลองด้วยวิธีการทดสอบแบบไขว้ทบ แบบ 10 ส่วน จากนั้นนำแบบจำลองมา ใช้ในการพัฒนาระบบแนะนำการเลือกแผนการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน             ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองมีปัจจัยที่สำคัญ 15 ปัจจัย คือ เพศ อาชีพบิดา รายได้บิดาต่อปี อาชีพมารดา รายได้ มารดาต่อปี สถานะภาพสมรสบิดามารดา เกรดเฉลี่ยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา และเกรดเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยมีค่าความถูกต้องร้อยละ 70.26 ซึ่ง จากการใช้งานระบบแนะนำการเลือกแผนการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของนักเรียนและครูแนะแนวพบว่า มีระดับ ความพึงพอใจในระดับมาก ( 𝑋 = 3.84, S.D. = 0.58)

บรรณานุกรม

จีรศักดิ์ พุ่มเจริญ และกมลวรรณ แตงสุข. (2561). เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 19(1), หน้า 11-13. ทัศนีย์ เพียรทำดี. (2558). การพยากรณ์คะแนนสอบมาตรฐานวิชาชีพ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 แผนกคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล.รายงานการวิจัย กรุงเทพ:วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจ กรุงเทพ. พรรณิภา บุตรเอก และสุรเดช บุญลือ. (2557). การพยากรณ์โอกาสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาโดยใช้ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมช ชีน. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University 1(6), หน้า 40-49. พรพิมล ชัยวุฒิศักดิ์ และคณะ. (2562). การพัฒนากฎการทำนายผลการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่1 โดยใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล. วารสารวิจัยรามคำแหง(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 22(2), หน้า 43-52. ปรีชา บุญรอด. (2541). มาตรวัดการวิจัยทางสังคมศาสตร์(ตอนที่ 2) [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.journal.au.edu/abac_newsletter/1998/june98/scale.html. วรรณพา ม่วงชาติ สุดารัตน์ อุไรพันธ์ และวิไลรัตน์ ยาทองไชย. (2563). ระบบแนะนำการเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 6 (NCTIM2020). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม. ศศิธร ตุ้มเพชรรัตน์, สมบูรณ์ อเนกฤทธิ์มงคล และคณะ (2560). การพยากรณ์ผลการสอบ TOEIC สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล.รายงานการวิจัย กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรังสิต. สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2558). การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์. สุรพงศ์ เอื้อวัฒนามงคล. (2557). การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining). กรุงเทพฯ: บางกอกบล๊อก. เสกสรรค์ วิลัยลักษณ์ และคณะ. (2558). การใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูลเพื่อพยากรณ์ผลการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา.รายงานการวิจัย นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. Automated. (2559). เหมืองข้อมูล (data mining). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.autosoft.in.th/datawarehouse/ เหมืองข้อมูล-data-mining/.

 

ไฟล์แนบ

pdf 2855.docx

ขนาดไฟล์ 526 KB | จำนวนดาวน์โหลด 155 ครั้ง

ความคิดเห็น